ไอที ธุรกิจ

วิธีปรับเวลานอน เมื่อคุณนอนไม่หลับ นอนดึก ไม่เป็นเวลา ส่งผลต่อการทำงาน

IT24Hrs
เผยแพร่ 23 ก.ค. 2562 เวลา 09.18 น. • iT24Hrs by ปานระพี

วิธีปรับเวลานอน เมื่อคุณนอนไม่หลับ นอนดึก นอนใกล้เข้า แล้วตื่นมาลุยตอนบ่าย นั่นหมายความว่าคุณกำลังนอนไม่เป็นเวลา ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ หรือการทำงานของสมอง ซึ่งส่วนมากเกิดจากนอนไม่หลับ โดยสาเหตุนอนไม่หลับนั้นแบ่งออกเป็น 3 แบบ

วิธีปรับเวลานอน เมื่อคุณนอนไม่หลับ นอนดึก
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1.แบบชั่วคราว

หมายถึง นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นหลายวัน แต่ไม่ถึงหลายสัปดาห์ หลายคนอาจจะเคยประสบกับปัญหานี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความเครียด หรือความกังวลใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น ทะเลาะกับเพื่อนหรือ

2.แบบต่อเนื่อง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คือ อาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นสัปดาห์ๆก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหายหรือดีขึ้นส่วนใหญ่มักเป็นผลจากความเครียด หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดนั้นยังไม่คลี่คลาย เช่น ตกงาน ปัญหาเศรษฐกิจเงินทอง รวมถึงปัญหาครอบครัว

3.แบบเรื้อรัง

เกิดขึ้นต่อเนื่องเกือบทุกคืน ติดต่อกันหลายเดือน หรือแม้กระทั่งเป็นปีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ก็จะเริ่มซับซ้อนมากขึ้น ไม่ตรงไปตรงมาเพียงแค่ ว่าเครียดแล้วนอนไม่หลับ หลายครั้งที่ความเครียดได้ เบาบางหรือหายไปหมดแล้ว แต่อาการนอนไม่หลับ กลับยังดำเนินอยู่ต่อ บางคนใจจดใจจ่อตลอดเวลา ว่าคืนนี้จะหลับหรือไม่หลับ ถ้าไม่หลับแล้วพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร จะทำงานได้อย่างแจ่มใสหรือไม่ ทำให้เกิดความรู้สึกกลัวการนอน ไม่กล้าที่จะนอน เลยทำให้แทนที่เวลานอนจะเป็นเวลาที่ให้ความสุข กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความทุกข์และทรมาน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
วิธีปรับเวลานอน เมื่อคุณนอนไม่หลับ นอนดึก

อยากปรับพฤติกรรมการนอน ทำอย่างไร?

– ไม่ควรใช้เวลาอยู่บนเตียงนานๆ โดยที่ไม่หลับ ไม่ควรนอนค้างอยู่บนเตียงทั้งที่ไม่หลับ ด้วยความคิดที่ว่าอยากจะชดเชยการนอนให้มากที่สุด เพราะการกระทำลักษณะนี้จะยิ่งทำให้คุณภาพการนอนยิ่งแย่ลง และเกิดความไม่ต่อเนื่องของการหลับได้มากขึ้น

– ถ้าจะมีการงีบหลับในช่วงบ่าย อาจจัดเวลางีบหลับให้เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยไม่ควรเกิน 1-2 ชม. และไม่ควรงีบหลับหลัง 15.00 นาฬิกา เพราะอาจมีผลต่อการนอนหลับในคืนนั้น.

– หาเวลาออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขภาพร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในผู้สูงอายุนั้นมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับที่ดีขึ้น

– ควรตื่นนอนในตอนเช้าให้เป็นเวลาทุกวันสม่ำเสมอ

ซึ่งการปรับตัวการนอนหลับให้ได้นอนแล้วตื่นตามเวลาที่กำหนดนี้ ต้องใช้เวลาพอสมควรถึงจะเห็นผล

ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

ดูข่าวต้นฉบับ