ไลฟ์สไตล์

พิษจากคางคก อันตรายแค่ไหนและการรักษาอาการ

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์
อัพเดต 10 พ.ย. 2565 เวลา 09.31 น. • เผยแพร่ 10 พ.ย. 2565 เวลา 09.18 น.

จากข่าวที่กรมอุทยานแห่งชาติฯเตือน อย่าเลียคางคก เพื่อให้เมาเคลิ้ม ซึ่งพิษของคางคกนั้นอันตรายมากๆ วันนี้ทีมข่าวไทยนิวส์จะมาบอกถึงอันตรายจากพิษคางคกกัน

คางคกมีพิษที่อันตรายหรือไม่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คางคกเป็นสัตว์ที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีพิษ ที่ผิวหนังเป็นปุ่มตะปุ่มตะป่ำตลอดทั้งตัว โดยมีต่อมพิษอยู่ที่เหนือตา เรียกว่า ต่อมพาโรติค เป็นที่เก็บและขับพิษออกมา เรียกว่า ยางคางคก มีลักษณะเป็นเมือกสีขาวคล้ายน้ำนม โดยส่วนประกอบของสารพิษ คือ สารบูโฟท็อกซิน มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจบีบตัว และในส่วนอื่น ๆ ของคางคกยังมีพิษอีกทั้งผิวหนัง, เลือด, เครื่องใน และไข่ หากนำไปกินแล้วกรรมวิธีการปรุงไม่ดี จะทำให้ ผู้กินได้รับพิษได้ ทั้งนี้ผู้รับประทานเนื้อคางคกที่มีพิษจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หายใจหอบ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหากยางคางคกถูกตาจะทำให้เยื่อบุตาและแก้วตาอักเสบได้ ตาพร่ามัว จนถึงขั้นตาบอดได้

อาการหากถูกพิษคางคก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1.น้ำลายมาก

2.คลื่นใส้ อาเจียน

3.ปวดท้อง ท้องเสีย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

4.หากผิวหนังหรือดวงตาสัมผัสยางคางคกจะทำให้ระคายเคืองได้

5.หากอาการรุนแรงจะมีอาการทางระบบประสาท เช่น สับสน เพ้อ ไปจนถึงชัก

6.หรือหมดสติ หรืออาการทางระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้

การรักษาหากถูกพิษคางคก

รักษาตามหลักการรักษาผู้ป่วยที่รับสารพิษ ควบคู่กับการประกับประคองอาการ และติดตามอาการอย่างเหมาะสม

ดูข่าวต้นฉบับ