ไอที ธุรกิจ

ส่องราคา 'หมู' ย้อนหลัง 5 ปี รู้หรือไม่ อะไรทำให้หมูแพงขึ้น ?

กรุงเทพธุรกิจ
อัพเดต 17 ก.ค. 2563 เวลา 10.38 น. • เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563 เวลา 10.30 น.

ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม เป็นต้นมา ถือเป็นข่าวร้ายสำหรับชาวชาบูหมูเลิฟเวอร์เพราะ ราคาเนื้อหมูในท้องตลาดจากราคาปกติกิโลกรัมละ 150-160 บาท พุ่งสูงไปถึงกิโลกรัมละ 170-180 บาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งต้องออกมาประกาศขึ้นราคาอาหาร พร้อมทั้งแจ้งลูกค้าถึงภาวะที่เกิดขึ้น

159497668534
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รวบรวมข้อมูลราคาหมูย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งตอบข้อสงสัยว่าทำไมหมูถึงแพงขึ้น มีปัจจัยเงื่อนไขอะไรบ้าง

  • ย้อน5 ปีราคาหมูเป็นอย่างไร

เมื่อย้อนหลังดูข้อมูลราคาหมูของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ โดยยึดราคา "หมูเป็นหน้าฟาร์ม" ตามการควบคุมของกรมการค้าภายในนั้น พบว่า

ปี 2563 (ถึงเดือนกรกฎาคม) หมูมีราคาต่ำสุด 65.00 สูงสุด 80.00

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปี 2562 หมูมีราคาต่ำสุด 65.00 สูงสุด 75.00

ปี 2561 หมูมีราคาต่ำสุด 44.00 สูงสุด 65.10

ปี 2560 หมูมีราคาต่ำสุด 49.30 สูงสุด 69.10

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปี 2559 หมูมีราคาต่ำสุด 60.17 สูงสุด 77.10

159497673660

โดยหน่วยนับเป็นราคาบาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้หากเป็นเนื้อหมูชำแหละ หรือราคาหน้าแผงตลาดสดนั้น ราคาจะเพิ่มตั้งแต่ 50% เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เนื่องจากมีค่าต้นทุนการชำแหละและการขนส่งเพิ่มเข้ามา สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาหมูในประเทศแพงขึ้นนั้น แบ่งออกได้เป็น 5 ปัจจัยหลัก คือ

1. ความต้องการหมูเพิ่มมากขึ้น

การบริโภคหมูที่เพิ่มสูงขึ้นจากการที่รัฐบาลได้คลายล็อกดาวน์จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่มีการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเปิดเทอม ส่งผลให้ราคาหมูในเดือนกรกฎาคม 2563 พุ่งขึ้น

แต่ถึงอย่างนั้นนอกเหนือจากสถานการณ์โควิด-19 ภายในช่วงเวลาตลอด 1 ปีในปีอื่นๆ ความต้องการหมูก็มีความต้องการต่างกัน โดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนพฤษภาคมของทุกๆ ปี จะมีราคาหมูแพงกว่าเดือนอื่นๆ เนื่องจากมีเทศกาลตรุษจีน และการไหว้เจ้าตามประเพณีที่ต้องใช้หมูเป็นส่วนประกอบในพิธีไหว้

159497741010

ทั้งนี้ในปี 2557 - 2561 ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรของไทย เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 9.73 ต่อปีซึ่งสุกรที่ผลิตได้ใช้บริโภคภายในประเทศเป็นหลักประมาณร้อยละ 97 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยในปี 2561 มีปริมาณการบริโภคสุกร 19.34 ล้านตัว หรือ 1.45 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 3.57

 

2. โรคติดต่อภายในหมู

จากข้อมูลราคาหมูเป็นหน้าฟาร์ม ทำให้เห็นว่าในปี 2562 ที่ผ่านมาราคาหมูพุ่งกว่าปี 2561 แพงกว่า 1 เท่าตัว เนื่องจากในช่วงปี 2562 นั้นมีโรคASF หรือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่ระบาดในหลายประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรต่างต้องเลี้ยงสุกรอย่างระมัดระวัง

จากภาวะโรค ASF ที่เกิดขึ้น พบว่าสุกรในระบบของไทยหายไปกว่า 20% จากเดิมในปี 2562 ไทยที่มีสุกรในระบบประมาณ 20,000,000 ตัว ที่สำคัญเกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น จากการเฝ้าระวังและป้องกัน ASF อย่างเข้มงวด ทำให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มถึงตัวละ 100 บาท

159497751273

3. ส่งออกต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

หมูไทย กลายเป็นที่ต้องการของหลายประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่โดนโรคอหิวาต์แอฟริการะบาดในสุกร ทำให้ปริมาณหมูลดลงทุกประเทศ และราคาแพงขึ้น สำหรับประเทศไทย สถานการณ์โรคระบาดในสุกรมีความรุนแรงน้อยกว่าประเทศอื่นๆ อย่าง จีน เวียดนาม และเมียนมา พร้อมทั้งได้รับการยอมรับว่าจากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ว่า สามารถจัดการปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริการะบาดในสุกรได้อย่างดีเยี่ยม ส่งผลให้หมูไทยไม่ขาดแคลนและมีราคาถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย จึงกลายเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ อย่าง จีน เวียดนาม

ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ส่งออกหมูอันดับต้นๆ ของเอเชีย โดยเฉพาะในช่วงปี 2562 ยอดส่งออกหมูไปเวียดนาม อยู่ที่ราว 16%ของรายได้ และยอดส่งออกไปจีนอยู่ที่ราว 24% ของรายได้

 

159497752499

 

4. ราคาอาหารหมู

ในการผลิตสุกรนั้นต้นทุนอาหารสัตว์คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60-70 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ดังนั้นการที่ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีแนวโน้มสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสุกรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับราคาสูงขึ้นเป็นอย่างมาก อาทิ ปลายข้าวราคาสูงกว่า 12 บาทต่อกิโลกรัม และรำข้าวราคา 10-11 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนการผลิตปัจจุบัน 65-67 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนราคาขายหมูเป็นหน้าฟาร์มประมาณ 66-71 บาทต่อกิโลกรัม

5. สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

ปัญหาภัยแล้ง และอากาศร้อนคืออุปสรรคด้านอากาศต่อการเลี้ยงหมู เนื่องจากช่วงไหนที่สภาพอากาศร้อนจัด ส่งผลให้สภาพร่างกายของหมูกินอาหารลดลง ทำให้น้ำหนักหมูลดลง เกษตรจึงต้องเพิ่มปริมาณอาหารหมูเพิ่มมากขึ้น หมายถึงต้นทุนด้านอาหารจึงต้องเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังกระทบกับเกษตรกรที่ส่วนใหญ่มีน้ำไม่เพียงพอ จึงต้องซื้อน้ำจากภายนอกมาใช้ในฟาร์มทุกวัน ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีก 2-3% มีค่าไฟเพิ่มเพราะต้องเปิดพัดลมระบายอากาศตลอดเวลา

ขณะที่สภาพอากาศแปรปรวนฉับพลันทำให้ลูกหมูอ่อนแอมาก มักเป็นไข้หวัด ป่วยง่าย จึงมีค่าเวชภัณฑ์ในการรักษาเพิ่ม

จากปัจจัยทั้งหมดล้วนเป็นเหตุผลที่ทำให้ราคาหมูเพิ่มมากขึ้น แต่ใดๆ นั้นราคาที่ผันผวนต้องถูกควบคุมให้อยู่ในราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด ไม่อย่างนั้นประชาชนและผู้ประกอบการจะเดือดร้อนและส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่อย่างฉุดไม่อยู่

159497754179

อ้างอิง 

ราคาสุกรขุนเฉลี่ย ปี 2540 - 2560 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

ราคาสุกรขุนปี 2563 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

ปศุศาสตร์ นิวส์

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 9
  • พงษ์ศิลป์
    หมูแพงก็กินไก่กินไข่คนไทยเรื่องมาก
    18 ก.ค. 2563 เวลา 05.52 น.
  • ชาญวิทย์
    แพงเพราะนายทุนใหญ่มันบีบ
    18 ก.ค. 2563 เวลา 06.03 น.
  • คาร์เต้อ
    ทำให้ต้นทุนถูกลงสิ เช่นอาหารหมู ค่าขนส่ง
    18 ก.ค. 2563 เวลา 06.39 น.
  • Tee
    ทำไมแผงหมูต้องขายแพงกว่าหน้าฟาร์มถึง 100%
    18 ก.ค. 2563 เวลา 08.07 น.
  • Hang
    ใครล่ะครับเป็นผู้ค้ารายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสัตย์ พันธ์พืช รวมถึงร้านค้าที่จะฆ่าร้านโซห่วย เจริญจริง ๆ ประเทศไทย
    18 ก.ค. 2563 เวลา 09.57 น.
ดูทั้งหมด