ทั่วไป

เลขาปปช.ชี้ชัดปมนาฬิกายึดกม.เป็นทรัพย์สินตนเองไม่ใช่ของคนอื่น ยกกรณีอดีตขรก.ระดับสูงยืมรถเพื่อนไม่แจ้งบัญชี

สยามรัฐ
อัพเดต 05 มิ.ย. 2563 เวลา 08.35 น. • เผยแพร่ 05 มิ.ย. 2563 เวลา 08.35 น. • สยามรัฐออนไลน์

เลขาปปช.ชี้ชัดปมนาฬิกายึดกม.เป็นทรัพย์สินตนเองไม่ใช่ของคนอื่น ยกกรณีอดีตขรก.ระดับสูงยืมรถเพื่อนไม่แจ้งบัญชี
ปัดนำเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาเป็นบรรทัดฐาน

เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ที่รัฐสภา นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีนาฬิกาของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯเป็นการยืมใช้คงรูป จึงไม่ต้องแจ้งในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า การให้แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความโปร่งใสป้องกันการทุจริต และจะเป็นเครื่องมือหรือมาตรการเสริมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพราะคนที่จะกระทำการทุจริตนั้นต้องการทรัพย์สินเงินทองเป็นหลัก ซึ่งในบทบัญญัติของกฎหมายของป.ป.ช.ในการตรวจสอบทรัพย์สินนั้นป.ป.ช.ตรวจสอบความถูกต้องและการมีอยู่จริงของทรัพย์สินเพื่อพิจารณาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแสดงความโปร่งใสหรือไม่ ปัจจุบันกฎหายใหม่ได้มีการเพิ่มองค์ประกอบความผิดว่าไม่ใช่แค่การยื่นเท็จหรือปกปิดเท่านั้น แต่จะต้องมีเจตนาที่ไม่แสดงที่มาของรายการทรัพย์สิน และจะตรวจสอบว่าระห่างดำรงตำแหน่งมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ การดำเนินการของป.ป.ช.ได้มีการกำหนดแบบฟอร์มให้ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ซึ่งมีรายการทรัพย์สิน 9 ประเภทและรายการหนี้สิน 4 ประเภท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

"เมื่อมีปัญหาขึ้นมาป.ป.ช.จะเข้าไปตรวจสอบความถูกต้อง และการมีอยู่จริง โดยจะพิจารณาทั้งข้อเท็จจริง พยานหลักฐานและข้อกฎหมาย ดังนั้น การพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งรายละเอียดข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องอาจจะไม่เหมือนกัน เช่น เรื่องที่ผ่านมาในกรณีอดีตข้าราชการระดับสูงรายหนึ่งไปยืมรถของเพื่อนมาและไม่แจ้งต่อป.ป.ช. ป.ป.ช.เข้าไปตรวจสอบก็พบว่าไม่ใช่เรื่องยืม แต่เป็นรถที่เขาได้มาเองและปกปิดไม่แจ้ง หรือ บางกรณีก็ตรวจสอบพยานหลักฐานและรับฟังยุติว่าเป็นเรื่องยืมกันจริงๆ เราก็มาดูข้อกฎหมายว่าการแสดงรายการทรัพย์สินหนี้สินให้แสดงรายการทรัพย์สินที่เป็นของตนเองไม่ใช่ทรัพย์สินของคนอื่น ข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องก็เป็นรายละเอียดของแต่ละเรื่อง ไม่ใช่ว่าเราตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปแล้วจะเป็นบรรทัดฐานในเรื่องอื่นๆ" นายวรวิทย์ กล่าว และ ว่า สำหรับข้อห่วงใยจากผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆนั้นป.ป.ช.จะรับไว้เพื่อปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่อไป การทำงานของป.ป.ช.เป็นองค์กรบังคับใช้กฎหมาย การทำงานจึงต้องยึดหลักกฎหมายและพยานหลักฐาน

เมื่อถามว่า กรณีนี้เป็นช่องโหว่หรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า "ยังไม่ถึงกับช่องโหว่ เพราะทั้งหมดต้องบอกว่าวัตถุประสงค์ของการยื่นรายการทรัพย์สินและหนี้สินต้องการสร้างความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต เราก็ไปตรวจสอบดูเป็นเรื่องๆไป"

เมื่อถามว่า กรณีนี้จะกลายเป็นบรรทัดฐานให้คนอื่นมาอ้างเช่นกันเพื่อที่จะไม่แจ้งต่อป.ป.ช. นายวรวิทย์ กล่าวว่า "ไม่ ไม่ ไม่ห่วงครับ เพราะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป"

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 40
  • BOM
    ไม่นำเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาเป็นบรรทัดฐานเพราะเรื่องใหนได้ประโยชน์เราใช้เรื่องนั้น แต่ถ้าไม่ใช่พวก เราขุดถอนรากถอนโคน 555
    05 มิ.ย. 2563 เวลา 09.39 น.
  • Auddy
    เพราะมี คนชั่วแบบนี้ทำหน้าที่ใน ปปช. คนไทย/ประเทศไทยถึงได้ลำบากขนาดนี้
    05 มิ.ย. 2563 เวลา 09.23 น.
  • C.CharTree
    สิ้นศรัทธา ปปช. เสียแล้ว...
    05 มิ.ย. 2563 เวลา 09.40 น.
  • killpop
    ลาออกไปเลียให้เต็มที่ดีกว่าครับ ยุบทิ้งซะเหอะ ปปช.
    05 มิ.ย. 2563 เวลา 10.07 น.
  • เอานาฬิกาไปคืนเขาแล้วยัง ยืมมาไมคืนเป็นครอบครองปรปักษ์
    05 มิ.ย. 2563 เวลา 09.28 น.
ดูทั้งหมด