คอลัมน์ : คุยฟุ้งเรื่องการเงิน ผู้เขียน : Actuarial Business Solutions [ABS]
Reinvestment Risk หรือความเสี่ยงจากการลงทุนต่อ
ความเสี่ยงตัวนี้เป็นความเสี่ยงที่เห็นได้ชัดกันง่าย ๆ แต่บางคนนึกกันไม่ถึง ลองคิดดูว่าถ้าเราลงทุนใน Fixed Income เช่น พันธบัตรแล้ว วันครบกำหนดสัญญา (Maturity Date) จะเป็นวันที่เราจะได้รับเงินต้น (Principal) คืนมา จากนั้นเราก็จะลงทุนใหม่อีกรอบ
ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Reinvestment ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนใหม่อีกรอบนี่อาจจะได้น้อยลงกว่าเดิม เราจะเรียกความเสี่ยงนั้นว่า Reinvestment Risk
ลองสมมุติว่ามีพันธบัตรให้เลือกอยู่ 2 ตัว ตัวแรกมีระยะเวลาแค่ 1 ปี (ดอกเบี้ย 5%) ส่วนตัวที่ 2 มีระยะเวลา 10 ปี (ดอกเบี้ย 5%) ถ้าเราต้องการลงทุน 10 ปี ให้ได้ผลตอบแทน 5% ต่อปี ก็จะมี Investment Strategy อยู่ 2 แบบ ดังนี้
– Investment Strategy I : ลงทุนในพันธบัตรตัวแรก แล้วก็วางแผนที่จะ Roll Over (ซื้อทีละปี ไปเรื่อย ๆ) จนครบสิบปี
– Investment Strategy II : ลงทุนในพันธบัตรตัวที่สอง แล้วล็อกอัตราผลตอบแทนไป 10 ปี
เดาออกใช่หรือไม่ครับว่า Investment Strategy แบบแรกจะมี Reinvestment Risk สูงกว่า (ซึ่งอย่าลืมนะครับว่า Risk นั้นคือสิ่งที่ผันผวนออกจากการประมาณการของเราไว้ ไม่ว่าจะมากกว่าหรือน้อยกว่าสิ่งที่เราคาดหวังไว้ เราก็เรียกว่าเป็น Risk นะครับ)
โดยในทางกลับกัน ถ้ายังจำได้อยู่ว่า Interest Rate Risk จะมีมากกว่าใน Investment Strategy แบบที่สอง (ทั้งนี้ทั้งนั้น เวลาดู Investment Strategy จะต้องดู Risk ทุก ๆ ตัวพร้อมกัน การดูแค่ตัวใดตัวหนึ่งจะทำให้บิดเบือนความเป็นจริง ยังเป็นผลให้ตัดสินใจผิดได้)
สินทรัพย์ที่มีระยะการลงทุน (Asset Duration) สั้นกว่าระยะเวลาของการชำระหนี้สิน (Liability Duration) จำต้อง Roll Over (รับเงินต้นมา แล้วก็ลงทุนใหม่ไปเรื่อย ๆ) แล้วถ้าเกิดตอนที่ได้รับเงินต้นคืนมานั้น อัตราดอกเบี้ยเกิดตกลงมา เมื่อเอาไปลงทุนใหม่ก็จะทำให้ได้ผลตอบแทนน้อยลงกว่าเดิม
พันธบัตรที่จ่ายคูปอง (Coupon) บ่อย ๆ หรือมาก ๆ ก็มี Reinvestment Risk สูงกว่า พันธบัตรที่ไม่จ่ายคูปอง (Coupon) เนื่องจากตอนที่ได้รับคูปองมาแล้ว ถ้า Reinvestment ได้อัตราผลตอบแทนไม่เท่ากับ Yield To Maturity (IRR ของกระแสเงินสดจากพันธบัตร) ก็คงเสียใจไม่น้อย (แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้ตัว เอาคูปองไปฝากแบงก์ไว้เฉย ๆ) ซึ่งเมื่อกล่าวถึง IRR แล้ว ทราบหรือไม่ว่าในการคำนวณ IRR นั้นจะถือว่า Reinvestment Return เท่ากับตัว IRR เอง
กลับมาที่บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันชีวิตส่วนใหญ่จะรับฝาก เงินคืน (Coupon) กับเงินปันผล (Dividend) จากกรมธรรม์ได้ ซึ่งนิยมระบุคำว่า “การันตี” กันไว้ในสัญญา (แปลว่า ผู้ถือกรมธรรม์มี Reinvestment Risk น้อยลง)
แล้ววิธีการคำนวณอัตราผลตอบแทนของกรมธรรม์จากลูกค้าก็เช่นกัน ถ้าใช้สูตรหา IRR เลย จะแปลว่าเรากำลังสมมุติให้ ลูกค้าสามารถ Reinvestment กับเงินก้อนนั้นได้เท่ากับ IRR แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ลูกค้าจะเอาเงินไปฝากธนาคารหรือไม่ก็เอาไปใช้เลยเสียมากกว่า ซึ่งจะทำให้ IRR ที่หามาได้ไม่ตรงกับความเป็นจริง
เมื่อรู้จัก Investment Risk และ Reinvestment Risk กันแล้ว เราก็จะมาดูความเสี่ยงจากงบการเงินของบริษัทได้ และก็ทำ Risk Management ชั้นต้นได้ (แล้วถ้ามีการคาดการณ์เก็งกำไรจากความเสี่ยงที่ถืออยู่ บางคนจะเรียกว่า Earning Management แทน) ยกตัวอย่างเช่น
บริษัทให้ความสนใจกับ Interest Rate Risk มากกว่า Reinvestment Risk โดยถ้าถึงเวลาที่ต้องชำระหนี้สินคืน บริษัทต้องขายสินทรัพย์ที่ยังไม่ครบกำหนดสัญญาไป แล้วถ้าช่วงเวลานั้นดอกเบี้ยในตลาดเกิดสูงขึ้น ก็จะทำให้มูลค่าของสินทรัพย์มีค่าลดลง และไม่พอที่จะชำระหนี้สินคืนได้ และก็เช่นเดียวกัน เมื่อ Interest Rate สูงขึ้นมา มันจะทำให้ค่า “การลดลงของสินทรัพย์” ของบริษัทสูงขึ้นกว่า ค่า “การลดลงของหนี้สิน” ของบริษัท
ซึ่งถ้าเราใช้ Investment Strategy นี้ ก็ภาวนาขอให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดไม่สูงขึ้นไปด้วย