ทั่วไป

วางผังเมืองกันยังไง? “กรุงเทพฯ” ถึงกลายเป็น “เมืองซอยตัน”

Another View
เผยแพร่ 07 ธ.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

วางผังเมืองกันยังไง? “กรุงเทพฯถึงกลายเป็นเมืองซอยตัน” 

สภาพการจราจรในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ ไม่ได้เป็นพิษแค่วันศุกร์แห่งชาติ ศุกร์สิ้นเดือน หรือศุกร์แห่งการช้อปปิ้งอย่าง Pink Friday และ Black Friday อีกต่อไป 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่สภาพการจราจรติดขัดเกิดขึ้นทุกวัน บนถนนเกือบทุกสาย! ซึ่งจะกล่าวโทษปริมาณรถและการขับขี่ของผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างเดียวก็คงไม่เป็นธรรม เพราะปัญหาเรื่อง “ผังเมือง” ของ กทม. ก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้รถติดอย่างทุกวันนี้

ล่าสุดผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อว่า SvNithi Yupho ได้โพสต์ข้อความวิเคราะห์ถนนในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยใช้ฐานข้อมูลจาก OpenStreetMap และใช้ฐานการวิเคราะห์จากงานวิจัยของศาสตราจารย์เจฟฟ์ โบอิ้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังเมือง มหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทอร์น สหรัฐอเมริกา

ข้อความบนเฟซบุ๊ก กล่าวไว้ว่า..

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“จากประสบการณ์ตรงของการขับรถเข้าซอยเล็กๆและลึกมากและตันไปส่งเพื่อนกลับบ้านทำให้คาใจเรื่องความลึกและตันของถนนกรุงเทพฯ 10 ปีผ่านไป หาคำตอบให้ตัวเองได้แล้วค่ะ

ภาพจากเฟซบุ๊ก SvNithi Yupho

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กรุงเทพฯมีถนนที่พาไปหาซอยตันเยอะมากเมื่อเทียบกับถนนทั้งหมดมากถึง37.19%คือคนเราทุกวันนี้ต้องขับเข้าขับออกจากซอยตันมากมายเหล่านี้แล้วพากันมากระจุกเป็นคอขวดเพื่อเข้าถนนเส้นใหญ่รถจะไม่ติดได้อย่างไรคะ

พอเทียบกับเมืองหลวงของประเทศอื่นๆแล้วน่าตกใจมากลอนดอนที่เป็นเมืองเก่าเหมือนกันยังมีสัดส่วนถนนที่นำไปสู่ทางตันแค่18.67% ต่อถนนทั้งหมดสิงคโปร์โตเกียวนี้มีราวๆ7% ส่วนมาดริดและนิวยอร์คมีแค่4.6% และ3.6% เท่านั้น

การมีซอยตันมากมายขนาดนี้ยังทำให้ระบบขนส่งมวลชนแบบรถเมล์เข้าไม่ถึงพื้นที่ชุมชนเราก็ได้แต่พึ่งพามอเตอร์ไซค์รับจ้างรถตู้รถสองแถวรถพ่อรถแม่ออกมาจากซอยต่อไป

เราไม่ได้บอกว่าโครงถนนตารางแบบนิวยอร์คดีที่สุดนะตารางถี่มากสี่แยกเยอะเลี้ยวเยอะรถก็ติดเช่นกันแต่อย่างน้อยถ้ารถติดหรือไฟไหม้คนยังมีทางเลือกแต่ซอยตันแบบในกทม. คือมีทางเข้าออกทางเดียวรอดไม่รอดมีทางเลือกทางเดียวSvNithi Yupho กล่าว

ทั้งนี้ "นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ" ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (ผอ.สนข.) ได้เคยเปิดเผยถึง “5 แผนแก้ปัญหารถติดทั่วกรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 โดยแนวทางที่4 เป็นนโยบายเปิดทางตันโดยแนวทางนี้จะให้ กทม. เป็นเจ้าภาพหลักในการสำรวจซอยตันที่อยู่ในเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกเส้นทาง ว่ามีกี่ทางตัน และทางตันไหนบ้างที่สามารถเปิดทะลุเชื่อมต่อซอกซอย ถนนต่างๆได้ ซึ่งมั่นใจว่า หากเปิดทะลุซอกซอยได้จะช่วยระบายรถที่คั่งค้างในถนนสายหลักออกไป ตัวอย่างเช่น ซอยรามคำแหง 118 สุดซอยเป็นทางตัน แต่เมื่อมีการสำรวจพบว่าหากเปิดทางตันจะทำให้สามารถทะลุไปยังถนนศรีนครินทร์ได้ เป็นต้น

กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว! “กรุงเทพ” ก็เช่นกัน

การแก้ปัญหาผังเมืองและซอยตันทั่วกรุงเทพฯ เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ก็คงเป็นเรื่องที่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนตั้งหน้าตั้งตารอ จะสำเร็จหรือไม่ ซอยตันจะน้อยลงได้แค่ไหน ต้องติดตามกันต่อไป..

แหล่งข้อมูล 

เฟซบุ๊ก : SvNithi Yupho https://web.facebook.com/innithi/posts/10156246058728369

https://geoffboeing.com/publications/osmnx-complex-street-networks

https://www.thairath.co.th/content/1358170

ความเห็น 54
  • Tarurotte
    เท่าที่เห็นนะ ตรอก ซอก ซอยในกรุงเทพ ส่วนหนึ่งมีพื้นฐานจาก “คันนาเก่า”
    14 ธ.ค. 2561 เวลา 17.47 น.
  • sitthipong
    เอาตำรวจมาเป็นผู้ว่า เอาทหารมาเป็นนายก เจ้าหน้าที่เห็นแก่ประโยชน์ตน ผังเมีอง แผนงาน มีไว้แค่เป็นพิธี เมีองน้ำท่วมขัง(รอระบาย)รถสุดติด จยย.ขายของบนทางเท้า
    12 ธ.ค. 2561 เวลา 08.28 น.
  • Yaowalak Nanon
    สำนักผังเมืองทำไรบ้าง????
    11 ธ.ค. 2561 เวลา 16.48 น.
  • ฅนคง
    มีตั้งหลายประเทศมีคลองผ่านเหมือนกันไม่เห็นรถจะติดแบบนี้เลย​ เป็นแค่ข้ออ้าง​ มีกรมผังเมืองนั่งแดกเงินภาษีอย่างเดียว
    08 ธ.ค. 2561 เวลา 13.21 น.
  • ถามใหม่อีกข้อ ออกแบบผังเมืองอย่างไรน้ำดำปี๋ทั่วกรุง
    07 ธ.ค. 2561 เวลา 14.35 น.
ดูทั้งหมด