“เสรีภาพ” กับ “ขี้ปากสื่อ” แค่แต่งกายข้ามเพศก็ผิดด้วยหรือ?!
เมื่อไม่กี่วันก่อน นิตยสารแฟชั่นชื่อดังแห่งหนึ่งได้ออกมา “สับแหลก” นางแบบสาวและเซเลบริตี้ชื่อดัง "Cara Delevingne" ซึ่งแต่งตัวด้วย “ลุคข้ามเพศ” โดยแต่งตัวเป็นชาย ใส่สูท ผูกเนคไท ไปร่วมพิธีเสกสมรสเจ้าหญิง Eugenie of York แห่งราชวงศ์อังกฤษ ซึ่ง Cara เป็นพระสหายของพระองค์ว่าเป็นเรื่องที่ “ผิดทุกข้อ!” และ “ผิดกาลเทศะเป็นอย่างยิ่ง”
แต่ Cara Delevingne ผิดกาลเทศะจริงหรือ?
อันที่จริง Cara Delevingne เปิดตัวว่าเป็น "LGBTQ" ซึ่งหมายความว่าเธอเป็นผู้หญิงที่เป็นเพศหลากหลาย ซึ่งหมายความว่าเธออาจมีสิทธิ์มองว่าตนเองเป็นเพศชาย (ข้ามเพศ) หรือเป็นเพียงผู้หญิงที่พอใจจะแต่งเป็นชายก็ได้ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาอะไรในโลกตะวันตกซึ่งคนในสังคมส่วนใหญ่เคารพความแตกต่างที่หลากหลาย ซึ่งหมายความว่าที่จริงแล้วเธอมีสิทธิ์ที่จะแต่งเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ และไม่ใช่แค่เธอ…แต่เป็น “ทุกคน”
ถึงตรงนี้ คุณอาจจะอยากแย้งว่า “เราเคารพสิทธิในการแต่งกายข้ามเพศ แต่อย่างไรการแต่งกายข้ามเพศใน ‘พิธีการ’ ก็ย่อมไม่เหมาะสม”
อย่างนั้นหรือ?
ในปี 2012 มหาวิทยาลัย Oxford ได้แก้ไขธรรมเนียมปฏิบัติอันยาวนานเกี่ยวกับการแต่งกาย เพื่อเอื้อให้นักศึกษาข้ามเพศได้แต่งกายตามสภาพในการเข้ากินงานเลี้ยงระดับสูงต่างๆที่ต้องมี Dress Code ในรั้วมหาวิทยาลัยอันมีชื่อเรียกว่างานฟอร์มอล รวมทั้งการแต่งกายชุดยูนิฟอร์มระหว่างการสอบ และงานพิธีการต่างๆเช่นงานรับปริญญาด้วย แน่นอน มหาวิทยาลัยชั้นสูงระดับ Oxford ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่เก่าแก่ที่สุดของอังกฤษย่อมยึดถือธรรมเนียม ประเพณี การปฏิบัติตามจารีตอย่างเข้มข้น แต่ก็กลับมีการปรับเปลี่ยนกฎโบราณที่ยึดถือเอาไว้ เพื่อแสดงออกถึงความเคารพในสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น และแน่นอนว่า “การแต่งกาย” ก็เป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง
รู้หรือไม่ว่า…กระทั่งผู้ชายก็มีสิทธิ์ใส่กระโปรงไปเรียนได้ ที่ Oxford!
และไม่ใช่แค่ในอังกฤษหรือในประเทศตะวันตกเท่านั้น ในประเทศไทยเอง ปี พ.ศ. 2557 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ลงมติว่า กรณีที่มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นักศึกษาที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดแต่งกายตามเพศที่ตนเลือก…เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน! และไม่กี่ปีต่อมา เราก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง เมื่อมหาวิทยาลัยระดับประเทศอย่างจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยประกาศให้นักศึกษาสามารถแต่งกายข้ามเพศเข้าร่วมงานพระราชทานปริญญาบัตรได้ เช่นกรณีของ "เกรซ นวรัตน์" ลูกสาวเสี่ยเจียง ซึ่งแต่งกายเป็นชายเข้ารับปริญญา ก็กลายเป็นความน่ายินดีอย่างยิ่ง
เรียกได้ว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบ กฎ ระเบียบ “พิธีการอันศักดิ์สิทธิ์” ต่างๆในประเทศไทยเราเอง…ก็ได้ปรับเปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติให้ “ทันโลก” “ทันสมัย” แล้วเช่นกัน
นอกจากนี้ เมื่อมองให้ลึกถึงความหมายของคำว่า “กาลเทศะ” เราจะพบว่า “กาลเทศะ” หมายถึง “เวลา และ สถานที่” เพราะฉะนั้นสิ่งใดจะถูกต้องตามกาลเทศะ หรือไม่นั้นควรคำนึงถึงทั้ง “เวลา” และ “สถานที่” ไม่ใช่คำนึงถึงเพียง “สถานที่” เท่านั้น
ในเมื่อ “เวลา” หรือ “ยุคสมัย” ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วจนเข้าสู่ยุคที่ผู้คนยอมรับได้ถึงความแตกต่าง ความหลากหลายทางเพศ และสิทธิในการเลือกแต่งกาย นั้นเป็นสิทธิที่สมควรได้รับความเคารพ ทุกคนเองก็มีการแต่งกายที่เราพอใจ ทั้งตามความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี หรือวิถีชีวิต ดังนั้นการวิพากย์วิจารณ์การแต่งกายของใครว่า “ผิดทุกข้อ” นั้นสมควรแล้วหรือ?
เพราะคำว่า “ผิด” ของเรา ก็อาจจะ “ถูก” ของเขาก็ได้
เราควรเข้าใจในความแตกต่าง และเคารพในความแตกต่าง เพราะเมื่อใดที่เราเข้าใจความแตกต่างและเคารพในความแตกต่างแล้ว เราก็จะสามารถสร้างสังคมที่ “เคารพซึ่งกันและกัน” ได้มากขึ้น…นั่นเอง
maruneko เหมาะสม เคารพซึ่งกันและกัน
20 ต.ค. 2561 เวลา 01.15 น.
tCUk ®™789🐐🐇 ชัดเจน 👏👏🌈
20 ต.ค. 2561 เวลา 01.29 น.
Nami 娜羋 อ่านต้นฉบับที่สับแหลกมาแล้ว เขาไม่ได้ต่อต้านที่คาร่าเป็นเพศสีรุ้งแต่เขาวิจารณ์ความไม่เป๊ะของชุด และการแหกกฎชุดที่ระบุในบัตรเชิญ เหมือนไปแย่งความเด่นจากเจ้าภาพ หลักๆคือถ้าเลือกใส่มาก็ให้เป๊ะกว่านี้ ให้ตามชุดผชที่เขากำหนดและวิถีปฏิบัติในโบสถ์ก็เลือกทำให้ชัดไปเลยจะถอดหมวกหรือไม่ เอาให้ชัด แบบนี้ไม่ใช่เหรอ นี่ไม่ได้เข้าข้างใครเพราะว่าจากนั้นไม่นาน นิตยสารแม่สาขาเมืองนอกให้คาร่าติด ท๊อป best dress เหมือนแม่ลูกตระกูล ว ตีกันเองไปแล้ว 😂
20 ต.ค. 2561 เวลา 02.02 น.
เขาพูดถูกแล้วคำว่า กา ละ เท สะ ต้องควรจะมี
20 ต.ค. 2561 เวลา 01.45 น.
ปาน สื่อเลวมีมากขู่ข้าราชการปิดบังความชั่วรับเงินใต้โต๊ะมีมาก
20 ต.ค. 2561 เวลา 02.05 น.
ดูทั้งหมด