ไลฟ์สไตล์

‘Shame’ สารคดีที่ตั้งคำถามว่า “ใครคือคนที่ควรละอาย เมื่อผู้หญิงถูกข่มขืนผ่านระบบ” - เพจพื้นที่ให้เล่า

TOP PICK TODAY
อัพเดต 20 มิ.ย. 2563 เวลา 02.13 น. • เผยแพร่ 19 มิ.ย. 2563 เวลา 19.21 น. • เพจพื้นที่ให้เล่า

ผู้หญิงคนหนึ่งโดนข่มขืนจากผู้ชาย 14 คน จากความผิดที่ตัวเองไม่ได้ก่อ

เธอตัดสินใจออกมาทวงถามหาความยุติธรรมที่ตัวควรได้รับตามกระบวนการทางกฎหมายถึง 2 ปี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่สังคมส่วนหนึ่งกลับประนามว่าการกระทำนี้ของเธอมันน่าอับอายและพาความอัปยศมาหาสมาชิกครอบครัวคนอื่นของเธอ

การโดนข่มขืนซ้ำๆ จากระบบ การโดนคุกคามทำร้ายร่างกายจากการพูดในสิ่งที่ถูกทำให้เธอต้องอยู่ไม่สู้ตาย

แต่สุดท้ายเธอไม่ตาย.. เธอคือ Mukhtaran Bibi หรือที่รู้จักกันในชื่อ Mukhtaran Mai

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

.

เชื่อว่าบนโลกนี้หลายๆ คนไม่เคยได้ยินชื่อของเธอคนนี้และไม่รู้ว่าเธอผ่านอะไรมาบ้าง แต่ชีวิตของเธอเป็นหนึ่งในความงอกงามและความเปลี่ยนแปลงอันกล้าหาญ ที่เกิดขึ้นค้านจากความเชื่อในสังคมชาวปากีสถาน “สังคมที่เชื่อว่าผู้หญิงเป็นอะไรก็ได้ตามความต้องการของผู้ชาย ยกเว้นเป็นตัวของตัวเอง”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สังคมปากีสถานดั้งเดิมเชื่อว่าผู้หญิงที่ถูกกระทำเลวร้ายหรือโดนข่มขืนควรยอมรับสิ่งที่เรียกว่าชะตากรรม และพยายามใช้ชีวิตต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หากผู้หญิงที่โดนกระทำในลักษณะนี้ตัดสินใจพูดหรือบอกความจริงเรื่องนี้กับใคร เธอจะถูกมองว่าเป็นผู้หญิงน่าอับอายหรือผู้หญิงสกปรกในสังคมแวดล้อมทันที ความหวาดกลัวและความอับอายในตัวตนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงต้องก้มหน้าจัดการด้วยตัวเองภายในใจเท่านั้น หลายคนอาจเลือกที่จะย้ายถิ่นฐาน พาตัวเองไปเลียแผลใจให้ห่างจากคนที่ก่อเหตุ หลายคนโดนครอบครัวจับได้และตัดสินให้ฝังทั้งเป็น บ่อยครั้งที่ทางเลือกในการบอกลาความเจ็บปวดของพวกเธอคือความตาย

ด้วยความคิดแบบนี้ทำให้ประเทศปากีสถานกลายเป็นประเทศหนึ่งที่มีความรุนแรงกับสตรีและสตรีสูงอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อเด็ก ซาฮิล ในช่วงปี 2545-2555 ที่ผ่านมา พบว่าสถิติจำนวนเด็กที่ตกเป็นเหยื่อการข่มขืนในปากีสถานเพิ่มสูงเกือบ 4 เท่า

.

หน้าปกของสารคดีเรื่อง Shame ที่สร้างจากชีวิตจริงของมุกห์ตารัน บีบี (2006)

ในปี 2006 มีการนำสารคดีที่สร้างจากเรื่องราวชีวิตจริงของ Mukhtaran Bibi หรือ มุกห์ตารัน บีบี เรื่อง ‘Shame’ ไปฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฯ ที่ประเทศแคนาดา ข้อความอันทรงพลังที่ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวที่สะเทือนใจและอารมณ์ของผู้ชมไปถึงผู้หญิงทั่วโลก จนเรื่องราวของเธอกลายเป็นสิ่งที่ถูกถกเถียงในแวดวงสิทธิสตรี และกระบวนการยุติธรรมที่ถูกนำมาใช้หลายๆ ประเทศในการสืบสวนหาข้อเท็จจริงในคดีข่มขืน

ชื่นชมว่าเป็นสารคดีที่คนทำตั้งใจทำมากจริงๆ เพราะต้องต่อสู้กับการเข้าถึงแหล่งข่าวและการขอข้อมูลจากหลากหลายฝ่าย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อต้องดีลกับหลายหน่วยงานของทางการ อย่างหน่วยงานตำรวจท้องถิ่นขึ้นมา พวกเขาย่อมต้องเจอกับการจับตามองของข้อมูลที่กำลังจะนำเสนอออกไป แต่โชคดีที่ความเสี่ยงนั่นคุ้มค่า

.

มุกห์ตารัน บีบี ถูกผู้ชายในหมู่บ้านเดียวกันจำนวน 14 คนทำร้ายร่างกายและข่มขืน เพียงเพราะพวกเขาต้องการลงโทษเธอ.. แทนน้องชาย .. ที่ไปลวนลามหญิงสาวในตระกูลที่สูงกว่า พวกเขามองว่าวิธีนี้จะช่วยรักษาเกียรติยศของครอบครัวตามธรรมเนียมที่เชื่อปฏิบัติตามๆ กันมา

ไม่ต้องบอกก็คงเห็นภาพมุมมองของสังคมที่มีต่อเรื่อง 'ความเท่าเทียมระหว่างเพศ' ที่สืบทอดกันมาเป็นความเชื่ออย่างยาวนาน
พวกเขารักษาเกียรติของครอบครัวหนึ่ง ด้วยการทำลายเกียรติและชีวิตผู้หญิงคนนึง
.
หลังจากที่เธอโดนทำร้ายในช่วงกลางปี 2002  มุกห์ตารันเป็นผู้หญิงที่เลือกจะไม่ยอมรับชะตากรรมอันโหดร้ายและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง และเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างเต็มรูปแบบ ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาคดีและตัดสินโทษในประเทศที่คดีข่มขืนเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ เธอถูกทำร้ายร่างกายและคุกคามอย่างรุนแรง รวมถึงต้องเผชิญกับการเมืองที่ยืดระยะเวลาการพิจารณาคดีอย่างไม่จบไม่สิ้น จนมีกลุ่มผู้หญิงที่ทนไม่ได้กับเรื่องราวของเธอและออกมาสนับสนุนผ่านกลุ่มโต๊ะอิหม่าม องค์กรสิทธิมนุษยชนและสื่อมวลชนมากมายเล่นข่าวนี้เพื่อผลักดันให้ปากีสถานมอบบทตัดสินที่ยุติธรรมให้แก่มุกห์ตารันในขณะเดียวกันผู้คนฝั่งที่นิยมความเชื่อแบบชายเป็นใหญ่ของสังคมปากีสถานเองก็ต่อสู้ยิบตาเพื่อให้คดีจบแบบที่ผู้กระทำไม่เจ็บกันมากนัก

หลายคนคงคิดว่าคดีของเธอจะจบสวย แต่เชื่อว่าต้องผิดหวังกันบ้าง

เมื่อความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ข่มขืนมุกห์ตารันรอดไปได้ถึง 8 คนจาก 14 คน

นอกจากนั้น ผู้ชาย 6 คนที่โดนตัดสินว่ามีความผิด ยังได้รับการลดโทษเหลือเพียงการจำคุกตลอดชีวิตแทนโทษประหาร

แต่ก็ใช่ว่าการกระทำของเธอจะเป็นการกระทำที่ไร้กระแสตอบรับด้านบวกซะทีเดียว ก้าวแรกของเธอทำให้ผู้หญิงเริ่มมีพื้นที่และสิ่งต่างๆ ตามมาอีกมากมาย สมกับคำกล่าวของมุกห์ตารัน บีบีในบทสัมภาษณ์ว่า… “If one step I take, if that helps even one woman, I would be very happy to do that.” แปลเป็นไทยได้ว่า ถ้าหนึ่งก้าวของฉัน มันสามารถช่วยเหลือผู้หญิงสักคนได้ ฉันยินดีที่จะทำ
.
ประเทศไทยเองก็ยังคงมีคดีข่มขืนมาให้ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง ลองมาตั้งคำถามกันหน่อยว่าหมดยุคที่ทุกคน รวมถึงสื่อมวลชนในสังคมจะข่มขืนพวกเธอเหล่านั้นซ้ำกับการตั้งคำถามเหล่านี้หรือไม่ 

วันนั้นเธอแต่งตัวอย่างไร.. แต่งตัวโป๊เปลือยมากเกินไปหรือเปล่า กางเกงขาสั้นไปไหม

เพราะวันนั้นเธอไม่รักษาระยะห่างกับพวกเขาเองหรือเปล่า.. เธอไปงานปาร์ตี้กับเขาเองนี่ 

แน่ใจนะว่าไม่เต็มใจ ไม่เต็มใจแล้วทำไมไม่หนี ไม่ขอความช่วยเหลือทันที.. สมยอมหรือเปล่า 

การที่เหยื่อผู้หญิงต้องผ่านเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในคดีข่มขืนนั้น พวกเธอต้องเผชิญกับความเจ็บปวดจากการเล่าภาพเหตุการณ์ การเผชิญหน้ากับผู้ที่ทำร้าย และการก้าวข้ามผ่านความอับอายของตัวเอง คำถามพวกนี้บ่อยครั้งเป็นการสร้างตราบาปและโยนความผิดกลับมาให้เหยื่อที่โดนกระทำ ว่าพวกเธอเข้าข่ายทำตัวเองหรือไม่ 

ซึ่งหนึ่งในการโต้กลับกับความเชื่อที่ว่าผู้หญิงแต่งตัวโป๊ทำให้ตัวเองอยู่ในความเสี่ยงเอง และคำถาม "เธอแต่งตัวโป๊มากเกินไปเองหรือเปล่า" คือนิทรรศการ 'What Were You Wearing' หรือ 'คุณสวมใส่อะไรตอนนั้น' ของศูนย์การป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศของมหาวิทยาลัย Kansas ประเทศสหรัฐอเมริกาได้แสดงตัวอย่างที่ไขข้อกระจ่างในกรณีนี้ ด้วยการนำเสื้อผ้าที่เหยื่อผู้หญิงกลุ่มหนึ่งสวมใส่ในวันที่พวกเธอโดนข่มขืนมาจัดแสดง ให้คนทั่วไปได้ลองวิเคราะห์เองว่า..สุดท้ายแล้วการแต่งกายของผู้หญิงนั้นมีผลกับการที่พวกเธอโดนข่มขืนหรือไม่ เสื้อผ้ามีตั้งแต่เสื้อยืดอยู่บ้าน กางเกงกีฬาขายาว เสื้อแขนกุด กางเกงยีนส์ ชุดเดรส ชุดทำงาน ไปจนถึงชุดบิกินี่ 

ภาพจากนิทรรศการ What Were You Wearing?
ภาพจากนิทรรศการ What Were You Wearing?
ภาพจากนิทรรศการ What Were You Wearing? ผู้หญิงคนหนึ่งโดนข่มขืนถึง 3 ครั้ง และนี่คือชุดทั้งหมดของเธอ

สุดท้ายแล้ว เราและสังคมไทยอาจต้องเริ่มสร้างค่านิยมใหม่ๆ เกี่ยวกับการแสดงออกเรื่องคดีข่มขืน 

ดึงสติตัวเองและคนรอบข้างด้วยตรรกะง่ายๆ 3 ข้อดูก่อน 

หนึ่ง.. ผู้หญิงจะแต่งตัวอย่างไรก็เป็นสิทธิการตัดสินใจของเขา ผู้ชายจะแต่งตัวอย่างไรก็เป็นสิทธิของผู้ชายเช่นกัน 

สอง.. ในความเป็นจริงแล้ว ต่อให้ชายและหญิงจะแต่งตัวโป๊แค่ไหน เราทุกคนก็ไม่มีสิทธิใช้ข้ออ้างนี้ไปข่มขืนใครทั้งนั้น

สาม.. ไม่ใช่แค่สอนให้ผู้หญิงแต่งตัวให้มิดชิด รักษาระยะห่างให้ปลอดภัยจากผู้ชาย เราควรสอนให้ผู้ชายให้เกียรติทุกเพศ ไม่ไปข่มขืนใครเหมือนกัน

.

ติดตามบทความของเพจพื้นที่ให้เล่า ได้บน LINE TODAY ทุกวันเสาร์

.

อ้างอิง

shorturl.at/mort7

shorturl.at/aensW

shorturl.at/gosv4

shorturl.at/djNS6

ความเห็น 14
  • KOH
    ชอบช่วงท้ายบทความ​ ถึงผู้หญิวจะแก้ผ้าเดินก็ไม่มีสิทธิ์​ไปข่มขืนเขา
    20 มิ.ย. 2563 เวลา 06.19 น.
  • โชค
    ทำไมคนประเทศพวกนี้มันไม่มีแม่กันรึไงว่ะ ถึงได้ทำร้ายผู้หญิง กดขี่ซะขนาดนั้น กรรมจริงๆที่ไปเกิดเป็นผู้หญิงในชาติพวกนี้
    20 มิ.ย. 2563 เวลา 04.05 น.
  • ตราบใดที่องค์กรปกป้องสิทธิของสตรีไม่ให้ในความสำคัญกับในปัญหาอย่างนี้อย่างจริงจังแล้ว ปัญหาอย่างนี้ก็คงจะต้องมีให้เห็นกันอยู่อีกนาน.
    20 มิ.ย. 2563 เวลา 05.16 น.
  • Mareya
    😭
    20 มิ.ย. 2563 เวลา 03.33 น.
  • วัน929
    มองเข้าข้างตัวเองหนีจากความเป็นจริงมากเกินไปรึเปล่าครับ ข้อ1.2.3มันใช่หมดแหละครับไม่มีผิด แต่ทุกคนบนโลกมันไม่มีแต่คนดีมีศีลธรรม มันมีสัตว์ร้ายที่ถ้าโดนกระตุ้น มันไม่สนใจว่ากฏหมายจะห้ามยังไงบ้าง ถ้าไม่แคร์กับผลที่จะตามก็ไปหาความแฟร์ที่ศาลได้เลยครับ เพราะมันเป็นสิทธิ์ของคุณที่100%ที่จะทำได้ แต่ผลที่ตามมาก็ต้องรับเองครับไม่มีใครปกป้องคุณได้24ชมนอกจากตัวคุณเองครับ
    20 มิ.ย. 2563 เวลา 03.47 น.
ดูทั้งหมด