สุขภาพ

“กัญชารักษาโรคได้” เรื่องจริง หรือแค่ข่าวลือ ?

Health Addict
อัพเดต 22 พ.ค. 2562 เวลา 04.13 น. • เผยแพร่ 22 พ.ค. 2562 เวลา 03.50 น. • Health Addict
ช่วงนี้กระแส “กัญชา” กับ “การแพทย์” กำลังมาแรงจนทุกคนต่างก็ให้ความสนใจ แล้วถ้าคุณสงสัยว่า เอ…ตกลงมันมีประโยชน์ด้านการแพทย์จริงหรือเปล่า? ที่มาของมันคืออะไรกันแน่ ไปดูกัน!

ช่วงนี้กระแส “กัญชา” กับ “การแพทย์” กำลังมาแรงจนทุกคนต่างก็ให้ความสนใจ ซึ่งถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่รักสุขภาพก็คงไม่พลาดการอัพเดตเกี่ยวกับเรื่องนี้แน่นอน แต่ก่อนที่จะพาไปเจาะลึกว่าตกลงแล้วกัญชามันมีประโยชน์ทางการแพทย์จริงหรือเปล่า เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่ากัญชามีแหล่งที่มาที่ไปจากไหนกันแน่!

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ย้อนรอยจุดเริ่มต้นของ “กัญชา” กับหลักฐานจากทั่วโลก
มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแคนซัสในสหรัฐฯ บอกว่าแหล่งกำเนิดของกัญชาน่าจะเริ่มที่ประเทศมองโกเลียและตอนใต้ของเปอร์เซีย จากการที่มีนักโบราณคดีขุดเจอกัญชาในหลุมศพ อายุประมาณ 5,000 ปี (3,000 ปีก่อนคริสตกาล) และที่จีนเองก็มีการขุดหลุมศพเจอต้นกัญชาถึง 13 ต้นเช่นกัน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต่างก็ยกให้การค้นพบนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันได้ว่ากัญชาเข้าสู่จีนและกระจายไปสู่ประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชียอีกมากมาย ทั้งเกาหลีใต้ อินเดีย ไทย และกระจายต่อไปประเทศฝั่งตะวันออกกลาง ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ รวมถึงอียิปต์ด้วยเหมือนกัน จากการพบหลักฐานชิ้นสำคัญว่า “ในร่างมัมมี่ก็มีสารกัญชาอยู่ด้วย” โดยหลังจากที่นักโบราณคดีที่อียิปต์ได้ตรวจร่างกายมัมมี่ อายุประมาณสามพันปี ก็ปรากฏว่าเจอสารกัญชาที่มีชื่อว่า ทีเอชซี (THC) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และเคลิบเคลิ้มนั่นเอง
กัญชา vs กัญชง ใช่อย่างเดียวกันมั๊ย
หลายคนคงต้องเคยสับสนกันมาบ้าง ความจริงก็คือกัญชง มีชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า เฮมพ์ (Hemp) ในขณะที่กัญชาใช้ชื่อ มาลีฮวนน่า (Marijuana) ซึ่งพืชทั้งสองชนิดนี้ก็เป็นเหมือนพี่น้องที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน เป็นพืชล้มลุกที่น่าตาเหมือนกันมาก ถ้าดูแบบเผินๆ มักจะแยกไม่ออก แต่สิ่งที่สามารถสังเกตได้หลักๆ ก็คือ ต้นกัญชงจะสูงกว่าต้นกัญชา มีปล้องหรือข้อยาวกว่า ใบใหญ่กว่า เรียงตัวห่างกันมากกว่า และกัญชงนอกจากจะไม่มีกลิ่นหอมแล้วตัวยางก็จะไม่เหนียวเหมือนกัญชา
ทีมนักวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เคยบอกไว้ว่า ชาวเผ่าทางภาคเหนือเคยนำต้นกัญชงมาทำเป็นเส้นใยผ้า ในขณะที่กัญชามักจะถูกนำมาใช้ทำอาหาร เช่น แกงเขียวหวาน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของ The Journal of Agricultural and Food Chemistry ได้อธิบายถึงสรรพคุณของสองสิ่งนี้ว่า ใบของกัญชงสามารถช่วยบำรุงเลือด เมื่อทานเข้าไปจะรู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น นอนหลับสบาย และยังช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดหัวไมเกรน รวมถึงโรคหัวใจได้ด้วย ซึ่งสำหรับในบ้านเรานั้นกัญชงก็ถูกจัดเป็นพืชที่ถูกกฏหมายไปแล้วเรียบร้อย แต่ในส่วนของกัญชานั้นยังถือว่าเป็นพืชสารเสพติดที่อันตรายและผิดกฎหมายอยู่ถึงแม้ว่าจะมีผลวิจัยหลายแห่งบอกว่า มันสามารถนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้ก็ตาม 
และนี่คือส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่บอกว่ากัญชาอาจช่วยรักษาโรคได้!
กัญชา vs โรคสมองเสื่อมในผู้สูงวัย
สถาบัน Salk ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้ข้อมูลว่า สารทีเอชซีและสารประกอบอื่นๆ ในกัญชาสามารถใช้ลดปริมาณโปรตีนที่ชื่อ เบต้า-แอมลอยด์ในสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงวัยและโรคทางระบบประสาทต่างๆ ลงได้ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลในวารสาร The Journal Of Alzheimer’s Disease ที่บอกว่าสารเตตราไฮโรเคนาร์บีนอยด์ หรือ ทีเอชซี ในกัญชาสามารถชะลอการผลิตเบต้า-แอมลอยด์ได้ โดยทั้งสองข้อมูลนี้ได้รับการสนับสนุนจากจอห์น ฮิคเกนลู ผู้ว่าการรัฐโคโรลาโดด้วย โดยเขากล่าวว่า กัญชาสามารถช่วยผู้สูงอายุที่เป็นอัลไซเมอร์ในรัฐของเขาได้จริง
น้ำมันกัญชา vs มะเร็งสมอง
มีข้อมูลวิจัยของมหาวิทยาลัยคอมพลูเทนส์ (Complutense University) บอกว่าสารทีเอชซีและสารโมเลกุลที่ชื่อว่า คาร์นาบีนอยด์ในกัญชาช่วยยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกทุกชนิดได้ ในขณะที่สารทีเอชซีจะไปลดจำนวนเซลล์เนื้องอกที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ด้วย นอกจากนี้วารสาร The Journal of Pharmacology And Experimental Therapeutic ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่า  คาร์นาบีนอยด์มีคุณสมบัติหยุดการเติบโตของก้อนเนื้อ และเนื้องอก โดยไม่ทำลายระบบประสาทอื่นๆ และยังผลิตสารประกอบชนิดหนึ่งที่ต้านเซลล์เนื้องอกที่อาจเป็นมะเร็งในอนาคตได้ นายแพทย์ นโคลัส บลอนดิลล์ (Nicholas Blondin) จากสถาบันวิจัยและทดลองการรักษาโรคทางประสาทวิทยา เล่าว่า เขาได้ใช้น้ำมันกัญชากับผู้ป่วยมะเร็งสมอง เพราะมันช่วยทุเลาอาการที่แย่ลงให้ดีขึ้นได้  อีกทั้งยังไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง ทำให้ปัจจุบันวิธีนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งสมองของเขาไปแล้ว และนี่ยังเป็นที่สนใจในวงการแพทย์ทั่วโลกอีกด้วย
กัญชา…อาจรักษาโรคกระดูกหักได้?
วารสารของมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ บอกว่ากัญชาอาจเป็นตัวเร่งให้การบาดเจ็บของกระดูกหายเร็วขึ้น โดยเฉพาะกระดูกที่หักตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ขา หรือ แขน โดยทางทีมวิจัยได้ใช้กัญชากับหนูที่มีกระดูกขาหัก พบว่ากระดูกที่หักนั้น หายเร็วขึ้นกว่าปกติ และยังพบว่ากระดูกมีความแข็งแรงมากขึ้นว่าเดิมด้วย แต่ถึงยังไงนี่ก็เป็นเพียงการค้นพบเท่านั้น ซึ่งคงต้องรอว่าจะมีการนำมาทดลองปรับใช้หรือทดลองกับมนุษย์บ้างหรือไม่ จึงจะหาข้อสรุปได้นั่นเอง 
เป็นยังไงกันบ้าง? เราเชื่อว่ายาทุกชนิด ไม่ว่าจะยาสกัดจากพืชสมุนไพร หรือยาสกัดจากเคมีในทางการแพทย์แบบแคปซูล ก็ย่อมให้คุณและโทษกับร่างกายได้ทั้งนั้น รวมไปถึงเจ้าพืชเขียวที่ชื่อว่า "กัญชา" นี้ก็เช่นกัน ซึ่งตอนนี้ กรมการแพทย์โครงการผลิตสารสกัดกัญชาต้นแบบในประเทศไทยเขาก็กำลังเร่งวิจัยกันอยู่  สัญญาว่าเราจะรีบนำความคืบหน้ามาฝากกัน  แล้วถ้าคุณมีอะไรอยากอัพเดทหรือคอมเม้นท์เกี่ยวกับเรื่องนี้ล่ะก็ มาแชร์กันได้เล้ย!   

 

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

 

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

 

 

 

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • dad
    ผลงานวิจัย หรือ ผลงานจากความรู้สึกส่วนตัวผู้ใช้??? เหมือน แม่ผม เอ็กซ์เรย์ ปอด เห็นจุด ใหญ่ ๆ สอง จุด ด้านล่างของปอด หมอวินิจฉัยว่า(สอง รพ.) บอกเป็นมะเร็ง ปอด ระยะ สุดท้ายแล้ว (บอกด้วยว่า ไม่เกิน 3 เดือน) ญาติพี่น้อง เลยหายา(ผีบอก มั๊ง?) ได้แคปซูป เห็ดหลินจืด ชุด ละ 30,000.- มากิน อยู่ได้อีกมาจนถึงปัจจุบัน แถม นน.ตัวขึ้นมามาก (ตอนที่ป่วย เหลือ 40 หายป่วย 60) .... โครต น่าเชื่อถือ มากเนอะ??? (ที่จริง หมอ ทั้ง สอง รพ. วินิจฉัย ผิดก็ได้ อาจจะเป็นแค่ วัณโรค) แต่ ญาติๆเอาไปคุย ว่าเป็นเพราะ "ยา"
    24 พ.ค. 2562 เวลา 09.38 น.
ดูทั้งหมด