ทั่วไป

วันนี้ในอดีต 14 พฤศจิกายน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”

[invalid]
อัพเดต 14 พ.ย. 2561 เวลา 00.56 น. • เผยแพร่ 14 พ.ย. 2561 เวลา 01.00 น. • tnnthailand.com
วันนี้ 14 พฤศจิกายนของทุกปี ถือเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ซึ่งโครงการพระราชดำริฝนหลวง เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

วันนี้ 14 พฤศจิกายนของทุกปี ถือเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” โดยโครงการพระราชดำริฝนหลวง เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 โดยเสด็จฯเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร 14 จังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนี้ เสด็จฯจากจังหวัดนครพนมไปจังหวัดกาฬสินธุ์ ผ่านจังหวัดสกลนคร และเทือกเขาภูพาน ทรงทราบถึงความเดือดร้อนที่ราษฎรได้รับเนื่องจากขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร เมื่อครั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรและนักประดิษฐ์ควายเหล็กที่มีชื่อเสียงเข้าเฝ้าฯ และพระราชทานแนวความคิดนั้นแก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล

โดยทฤษฎีต้นกำเนิดฝนหลวงแรกเริ่ม คือ การโปรยสารดูดซับความชื้น หรือเกลือ จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ และใช้สารเย็นจัด หรือน้ำแข็งแห้ง เพื่อให้ความชื้นกลั่นตัวและรวมเป็นเมฆ ซึ่งหลังจากที่ได้พระราชทานแนวความคิดแล้ว ยังทรงใช้เวลาอีก 14 ปีในการวิเคราะห์วิจัย ทบทวนเอกสาร รายงานผลการศึกษาและข้อมูลต่างๆ โดยพระราชทานให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุลเพื่อประกอบการค้นคว้าทดลองมาโดยตลอด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ภาพตำราฝนหลวง ขอบคุณwww.royalrain.go.th

จากนั้นในปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัยจึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจากนั้นในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้

ต่อมาเมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการและหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองเป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การทดลองครั้งแรก เริ่มจากหยอดก้อนน้ำแข็งแห้งขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้วเข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุตที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลอง ซึ่งผลที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มเมฆที่ทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่นและก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็ว และเคลื่อนตัวไปตามทิศทางลม ซึ่งจากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดินและการได้รับการยืนยันจากราษฎร พบว่าเกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด ซึ่งนับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่าการบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

หลังจากนั้นจึงทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นองค์กรปฏิบัติการสนองพระราชประสงค์ในการค้นคว้าทดลองทำฝนหลวง ควบคู่กับปฏิบัติการหวังผลกู้ภัยแล้งมาโดยตลอด

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงประดิษฐ์ภาพ “ตำราฝนหลวง” ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงขั้นตอนและกรรมวิธีการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝน จากเมฆอุ่นและเมฆเย็น และพระราชทานแก่นักวิชาการฝนหลวง ซึ่งถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกันเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2542

ขอบคุข้อมูลจาก :www.royalrain.go.th

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • พงษ์พิสิษฐ์ K9/8
    บุญของคนไทย ที่มี กษัตริย์นักพัฒนา องค์ภูมิพล มหาราช ทรงงานเพื่อประชาชน อย่างเท่าเทียม
    14 พ.ย. 2561 เวลา 01.34 น.
  • กุ๊กไก่โต้ง
    คิดถึงพ่ออยู่หัวมากๆ
    14 พ.ย. 2561 เวลา 03.07 น.
ดูทั้งหมด