ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ไปไม่รอด Walmart เตรียมขาย Seiyu กิจการค้าปลีกในประเทศญี่ปุ่น

Brand Inside
เผยแพร่ 12 ก.ค. 2561 เวลา 13.34 น. • Wattanapong Jaiwat
ภาพจากเว็บไซต์ของ Walmart (https://corporate.walmart.com/photos/japan)

Walmart ค้าปลีกรายใหญ่ระดับโลกกำลังที่จะต้องตัดสินใจครั้งสำคัญในการหาลู่ทางที่จะขายกิจการในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากแรงกดดันของ E-commerce รายใหญ่อย่าง Amazon

ภาพจากเว็บไซต์ของ Walmart (https://corporate.walmart.com/photos/japan)
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แหล่งข่าวไม่ระบุตัวตนได้กล่าวกับ Nikkei ว่า แรงกดดันจาก E-commerce ทำให้ค้าปลีกระดับโลกอย่าง Walmart เตรียมตัดสินใจที่จะขายกิจการในประเทศญี่ปุ่นอย่าง Seiyu ซึ่งทางบริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในขณะนี้ ซึ่งมีการพูดคุยกับกิจการค้าปลีกในประเทศญี่ปุ่นเองและรวมไปถึง Private Equity ที่สนใจกิจการค้าปลีกนี้ด้วย

กิจการของ Seiyu มีมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านเยน ถึงประมาณ 5 แสนล้านเยน มีสาขาทั้งหมด 335 สาขา ถ้าหากดีลการขายกิจการสำเร็จ อาจเป็นดีลของค้าปลีกในประเทศญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดหลังจาก UNY Group ควบรวมกิจการกับ Family Mart ในปี 2016

Seiyu ก่อตั้งในปี 1956 โดย Seibu Group และขยายกิจการมาเรื่อยๆ จนมาพบกับจุดจบเนื่องจากหนี้ของบริษัทที่สูงและปัญหาอื่นๆ ในช่วงยุค 1990 แถมยังเป็นช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจญี่ปุ่นด้วย ก่อนที่ Walmart จะเริ่มลงทุนในปี 2002 และเป็นกิจการของ Walmart เต็มรูปแบบในปี 2008

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แรงกดดันมหาศาล

สาเหตุส่วนหนึ่งที่ Walmart ต้องขายกิจการคือการรุกคืบของ E-commerce รายใหญ่ โดยเฉพาะ Amazon และรวมไปถึง E-commerce รายอื่นๆ ในประเทศญี่ปุ่นด้วย ถึงแม้ว่าทาง Walmart เองจะร่วมมือกับ Rakuten ไปแล้วก็ตาม แต่ธุรกิจของ Seiyu ซึ่งเป็น Supermarket เองต้องพบกับความยากลำบาก ปี 2016 บริษัทขาดทุน 200 ล้านเยน และทำได้เท่าทุนในปี 2017

นอกจากนั้นนักวิเคราะห์ได้กล่าวว่าอีกสาเหตุมาจาก Seiyu เองก็ไม่ค่อยปรับปรุงตัวร้านให้น่าเข้าสักเท่าไหร่ ทำให้คนไม่ชอบใช้บริการของ Seiyu เนื่องจากสภาพที่เก่าทรุดโทรม ถึงแม้ว่าจะมีการขายสินค้าที่ราคาถูก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของ Walmart เอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยถ้าหาก Walmart ขายกิจการ Seiyu แล้วจะกลายเป็นค้าปลีกต่างชาติรายที่ 3 ที่ถอนตัวออกจากตลาดญี่ปุ่นต่อจาก Tesco ในปี 2011 และ Carrefour ในปี 2005

ที่มาNikkei Asian Review, Reuters, Japan Times

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • Phong 4659
    เศรษฐกิจทั่วโลกดี ประเทศไทยก็ดี คำโกหก ของคนบ้าอำนาจ
    13 ก.ค. 2561 เวลา 01.04 น.
  • S.
    ควายจำพวกนึงก็ยังโทษฟ้าโทษฝน อ่านเกินมาบรรทัดที่ 3 ก็จะเห็นสาเหตุว่า ตลาดออนไลน์มันบุกหนัก ยุค digital disruption เพราะพฤติกรรมคนเปลี่ยน ถ้าไม่ปรับตัวก็เจ๊งทั้งนั้น
    13 ก.ค. 2561 เวลา 03.22 น.
  • Kurt-Jib Lee
    เดินไปจับจ่ายใช้สอยกันน้อยลง เปิดดูร้านค้าแล้วรอของมาส่งหน้าบ้านกันมากขึ้น
    12 ก.ค. 2561 เวลา 19.07 น.
ดูทั้งหมด