ทั่วไป

เปิด “29 ชื่อผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก” เคยโดน อย. ประกาศห้ามขาย กลับมาเกลื่อนออนไลน์

PPTV HD 36
อัพเดต 27 ก.พ. 2562 เวลา 07.25 น. • เผยแพร่ 26 ก.พ. 2562 เวลา 08.47 น.
เครือข่าวผู้บริโภค จี้ รัฐคุม “ผลิตภัณฑ์สุขภาพบนออนไลน์” ทั้งคนขาย ดารา เน็ตไอดอล รีวิว หลังพบ 29 ยี่ห้อหวนกลับมาขายใหม่ทั้งที่ทลายแหล่งผลิตไปแล้ว ซ้ำ โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณผิดกฎหมายอีกกว่า 753 รายการ

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภค เปิดเผยผลการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพบนสื่อออนไลน์ พบว่า มีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเคยประกาศว่าเป็นผลิตภัณฑ์อันตราย และได้เพิกถอนเลขสารบบจำนวน 29 ผลิตภัณฑ์ ยังวางจำหน่ายในสื่อสังคมออนไลน์และร้านค้าออนไลน์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> หยุดเชื่อ!! หน้าใส-หุ่นดี-สวยหล่อใน 7 วัน เช็ก อย.ก่อนตัดสินใจซื้อ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> 8 ดาราดัง เข้าให้ปากคำรีวิว “เมจิกสกิน”ตร.เผย จ่อ เรียกอีกล็อตใหญ่

รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีการอ้างเลข อย. ปลอม ไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่แสดงที่ตั้งผู้ผลิต ผสมสารอันตรายอย่าง ไซบูทรามีน, เฟนฟลูลามีน, บิซาโคดิล และออริสแตท ทั้งที่เคยมีประกาศของ อย.มาแล้ว รวมถึงร้านค้าส่วนใหญ่ไม่แสดงเลขอนุญาตโฆษณาซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย และยังพบว่ามี ดารา เน็ตไอดอล มีส่วนในการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงอีกด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในช่วงที่มีการตรวจสอบระหว่างวันที่ 24-27 ธันวาคม 2561 มี 29 ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ อย. เคยประกาศว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารประกอบอันตรายและยังมีจำหน่ายอยู่ทั้งในเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ และร้านค้าออนไลน์ต่างๆ  ได้แก่ 1. เค-ฮาโก้, 2. เมอคิโอ้, 3. ไวทัล ฮาร์โก, 4. สเตย์ ไฟเบอร์ เอ, 5. ลีน เอฟเอส-ทรี (Lyn FS-Three: Dietary Supplement Product by Pim) 6. ลีน บล้อค เบิร์น เบรค บิวท์ (Lyn Block Burn Break Build: Dietary Supplement Product by Pim), 7. คอนนิจิ-ไซล บีน, 8. ซาซันซ่า, 9. ไรเนอร์ลูกสำรอง, 10. แอล-ฟิน by ลูกสำรอง (L-Fin by LUK-SAM-RONG), 11. แกลโล (Kallow), 12. นูวิตร้า (Nuvitra), 13. คอลวีว่า, 14. เอส-ซีเครท (S-SECERET), 15. BOXY INDELAR, 16. The eight, 17. วี-รัส สูตร V-RAS, 18. วี-รัส สูตร SD, 19. เซเว่น เดย์ เซเว่น ดี, 20. White & Slim L-Glutathione + L- Carnitine สูตรเร่งรัดพิเศษ Berry Mix, 21. กระทิงทอง BULLGOLD By Magic For Men, 22. Reshapes New, 23. L-Carnitine Plus + สูตรเร่งรัด เห็นผลใน 7 วัน, 24. LIPO 9 BURN SLIM, 25. LIPO 8 BURN SLIM HOT, 26. Slim Express ผอมขั้นเทพ 27. บาชิ ควิกสลิมมิ่ง, 28. Ishou FULING RUAN JIAONANG และ 29. Li Da WEIGHT LOSS CAPSULE

“โดยผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ ลีน เอฟเอส-ทรี (Lyn FS-Three: Dietary Supplement Product by Pim) และ ลีน บล้อค เบิร์น เบรค บิวท์ (Lyn Block Burn Break Build: Dietary Supplement Product by Pim) เป็นผลิตภัณฑ์เดียวกับที่เคยถูกทลายแหล่งผลิตไปแล้วเนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> อย.ยันไม่เคยอนุญาตอาหารเสริมที่โฆษณาคุณสมบัติเป็นยาลดน้ำหนัก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> อย.ยัน รีวิวอาหารเสริมต้องขออนุญาตก่อน ชี้โฆษณาโอ้อวดเกินจริงมีความผิด

สำหรับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้าข่ายโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด พบว่ามีกว่า 753 ชิ้น ทั้งในเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ รวมถึงร้านค้าออนไลน์ โดยในเฟซบุ๊กพบ 240 ชิ้น    อินสตาแกรม 348 ชิ้น ไลน์ 80 ชิ้น และร้านค้าออนไลน์ 85 ชิ้น ซึ่งมักระบุข้อความโฆษณาเกินจริงไว้ในผลิตภัณฑ์ เช่น ลดน้ำหนักได้ถาวร, เห็นการเปลี่ยนแปลงใน 7 วัน, ปลอดภัย มีเลข อย., ขาเรียวเล็ก พุงหายใน 3 วิ, สลายไขมัน เป็นต้น

ส่วนกลุ่มเครื่องสำอาง เช่น ขาวไว, ช่วยปรับผิวให้ขาวขึ้น, ใสจนเห็นเส้นเลือด, ช่วยให้ผิวเด้ง ฟู ไม่แก่ หน้าเงา, ดูแลผิวอย่างเห็นผลจริงและปลอดภัยสูงสุด ,สบู่หน้าใส รักษาสิว, ครีมลบฝ้า หน้าเนียนนุ่ม, สิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยสิวรักษาได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างต่างๆ เหล่านี้มักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการขออนุญาตจาก อย. อีกทั้งยังมีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง บางผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นเพียงการจดแจ้งกับ อย. แต่มักจะนำไปโฆษณาว่าผ่านมาตรฐาน อย. แล้ว รวมถึงมีบางผลิตภัณฑ์ที่ใส่เลข อย. ไม่ตรงกับผลิตภัณฑ์ที่โฆษณา

อีกด้านหนึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ยังมีการโฆษณาที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์มีสรรพคุณในทางยา เช่น ใช้ในการลดน้ำหนักหรือเสริมความงาม สร้างการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมทั้ง มีการใช้ข้อความที่โอ้อวดเกินจริง อวดอ้างสรรพคุณให้หลงเชื่อหรือเข้าใจผิด และใช้ศัพท์ที่แสดงผลของผลิตภัณฑ์ เช่น “ช่วยเร่งการเผาผลาญ ปรับระบบ มีการโฆษณาโดยอ้างการรับรองจาก อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม ตามเทศกาล รวมไปถึงการโฆษณาโดยใช้การรีวิวของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์/ลูกค้า ใช้รูปภาพเปรียบเทียบ เช่น น้ำหนัก ความขาว การเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงการนำเอาดาราที่มีชื่อเสียงประกอบกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย และเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ตร.จ่อเอาผิดดารา-เน็ตไอดอล กว่า 50 คน - อย.เร่งตรวจสารต้องห้าม "เมจิก สกิน"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >>  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคระบุ "เมจิก สกิน" ยังมีจำหน่ายออนไลน์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> DSI ทลายโรงงานยาลดความอ้วน พบแบรนด์ดังเพียบ!

จึงข้อเรียกร้อง ให้ผู้ที่อนุญาตให้มีการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวจะต้องรับผิดชอบ ไปจนถึงผู้ค้ารายย่อยที่นำมาขายก็จะต้องมีความผิดด้วย ขณะที่ อย. เองต้องมีกระบวนการจัดการที่รวดเร็วในการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย “สั่งปรับรายวันกับผู้โฆษณาขายสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพออนไลน์ผิดกฎหมาย เพื่อให้ปิดอินสตาแกรมหรือเฟซบุ๊ก” ไปจนถึงการดำเนินคดีกับร้านค้าออนไลน์ที่ละเลยไม่ตรวจสอบ ปล่อยให้มีการขายสินค้าผิดกฎหมายด้วย รวมทั้งตั้งงบสนับสนุนผู้ร้องเรียนเรื่องการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย โดยมีรางวัลนำจับที่ชัดเจน เรื่องละ 300 บาท เพื่อสร้างแนวร่วมเฝ้าระวังในการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพออนไลน์

ขณะที่ในภาพใหญ่ หน่วยงานรัฐ ทั้ง อย. สคบ. รวมถึงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมต้องประสานงานให้เจ้าของเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม เพิ่มช่องทางรายงานการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ

ด้าน ภญ.ชโลม เกตุจินดา อุปนายกสมาคมผู้บริโภคสงขลา เสนอแนะว่า ส่วนของการโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ไม่มีการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า เป็นผู้ขายที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือจดทะเบียนตลาดแบบตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ทำให้ผู้บริโภคยังมีความเสี่ยงจากการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยเฉพาะรายย่อยที่ขายผ่านพื้นที่สาธารณะอย่างเฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรม ซึ่งตรวจสอบยากกว่าผู้ขายในร้านค้าออนไลน์ต่างๆ

ดังนั้น จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์ โดยมีข้อเสนอให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์กำกับดูแลให้มีการแสดงข้อมูลผู้จดทะเบียนขายสินค้าออนไลน์ โดยแสดงเป็นตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้บริโภคทราบ สคบ. บังคับใช้กฎหมายกับผู้ขายสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างเคร่งครัด โดยให้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีการรับจดทะเบียนผู้ขายสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยไม่มีทุนขั้นต่ำ ให้รัฐจัดเก็บภาษีการขายสินค้าออนไลน์ และกรณีร้องเรียนให้ผ่านช่องทางออนไลน์ และให้ อย. ใช้ระบบระงับข้อพิพาททางออนไลน์ เพื่อความสะดวกต่อผู้บริโภค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> "ตร.-อย." ลุยตรวจค้นตลาดใหม่ดอนเมืองอีก 67 จุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> อย. เตรียมเอาผิดผู้ประกอบการ “ลีน” ข้อหาผลิตยาปลอม

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 32
  • โอ๋
    เบรอภาพทำพ่อมึงเหรอ ผิดก็ให้คนได้เห็นภาพสิจะได้ไม่หลงไปซื้อ
    26 ก.พ. 2562 เวลา 10.13 น.
  • Tong_Kung
    ไม่รู้จะเบลอภาพสินค้าที่ไม่ผ่าน อย. ทำไม เอาให้เห็นไปเลยจะได้รู้ อ่านชื่ออย่างเดียวนึกไม่ออกหรอก... ปั้ดโถ่ว
    26 ก.พ. 2562 เวลา 10.10 น.
  • เบลอ เพื่อออะไรคะในเมื่อไม่ให้ซื้อกิน
    26 ก.พ. 2562 เวลา 10.26 น.
  • N.K.Asia consultants
    จนท.งานเยอะไม่ว่าง 555555
    26 ก.พ. 2562 เวลา 10.30 น.
  • ..One Life To Live..
    มีเงินแล้วโง่ ก็ซื้อไปแดก..!!!😠😠
    26 ก.พ. 2562 เวลา 10.09 น.
ดูทั้งหมด