“บัตรเครดิตนักศึกษา” ธนาคารสร้างโอกาสหรืออยากกินดอกเบี้ยกันแน่?
กำลังเป็นกระแสตื่นตัวทั้งที่ไม่ใช่เรื่องใหม่เท่าไรนัก กับการที่เด็กนักศึกษาผู้ซึ่งไม่มีรายได้สามารถเป็นเจ้าของบัตรเครดิตได้แล้ว และมุมมองส่วนใหญ่เห็นว่านี่คือดาบ 2 คม สำหรับเด็กหลายคน ที่น่าสนใจคือใครได้ประโยชน์มากที่สุดกันแน่
หลักการอนุมัติ
อย่างที่กล่าวตอนต้นแล้วว่าการเป็นเจ้าของบัตรเครดิตไม่ยุ่งยากเลย แค่มีวงเงินฝากขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 20,000 บาท หมายความว่าเราสามารถใช้บัญชีเงินฝากประจำเป็นบัญชีค้ำประกัน ทั้งนี้จำนวนเงินในบัญชี และจำนวนเดือนที่ฝากประจำนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร และประเภทบัตรที่เลือกสมัคร และผู้สมัครต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ โดยไม่ต้องมีสลิปเงินเดือนเหมือนคนทำงานทั่วไป ง่ายจริงอะไรจริงแบบนี้ ก็ทำให้น่าสนใจไม่น้อย
โปรโมชั่นยั่วยวนชวนให้สมัคร
ความยั่วยวนแรก นอกจากหลักการณ์สมัครที่ไม่ยุ่งยาก ยังมีเรื่องของโปรโมชั่นแรกเข้าที่ยั่วยวนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นของแถมต่างๆ รูปแบบบัตรลวดลายลิมิเต็ด ไหนจะโปรโมชั่นการขายที่ผูกปิ่นโตกับธนาคารเจ้าของบัตร ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า แบรนด์สินค้าต่างๆ สถานที่กิน เที่ยว ช็อปปิ้ง ไหนจะร้านค้าออนไลน์ ที่จ่ายด้วยบัตรเครดิตช่วยพิ่มส่วนลด และได้คะแนนสะสมคูณสองเท่า สามเท่า แบบนี้จะไม่ช็อปเพลิน จนใช้เงินเกินตัวได้อย่างไร
ผ่อนชำระย้อนหลังได้ก็จริงแต่ลืมไปหรือเปล่าว่ามีดอกเบี้ยด้วยนะ
ช่วงแรกที่ได้บัตรมา หลายคนยังรื่นรมย์กับการรูดบัตรปรื๊ดๆ โดยที่เงินในกระเป๋าไม่สะเทือน แต่อย่าลืมว่ากติกาการใช้บัตรเครดิตทุกธนาคาร ต้องมีการตัดรอบบิลเงินที่เราใช้ทุกๆ เดือน บางธนาคารมีแคมเปญดีหน่อย มีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยยาวนาน เพราะฉะนั้นต่อให้เลยรอบบิลก็ยังพอจะหมุนเงินมาชำระได้ แต่ก็อย่าลืมอีกว่า ถ้าชำระเลยกำหนดเขามีดอกเบี้ยนะ บอกเลยว่าไม่ใช่น้อยๆ
ข้อดีก็มีเหมือนกัน
ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสีย เพราะความจริงแล้วการมีบัตรเครดิตเพื่อให้นักศึกษาสามารถหมุนเงินได้นั้น เป็นการช่วยสนับสนุนนักศึกษาหลายคนที่รายได้ทางบ้านอาจไม่เพียงพอที่จะจุนเจือได้ ก็อาจต้องมีการใช้เงินอนาคตต่อลมหายใจเพื่อซัพพอร์ตการเรียน นอกจากนี้ยังช่วยซัพพอร์ตนักศึกษาหลายคนที่เริ่มทำธุรกิจหรือหาเลี้ยงตัวเองไปด้วยขณะเรียน รวมทั้งการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตยังช่วยลดหรือได้รับเงินคืนไปกับบริการที่จำเป็นมากมาย ทั้งค่าโดยสารรถไฟฟ้า รถใต้ดิน ค่าน้ำมัน หรือค่าบริการ ค่าสินค้าจำเป็นในการใช้ชีวิตอีกหลายอย่างได้อีกด้วย หากมองในมุมนี้ ก็เป็นข้อดีสำหรับนักศึกษาที่มีวินัยในการใช้เงินได้ดีทีเดียว
บัตรเครดิตไม่เคยสร้างหนี้ให้ใครคนสร้างคือตัวคุณเอง
ก็เพราะความอยากได้มีไม่สิ้นสุด มันจึงเสี่ยงต่อการเป็นหนี้หัวฟู บัตรเดียวไม่พอ มีบัตรเสริมอีก หนี้ท่วมหัว สุดท้ายคนรับภาระก็คือพ่อแม่ที่ต้องคอยตามเช็ดล้างปัญหาของลูกๆ สำหรับใครที่คิดว่าใจไม่แข็งพอหรือมีวินัยทางการเงินไม่มากพอทั้งการใช้จ่าย หรือชำระหนี้ แบบนี้แนะนำให้จำกัดวงเงินที่สามารถใช้งานได้ ให้พอดีกับที่คุณคิดว่าจะใช้หนี้ทัน นอกจากนี้การสมัคร sms แจ้งเตือนการชำระหนี้ หรือลองใช้แอพพลิเคชั่น UChoose ที่แจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการใช้บัตรเครดิตฟรี เอาไว้เตือนใจทุกครั้งที่รูดบัตรว่าจ่ายไปเท่าไหร่แล้ว
ถ้าควบคุมการใช้จ่ายไม่เกินตัวได้ ก็ไม่มีปัญหา ดีเสียอีกจะได้เป็นการฝึกการใช้เงินอย่างมีแบบแผนและมีสติกันตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น แต่อีกคมดาบที่เป็นภัยมืดส่งต่อสู่การเป็นผู้ใหญ่รุ่นต่อไปในสังคมก็คือ การโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้เงินมือเติบ อยากได้อะไรก็ต้องได้ มีของก่อนผ่อนทีหลัง เงินสดของจริงกระจายอยู่ตามผู้ค้า และธนาคาร ส่วนเด็กนักศึกษานอนกอดเงินที่ต้องชำระทุกงวดไป
ก็ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเดี๋ยวนี้เด็กๆ หลายคนมีของแบรนด์เนมราคาแพงกันตั้งแต่ยังไม่ทำงาน ใต้แบรนด์เนมอาจมีหนี้บัตรซ่อนอยู่นั่นเอง
Neung_Thitima นักศึกษาไม่มีเงินเดือน พ่อแม่จ่ายแทนจนตาย คิดอะไรออกมาแต่ละอย่างพาเครียดจริงๆ
08 พ.ย. 2561 เวลา 00.14 น.
👤Inspector🌁👷🏢 ธนาคารไม่ทำอะไรที่ไม่ได้กำไร จบ.
08 พ.ย. 2561 เวลา 00.18 น.
ติดหนี้แต่เด็ก
08 พ.ย. 2561 เวลา 00.05 น.
SunnyLek4289♾️☯️6395 ช่องทางทำมาหากิน...แบบนี้มีเครดิตยันตาย!!!
08 พ.ย. 2561 เวลา 00.09 น.
นี่คือความฉลาดของธนาคาร
08 พ.ย. 2561 เวลา 00.13 น.
ดูทั้งหมด