ไลฟ์สไตล์

ไมโครพลาสติก: เรื่องจริงใกล้ปากท้อง

WWF-Thailand
เผยแพร่ 29 เม.ย. 2562 เวลา 17.01 น.

ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับเรื่องขยะพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไมโครพลาสติก หรือพลาสติกชิ้นเล็กๆที่มีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรเล็กลงไปจนถึง 11,100 นาโนเมตร และเม็ดพลาสติกเหล่านี้เองที่กำลังปนเปื้อนอยู่ทั่วท้องทะเล หรือกระทั่งสะสมอยู่ในร่างกายของสัตว์น้ำ นั่นหมายความว่า ไมโครพลาสติกกำลังปะปนอยู่ในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งมนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศนี้ด้วย.และอันที่จริงแล้ว บรรดาอาหารทะเลที่มนุษย์บริโภคนั้นไม่ใช่แหล่งสะสมเพียงแหล่งเดียวของไมโครพลาสติก เพราะวันนี้นักวิจัยพบว่าแหล่งอาหารอื่นๆที่ไม่ได้มาจากทะเลเองก็มีอัตราการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกที่น่าตกใจไม่แพ้กัน.การศึกษาพบว่า หอยแมลงภู่จำนวน 1 เสริฟมีไมโครพลาสติกปนเปื้อนประมาณ 90 หน่วย และแฟนคลับที่รับประทานหอยแมลงภู่เป็นประจำ อาจรับประทานพลาสติกปนเปื้อนมากถึง 11,000 หน่วยต่อปีจากแค่เมนูเดียว และเป็นเรื่องยากที่จะมองหาตัวเลขไมโครพลาสติกที่พบในปลา เพราะไมโครพลาสติกส่วนมากฝังตัวอยู่ในเครื่องในของปลาที่มักจะถูกนำออกก่อนบริโภค แต่ก็มีผลสำรวจพบไมโครพลาสติกในตับปลาค่อนข้างสูงกว่าในอวัยวะอื่นๆ.มีการตรวจพบไมโครพลาสติกในปลากระป๋องด้วยเช่นกัน แม้จะเป็นปริมาณไม่มากนัก แต่ก็ถือว่าเสี่ยงในการบริโภคของมนุษย์ ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในปลากระป๋องอาจเกิดจากกระบวนการบรรจุ หรือเกิดจากการที่อาหารสัมผัสกับอากาศ.ผลิตภัณฑ์จากทะเลอย่างเช่น เกลือทะเลนั้น ใน 1 กิโลกรัมอาจพบไมโครพลาสติกได้มากถึง 600 หน่วย ถ้าหากเรารับประทานเกลือทะเลเป็นประจำวันละ 5 กรัม เท่ากับเราบริโภคไมโครพลาสติกไป 3 หน่วยต่อวัน.นอกจากอาหารและผลิตภัณฑ์จากทะเลแล้ว นักวิจัยยังระบุอีกว่า สัตว์บกเองก็กินไมโครพลาสติกเข้าไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์เช่นเดียวกับปลา แม้เราจะไม่ได้บริโภคเครื่องในสัตว์กันเป็นกิจจะลักษณะ แต่ก็ปรากฎว่าในเนื้อสัตว์อย่างเช่น ไก่ในเม็กซิโก พบอัตราการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกมากถึง 10 หน่วย และยังมีการพบไมโครพลาสติกในน้ำผึ้ง รวมถึงเบียร์ด้วยเช่นกัน 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

WWF และองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาคเอกชนที่อยู่ในนิเวศวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพลาสติกมีความกังวลและพยายามมองหาวิธีการลดทอนความรุนแรงของปัญหาพลาสติก และเราเชื่่อว่าทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะก้าวเข้ามาทำงานร่วมกันได้เพื่ออนาคตของโลก

ความเห็น 2
  • Wa M`Prapassaro
    คนช่วยก็ช่วยกันสุดชีวิต แต่คนชั่วที่มักง่ายมันก็ทิ้งท่าเดียวไม่สนอะไรเลย แล้วคนที่ทิ้งก็เยอะกว่าคนที่เก็บตลอด เวรกรรมของมวลมนุษย์ชาติ
    29 เม.ย. 2562 เวลา 06.40 น.
  • Kenny2
    เดี๋ยวก็ชิน กินๆไปเหอะ...pm2.5 ตายเร็วกว่า_สรุปว่า สำลักมลพิษตาย ดิน น้ำ อากาศ ฉิบหายหมดแล้ว
    29 เม.ย. 2562 เวลา 17.39 น.
ดูทั้งหมด