“ธนาคารแห่งประเทศไทย” ไขข้อสงสัย “ค่าเงินบาทแข็ง” กับ “ค่าเงินบาทอ่อน” ใครได้ใครเสีย?
เฟซบุ๊ก “ธนาคารแห่งประเทศไทย – Bank of Thailand” ไขข้อสงสัย ค่าเงินบาทแข็ง VS ค่าเงินบาทอ่อน ใครได้ใครเสีย? โดยระบุว่า ค่าเงินบาทหรืออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะตลาด เช่น ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็ง เราอาจใช้เงินบาทเพียง 32 บาท เพื่อแลกเงิน 1 ดอลลาร์แต่ในบางช่วงเวลาที่ค่าเงินบาทอ่อน เราต้องใช้เงินบาทเพิ่มเป็น 34 บาท เพื่อแลกเงิน 1 ดอลลาร์
การแข็งค่าหรืออ่อนค่าของเงินบาทจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ส่งออก ผู้นำเข้า นักลงทุน และผู้ที่กู้เงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งผู้ที่ได้และเสียประโยชน์เสมอ
การดูแลค่าเงินบาทจึงต้องพิจารณาผลกระทบให้รอบด้าน และเป็นไปไม่ได้เลยที่แบงก์ชาติจะทำการฝืนตลาดเพื่อทำให้ค่าเงินบาทอ่อนหรือแข็งค่า
การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน จะเป็นไปตามกลไกตลาด ทั้งนี้ แบงก์ชาติจะดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ขอบคุณเฟซบุ๊ก ธนาคารแห่งประเทศไทย – Bank of Thailand
Tomvorapot เห็นด้วยอย่างยิ่ง เราควรมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยดีกว่า ยต. หนี้ภาคครัวเรือนสูงมาก แม้จีดีพี ดุลการค้า และทุนสำรองระหว่างประเทศ จะโตก็จริงใน 3-4 ปีที่ผ่านมา เราควรจะจัดงบวิจัยและพัฒนาประเทศไปที่ 3.5% ของจีดีพี เพื่อช่วยลดต้นทุนในการแข่งขันทุกภาคส่วน นี่คือการ พาทุกคนเดินไปข้างหน้าอย่างแท้จริง และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การปรับอัตราดอกเบี้ย หรือแทรกแซงค่าเงิน เป็นการแก้ไขปัญหาแบบวัวพันหลัก บางภาคส่วนได้ บางภาคเสีย สรุปแล้วเศรษฐกิจภาพรวมอยู่ที่เดิม เพราะเป็นzero-sum game ไม่ใช่ win-win.
02 ก.ค. 2562 เวลา 03.17 น.
ดูทั้งหมด