ไลฟ์สไตล์

การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน และที่มาของชื่อพายุมังคุด

MThai.com - Teen
เผยแพร่ 18 ก.ย 2561 เวลา 04.13 น.
เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ ทำไม ต้องชื่อว่า “พายุไต้ฝุ่นมังคุด” ชื่อเป็นผลไม้ของไทยเราซะด้วย ถ้าอยากรู้ไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลย

เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจในช่วงนี้ เกี่ยวกับข่าวพายุไต้ฝุ่นมังคุดพัดถล่มฮ่องกง เมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา (16 ก.ย. 2561) และเป็นพายุหมุนเขตร้อนภูมิภาคแปซิฟิกที่มีความรุนแรงที่สุดของปี 2018 นี้เลยก็ว่าได้ สร้างความเสียหายให้กับหลายประเทศที่พายุพาดผ่าน โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์, เกาะฮ่องกง และประเทศจีนตอนล่าง

การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

และที่มาของชื่อพายุมังคุด

แต่ทำไม ต้องชื่อว่า “พายุมังคุด” หรือ “พายุไต้ฝุ่นมังคุด” (MANGKHUT TYPHOON) ชื่อเป็นผลไม้ของไทยเราซะด้วย เชื่อว่าหลายคนจะต้องสงสัยและอยากรู้เหตุผล ถ้าพร้อมแล้วเราไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลย

ที่มาชื่อ พายุไต้ฝุ่นมังคุด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับชื่อ “พายุไต้ฝุ่นมังคุด” เป็นไปตามกฎการตั้งชื่อพายุหมุนในเขตร้อน จาก 14 สมาชิกประเทศ (WMO Typhoon Committee) ประกอบด้วย กัมพูชา, จีน, เกาหลีเหนือ, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, ลาว, มาเก๊า, มาเลเซีย, ไมโครนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, ไทย, สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

เกณฑ์การตั้งชื่อ

1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 น็อต หรือ 63 กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุด ใกล้จุดศูนย์กลาง ตามที่กำหนด ในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า “Damrey (ดอมเรย์)”

3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมา ในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า “Longwang (หลงหวาง)”

4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ “Trami (ทรามี)” จะใช้ชื่อ “Kongrey (กองเรย์)”

5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ “Saola (เซลลา)” จะใช้ชื่อ “Damrey (ดอมเรย์)”

  1. หากพายุลูกใดมีความรุนแรงและสร้างความหายนะมากเป็นพิเศษก็ให้ปลดชื่อพายุลูกนั้นไป แล้วตั้งชื่อใหม่เข้าไปในรายการชื่อแทน

ชื่อพายุหมุนในเขตร้อนสากลจากประเทศไทย

โดยทุกประเทศจะส่งรายชื่อพายุอย่างเป็นทางการ โดยจะหมุนเวียนใช้ตั้งชื่อพายุเรียงตามลำดับอักษรประเทศในภาษาอังกฤษ เช่น พายุไต้ฝุ่นเชบี ที่พัดถล่มญี่ปุ่นนั้น เป็นชื่อจากเกาหลีใต้ ตามมาด้วย พายุไต้ฝุ่นมังคุด เป็นตัวแทนชื่อจากไทย

สำหรับชื่อพายุหมุนในเขตร้อนจากประเทศไทย ที่ได้เลือกใช้เป็นชื่อสากล มังคุด, บัวลอย, อัสนี, ชบา และ ขนุน

ชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดียเหนือ

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นสมาชิกร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย โดยภูมิภาคนี้มีสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ, อินเดีย, มัลดีฟส์, เมียนมา, โอมาน, ปากีสถาน, ศรีลังกา และไทย โดยกรมดังกล่าวจะเป็นผู้ตัดสิน เมื่อพายุไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด เฉลี่ยใน 3 นาที อย่างน้อย 34 นอต (63 กม./ชม. หรือ 39 ไมล์/ชม.)

ประเทศทั้งหมดจะส่งชื่อ 8 ชื่อ หมุนเวียนตามลำดับอักษรประเทศในภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน โดยชื่อจากประเทศไทยส่วนใหญ่ได้แก่ มุกดา, ไข่มุก, เพชร, ไพลิน, โกเมน, โมรา, เพทาย และ อำพัน

ที่มาข้อมูลและภาพจาก wikipedia.org

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • อยากให้มีพายุแตงโมนะ อิอิ
    26 ก.ย 2561 เวลา 09.30 น.
  • pikmi
    ชื่อพายุของไทยน่ารักดี
    18 ก.ย 2561 เวลา 15.40 น.
  • punsang
    พายุรัก แรงหึง น่ากลัวกว่า ครับ 55555
    18 ก.ย 2561 เวลา 09.17 น.
  • Dea.r 🌴
    มีอัสนี แล้วทำไมไม่มีวสันต์...
    18 ก.ย 2561 เวลา 06.37 น.
  • Ouay
    เดี๋ยวเจอบักทุเรียนกับบักเขียบ หนาวกว่านี้อีก
    18 ก.ย 2561 เวลา 05.45 น.
ดูทั้งหมด