ทั่วไป

ราชทัณฑ์ชี้แจงประกาศยกเว้นภาษีผู้ประกอบการที่รับผู้พ้นโทษเข้าทำงาน

TODAY
อัพเดต 12 ส.ค. 2563 เวลา 23.43 น. • เผยแพร่ 12 ส.ค. 2563 เวลา 08.02 น. • workpointTODAY

กรมราชทัณฑ์ แจ้งพ.ร.ก.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 704) พ.ศ.2563 (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุน การจ้างงานผู้พ้นโทษเข้าทำงาน) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 โดยการยกเว้นภาษีดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนให้นายจ้างที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เกิดการจ้างงาน ผู้พ้นโทษเข้าทำงาน โดยสามารถนำรายจ่ายที่เป็นค่าจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ มายกเว้นภาษีเงินได้ เป็นจำนวน ร้อยละ 50 ของรายจ่าย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ (ภาพจาก กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม)

สาระสำคัญคือ กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับผู้พ้นโทษซึ่งได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัวเข้าทำงาน สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษเฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน15,000 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งการยกเว้นภาษีในครั้งนี้เฉพาะรอบระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 นี้เท่านั้น

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 4 ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ตั้งแต่เดือนที่รับผู้พ้นโทษเข้าทำงานจนถึงเดือนสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับนายจ้างที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้จะต้องเป็นบริษัทหรือ นิติบุคคลเท่านั้น และต้องมีการจ้างงานผู้พ้นโทษเข้าทำงาน โดยผู้พ้นโทษจะต้องเป็นนักโทษเด็ดขาดที่พ้นโทษครบกำหนดตามหมายศาล หรือเป็นนักโทษที่มีหนังสือสำคัญพักการลงโทษกรณีปกติ หนังสือสำคัญพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ หรือหนังสือสำคัญการปล่อยตัวลดวันต้องโทษจำคุก ซึ่งจะต้องเป็นผู้พ้นโทษที่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีเท่านั้น

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเกิดการจ้างงานผู้พ้นโทษ อันจะก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้แก่ผู้พ้นโทษ ซึ่งจะช่วยลดการกระทำผิดซ้ำ สอดคล้องกับภารกิจกรมราชทัณฑ์ ที่นอกจากการควบคุมผู้ต้องขังแล้ว ยังมีหน้าที่ในการแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง ให้เป็นผู้ที่มีทักษะ มีความสามารถ เพื่อให้ผู้พ้นโทษได้มีงานมีรายได้ สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ภายหลังพ้นโทษ ไม่หันมาก่อความผิดซ้ำ โดยมีการติดตามผลการมีงานทำของผู้พ้นโทษ ผ่านระบบศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ (ศูนย์ CARE) ของเรือนจำ/ทัณฑสถานทั่วประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่กรมราชทัณฑ์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการคืนคนดีสู่สังคม

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • Touch108
    ระบบราชการควรรับเป็นตัวอย่างครับ
    12 ส.ค. 2563 เวลา 09.04 น.
  • กล้าให้รับราชการไหมละ ออกกฎบ้าบอ ใครเขาจะกล้ารับ วันดีคืนดีโดนเชือดคอทั้งบ้านจะทำไง หาที่เหมาะหรืองานที่เหมาะให้เขาทำ คนบางประเภทไม่เหมาะที่จะอยุ่กับสังคม อย่าผลักภาระให้ชาวบ้าน คิดดิคิดใหม่
    12 ส.ค. 2563 เวลา 09.15 น.
  • Rojer
    สร้างคุกเพิ่มได้แล้ว คนผิดมีเยอะแยะ ได้ดิบได้ดีกันเป็นแถว
    12 ส.ค. 2563 เวลา 09.46 น.
  • แต่ละปี น่าจะออกประกาศนักโทษดีเด่น ชั้นเยี่ยม ชั้นยอด มีการมอบโล่รางวัลเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจน่าจะดีมากๆเลย แล้วประกาศให้สาธารณชนรับรู้กันทั้งประเทศ "สมคิด ฆาตรกรฆ่าผู้หญิงมาต่อเนื่อง "เคยได้ชั้นยอดเยี่ยมกระเทียมดองมาแล้ว น่าจะไม่พลาดรางวัลนี้เป็นแน่แท้
    12 ส.ค. 2563 เวลา 09.36 น.
  • กระทิงแดงเลย โกเหลียว ผู้มากบารมีที่สามารถรับคนพ้นคุกมาทำในโรงงาน
    12 ส.ค. 2563 เวลา 10.05 น.
ดูทั้งหมด