ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

คปภ. ปรับหลักเกณฑ์ใหม่ ส่งรถซ่อม จ่ายค่าชดเชย 500-1,000 บาท เริ่มปี 62

aomMONEY
อัพเดต 02 ธ.ค. 2561 เวลา 14.02 น. • เผยแพร่ 20 พ.ย. 2561 เวลา 07.15 น. • กองบรรณาธิการ
คปภ. ปรับหลักเกณฑ์ใหม่ ส่งรถซ่อม จ่ายค่าชดเชย 500-1,000 บาท เริ่มปี 62

เนื่องจากปัญหาการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ มียอดร้องเรียนมากเป็นอันดับ 1 เพราะบริษัทประกันไม่ยอมจ่ายค่าขาดประโยชน์ ประชาชนขาดความรู้ หรือมีการจ่ายในอัตราที่ต่ำ จึงเป็นสาเหตุให้ต้องมีการปรับเกณฑ์ใหม่ดังกล่าว

นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ระบุว่า คปภ. ได้ข้อสรุปการปรับปรุงความคุ้มครองของค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ให้แก่เจ้าของรถยนต์ที่ทำประกันและอยู่ระหว่างนำรถไปเคลมซ่อมแล้ว โดยกำหนดจ่ายเป็นสามกลุ่ม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • รถยนต์ส่วนบุคคลขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
  • รถยนต์รับจ้างสาธารณะขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
  • รถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท 

“หากฝ่าฝืน มีความผิดฐานขัดคำสั่งนายทะเบียน ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย อาจถือได้ว่าบริษัทจงใจฝ่าฝืนข้อตกลงแห่งสัญญาประกันภัย หรือข้อกำหนดหรือกฏเกณฑ์ใดๆ ที่มีความชัดเจนให้บริษัทมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์หรือบุคคลผู้มีสิทธิ์เรียกร้องหรือได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัย 

อันอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามสัญญาประกันภัย อันอาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งมีบทลงโทษในอัตราที่สูง ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และถ้าเป็นกรณีการกระทำผิดต่อเนื่องให้ปรับอีกไม่เกินวันละ 2 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่”

คปภ. ปรับหลักเกณฑ์ใหม่ ส่งรถซ่อม จ่ายค่าชดเชย 500-1,000 บาท เริ่มปี 62

ก่อนหน้านี้ช่วงปลายปี 2560 เคยมีบทความวิเคราะห์ถึงเรื่อง “ค่าขาดประโยชน์ (รถ) ต้องเป็นธรรม” พูดถึงการกำหนดเงินค่าขาดประโยชน์ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าเป็นแนวคิดที่พัฒนาไปในทางที่ถูกต้องและโปร่งใสมากขึ้น และถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนเจ้าของรถที่ถูกรถที่มีประกันภัยละเมิด จนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากรถคันนั้นได้ เพราะต้องนำรถเข้าซ่อม และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 

เนื้อหาบทวิเคราะห์ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า ค่าขาดประโยชน์นับจากนำรถเข้าซ่อมนั้น เป็นประเด็นที่มีการเรียกร้องมากที่สุด และบางรายนั้น ค่าเสียหายในส่วนของการเดินทางนั้นมากกว่าค่าซ่อมรถเสียอีก 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งนี้เมื่อปี 2558 เลขา คปภ. คนใหม่นี้เคยเผยวิสัยทัศน์สำหรับการปรับโฉมสำนักงาน คปภ. 

“ให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และธรรมาภิบาล รวมทั้งขีดความสามารถที่จะแข่งขันได้ในเวทีโลก ตลอดจนสามารถเข้าถึงได้และได้รับการยอมรับจากปราะชาชนทุกระดับ โดยจะบูรณาการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอย่างมืออาชีพ เที่ยงธรรม สู่มาตรฐานสากล”

หลายคนอาจไม่คุ้นกับบทบาทของ คปภ. หรือคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ https://bit.ly/2OQZ3HJ

ที่มา:
กรุงเทพธุรกิจ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โพสต์ทูเดย์ (1) , (2) 

ติดตามความรู้เรื่องการเงินการลงทุนจาก aomMONEY
Line@ : @aommoney
Website : www.aomMONEY.com
Youtube : https://www.youtube.com/AommoneyTH

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 38
  • ธนิดา
    เอารถเข้าซ่อมไม่เคยได้ค่าชดเชยเลยกว่าจะซ่อมเสร็จเสียเวลานานเบี้ยประกันก็เพิ่มอีกแน่เลย ช่วยบอกให้ละเอียดหน่อยวิธีได้ค่าชดเชยนะดำเนินการอย่างไรเวลาเก็บเงินเร ็วแต่ซ่อมช้าจ่ายช้าเรื่องมากแน่นอน
    21 พ.ย. 2561 เวลา 04.16 น.
  • สายัณห์
    ถูกต้องแล้วครับ...ที่ผ่าบริษัทประกันเอาเปรียบมากเลยครับ..ของผม 1 เดือนแล้วบริษัทยังไม่มาประมาณการซ่อมเลย
    21 พ.ย. 2561 เวลา 03.33 น.
  • Bank
    สัส ค่าประกันขึ้นกี่พันวะเนี่ย
    21 พ.ย. 2561 เวลา 03.13 น.
  • สนธิชัย เขียวมาลี
    ผมทำประกันตั้งแตออกรถคันใหม่มานี้ผมทำประกันชั้นหนึ้งมาตลอด 5 ปีผมใช้ประกันน้อยที่สุดเลยคร้บ ในเมื่อกดหมายนี้มา ทาง คปภ. ก็ต้องควบคุมดูแลบริทัษประกันภัยด้วยนะคร้บ ผมกลัวเบี้ยประกันภัยจะสูงขึ้น ทุกวันนี้ก็สูงอยู่แล้วคร้บ
    21 พ.ย. 2561 เวลา 01.54 น.
  • ต้้องควบคุมเรื่องเบี้ยด้วยคับ ถ้าไม่ควบคุมเบี้ยเพิ่มลิ่วแน่พี่น้องเอ้ยย
    21 พ.ย. 2561 เวลา 01.13 น.
ดูทั้งหมด