เรื่องบางเรื่องคนไม่เคยเจออาจไม่เข้าใจ ถ้าคุณเป็นคนที่พูดจาดีกับคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เล็กจนโต อ้อมว่าคุณอาจข้ามเรื่องนี้ไปได้เลยนะคะ แต่ถ้าคุณเป็นประเภทปากมันไวแต่ใจไม่คิด หลุดปากออกไปแล้วกลับมาเศร้าเองอยู่บ่อยๆ รวมถึงใครที่สนใจอยากรู้ว่า ทุกข์ของคนที่เผลอเถียง เผลอพูดไม่ดีกับคุณพ่อคุณแม่ จะรู้สึกดีขึ้นได้ยังไง เชิญเลยค่ะ เพราะวันนี้ พระอาจารย์ นวลจันทร์ ท่านเมตตาตอบคำถามของคุณที่ถามว่า พลั้งปากใส่แม่ต้องแก้ยังไง
หากจะกล่าวตามขั้นตอน ในทางธรรมะท่านกล่าวว่า “ถ้าทำผิดทำพลาดไปแล้ว เราระลึกสำนึกได้ ก็ควรกระทำคืนก่อนเป็นไม้แรก เช่น ขอโทษก่อนแล้วพึงสำรวมระวังในกาลต่อไป”
กรณีที่ถามมาคือได้ว่ากล่าวกันไปแล้ว เกิดเสียใจขึ้นมาภายหลัง อยากรู้ว่าทำยังไงจึงจะไม่เกิดโมโห หรือไม่เกิดการพูดอย่างนั้นอีก ซึ่งอันนี้มันเป็นไม้สองไม้สามแล้ว พระอาจารย์เลยอยากจะแนะนำไม้แรกก่อน นั่นคือควรจะกระทำคืนต่อบุคคลนั้นๆ ในที่นี้ได้แก่คุณแม่ ควรขอโทษขอขมาท่านก่อน “การขอโทษขอขมานั้นบางคนไม่กล้าทำ ทำไม่เป็น ทำไม่ลง ทำไม่ได้ อาจเพราะไม่เคยทำมาก่อนเลย ก็อาจจะต้องมีกัลยาณมิตรหรือว่าเพื่อนที่ดีช่วยพาทำ เมื่อเราได้กระทำแล้วผู้ใหญ่อโหสิให้ มันจะมีผลจากการกระทำ คือจะโล่งใจ เบาใจ สบายใจ เราก็มีความสุขใจเพราะได้ขอขมาคุณแม่ แล้วคุณแม่ก็ได้ให้อโหสิกรรม ให้อภัยลูก ต่อแต่นี้สิ่งดีงามจะตามมา เราก็จะตั้งใจสำรวมระวังในกาลต่อไป กล่าวอีกทางหนึ่งคือเมื่อกุศลเกิดแล้วก็จะดึงดูดกุศลอื่นหล่อหลอมเข้ามามากยิ่งขึ้นๆ
เหตุผลที่ต้องย้ำไม้แรกนี้เพราะว่า ถ้าไม่กระทำคืนให้เป็นนิสัย ต่อไปมันจะหมักหมมไปเรื่อยๆ คล้ายดินพอกหางหมู มันจะยากขึ้นในการระงับอารมณ์ครั้งต่อไป
การระงับโทสะนั้นเรียกว่าเป็นไม้ที่สอง ถ้ายังเป็นคนธรรมดาทั่วๆ ไปคงยังไม่สามารถระงับได้ทั้งหมด สิ่งที่พอจะช่วยได้ขอแนะนำให้มี “เครื่องอยู่ของจิตใจ” หรือเครื่องสลายอารมณ์ เช่น เมื่อเกิดโทสะ (อารมณ์) เราก็อาศัย “ลมหายใจ” เป็นเครื่องอยู่ของจิต หันกลับมาดูลมหายใจ แบบที่เขาเรียกว่า “ดูลมอมยิ้ม” นั่นแหละ เราก็อาศัยการดูลมสลายอารมณ์ “ถ้าเราไม่มีเครื่องอยู่ เราก็จะมีแต่อารมณ์แบบข้นคลั่ก สังเกตเวลาที่ความโกรธเริ่มก่อตัวขึ้นมาปุ๊บ ถ้าเราไปดูเนื้อเรื่องหรือคำพูด (แบบที่ทางธรรมเรียกว่า “จิตส่งนอก”) ความโกรธมันก็จะข้นขึ้นๆ แต่การกลับมาดูลมเปรียบเหมือนการเติมน้ำแข็งก้อนหนึ่งลงไป อารมณ์ก็เจือจางลงเล็กน้อย ถ้าเราดูลมเข้าลมออกต่อไป ก็เหมือนเติมน้ำแข็งลงไปอีกเรื่อยๆ สุดท้ายอารมณ์ก็เจือจางจนเหมือนไม่มี
ฉะนั้นหน้าที่ของเราคือ ขยันเติมน้ำแข็งเข้าไว้ในชีวิตประจำวัน อย่าไปหมั่นเติมเชื้อไฟเป็นอาหารให้อารมณ์ เมื่ออาหารน้อย อารมณ์ก็จะหมดไปเองตามธรรมชาติ
อย่าลืมนะคะ ถ้าคุณรู้สึกทุกข์หรือหนักๆ ในใจ ส่งความหนัก ความทุกข์ สิ่งสงสัยมาให้พวกเราได้ที่ www.bia.or.th/dhamlife อ้อมจะไปหาคำตอบจากพระอาจารย์มาให้ค่ะ อะไรที่อ้อมช่วยได้ อ้อมยินดีค่ะ
ติดตามข้อธรรมดีๆ ได้ที่เพจ fb : หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ หรือ Line @Suanmokkh_Bangkok
ผู้ไม่บรรลุธรรมไม่สำเร็จธรรมไม่ควรแสดงธรรม "ผู้บรรลุธรรมสำเร็จธรรมแล้วก็ไม่ควรแสดงธรรม" (ผู้มีปัญญาจะเข้าใจ)
04 ธ.ค. 2562 เวลา 01.26 น.
ไม่ว่าจะด้วยการกระทำ หรือว่าวาจา การมีสติเท่านั้นย่อมที่จะช่วยทำให้รู้ถึงกับในสิ่งที่ควรจะกระทำ.
04 ธ.ค. 2562 เวลา 01.59 น.
🙊MAIDEN_KuMiLiLi🙊 ไม่เจอกับตนเองหรือใครๆ ไม่รู้หรอก ถูกกดอยู่ใต้อาณัติทุก ๆ เรื่องหนิ ตั้งแต่จำความได้จนกระทั่งอายุครึ่งร้อย แต่ก็ยังเป็นคนดีอยู่ได้ ไม่เป็นบ้า ไม่เกเร ไม่เคยทำให้พ่อแม่เสียใจ ไม่มีใคร ๆมาตราหน้าได้ว่าพ่อแม่เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีไม่ได้ ธรรมะหนะสอนดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับเหตุ ปัจจัย ร่วมด้วย
04 ธ.ค. 2562 เวลา 02.04 น.
การใช้อารมภ์กับพ่อแม่ บาปนั้นขึ้นอยู่กับความประพฤติของพ่อแม่ ว่าจะส่งผลให้กับลูกอย่างไร ไม่ว่าจะขอโทษแบบไหน แม้แต่พ่อแม่ให้อภัยแล้ว แต่ความทุกข์ใจ จะอยู่กับคนกระทำตลอดไป พ่อแม่ให้ชีวิตลูก แต่ถ้าไม่เลี้ยงดูลูกก้ต้องตาย ถึงจะมีคนเอาไปเลี้ยง ก็เลี้ยงได้แค่ให้โต ส่วนความรู้สึกของลูก คนอื่นให้ไม่ได้ แม้จะบอกว่ารักเหมือนลูกของตัวเอง การหลอกตัวเองอยู่กับทุกคนนะ จะบอกให้ น้อยคนนักที่พูดความจริง
04 ธ.ค. 2562 เวลา 01.43 น.
สายยัน จันทร์แม้น กนำปง
04 ธ.ค. 2562 เวลา 01.36 น.
ดูทั้งหมด