ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ประกันภัยพืชผล ช่วยรัฐลดงบเยียวยา-เกษตรกรได้คุ้มเสีย

Thai PBS
อัพเดต 20 ส.ค. 2561 เวลา 00.10 น. • เผยแพร่ 20 ส.ค. 2561 เวลา 03.10 น. • Thai PBS

แม้การพยากรณ์อากาศจะมีความแม่นยำมากขึ้นและถูกเผยแพร่ในวงกว้าง แต่สภาพอากาศที่แปรปรวนรุนแรงขึ้นทุกวัน ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติ กลายเป็นความเสี่ยงของคนทั้งโลก ไม่เว้นแม้แต่ ภาคการเกษตร “ระบบการประกันภัยพืชผล” จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเกษตรกรลดผลกระทบความสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

แต่ระบบประกันภัยพืชผลทางการเกษตรอาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกรไทย แม้ระบบนี้กรมการประกันภัย หรือ คปภ. ในปัจจุบัน จะเริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี 2513 และรับประกัน พืชฝ้าย เป็นชนิดแรก ใน ปี 2521 จากนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ได้ดำเนินการเรื่อยมา แต่ก็ยังไม่เป็นรูปธรรม และไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องใหม่ ที่ต้องเข้าใจก่อนทำแล้ว เกษตรกรอาจต้องเสียเงินค่าเบี้ยประกันเพิ่มเติมด้วย ขณะที่รัฐก็มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยายามเมื่อภัยพิบัติมาตลอด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รัฐใช้กลไกประกันภัยจริงจัง เริ่มที่ “ข้าว”

ปี 2559 รัฐเดินหน้าระบบประกันภัยพืชผลอย่างจริงจัง ใช้กับพืชหลักของประเทศ คือ โครงการประกันภัยนาข้าว แต่ยังต้องใช้การอุดหนุนมาเป็นตัวจูงใจ
โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบอนุมัติกรอบวงเงินสำหรับช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2559 วงเงิน 2,071 ล้านบาท รัฐบาลและ ธ.ก.ส. รับภาระจ่ายเบี้ยประกันให้ทั้งหมด (จากเดิมที่ให้เกษตรกรจ่ายเบี้ยประกันส่วนหนึ่ง ปีล่าสุด 2561 ค่าเบี้ยประกันภัย 90 บาท/ไร่ รัฐจ่าย 54 บาทต่อไร่ ธ.ก.ส. 36 บาทต่อไร่ )
ให้คุ้มครองความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งหมด 6 ภัย ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บและไฟไหม้ วงเงินความคุ้มครอง 1,260 บาท/ไร่

ส่วนกรณีเกิดความเสียหายจากภัยศัตรูพืชและโรคระบาด วงเงินความคุ้มครอง 630 บาท/ไร่ คาดว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรได้ราว 1ล้าน5แสนราย ครอบคลุมพื้นที่ 30 ล้านไร่ จากนาข้าวทั้งประเทศ 62 ล้านไร่ แต่เกษตรกรก็เข้าโครงการน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงยังทำควบคู่ไปกับการช่วยเหลือเยียวยา ตามเกณฑ์ของกระทรวงเกษตรฯ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มั่นใจระบบประกันภัยพืชผลลดภาระให้เกษตรได้คุ้มทุน

หากพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรได้รับภัยพิบัติ รัฐบาลจะจ่ายเงินเยียวยา ตามระเบียบของกระทรวงการคลัง โดยจ่ายเงินชดเชยความเสียหายข้าวไร่ละ 1,113 บาท พืชไร่ 1,148 บาท พืชอื่นๆ 1,690 บาท รายละไม่เกิน 30 ไร่ ซึ่งเป็นจำนวนจำกัด ซึ่งหากเกษตรกรทำประกันภัยพืชผลไว้ด้วย ก็จะได้รับการคุ้มครองเพิ่มเติมจากการเคลมประกัน
โดยยกตัวอย่าง นาข้าว 1 ไร่ ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือตามระเบียบ รวมกับ การทำประกันภัยนาข้าว เกษตรกรจะได้รับเงินทั้งหมด 2,373 บาทต่อไร่ ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่เพียงพอต่อการนำไปลงทุนรอบใหม่ (ข้อมูล สศก. ต้นทุนข้าว 4,500 บาทต่อไร่)
นาย เกตโกมล ไพรทวีพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจประกันภัย ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส ระบุว่า แม้ปีล่าสุด จะมีเกษตรกรเข้าโครงการประกันภัยพืชผลน้อยกว่าเป้าหมาย แต่ช่วงเวลาที่ผ่านมาจากปี 2554-2561 เริ่มมีพัมนาการที่ดี มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการมากจขึ้น มีบริษัทรับทำประกันภัยมากขึ้นต และเมื่อเกิดความเสียหาย ก็มีกระบวนการการจ่ายสินไหมขึ้นจริง สะท้อนว่า ระบบประกันภัยเดินหน้าต่อได้ กับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ของประเทศ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ระบบประกันภัย นอกจากจะช่วยบรรเทาผลกระทบยามเกิดภัยพิบัติให้กับเกษตรกรได้แล้ว อนาคตถ้าระบบนี้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย อีกด้านก็จะช่วยลดงบประมาณรัฐที่ใช้เยียวยาภาคการเกษตรที่ต้องเสียไปในแต่ละ 7,000-8,000 ล้านบาทต่อปีได้ด้วย

ซึ่งก่อนที่จะมีการขยายการประกันภัยพืชผลออกไปยังพืชอื่นๆ 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล ธ.ก.ส. และสมาคมประกันวินาศภัย ลงนามร่วมกัน ในโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบการประกันภัยพืชผลการเกษตร โดยเอ็มโอยูครั้งนี้จะมีการนำปัจจัยเสี่ยงเรื่องภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ฝนแล้ง และความแม่นยำของการสำรวจความเสียหาย มาศึกษาวิจัยเพื่อให้การจ่ายสินไหมทดแทนหลังเกิดเหตุภัยพิบัติ มีความรวดเร็วและเป็นธรรมกับเกษตรกร มากขึ้น

ปัจจุบัน ธ.ก.ส. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสมาคมประกันภัย อยู่ระหว่างทำงานร่วมกัน โดยพืชไร่ เช่น ข้าวโพด จะคิดเบี้ยประกันที่ 70-90 บาท ต่อไร่ เมื่อเสียหายจะคุ้มครอง ที่ 1,480 บาท/ไร่
ส่วนโคนมเบี้ยประกัน จะอยู่ที่ 660 บาทต่อตัว เเละเมื่อเสียหายจะคุ้มครองที่ตัวละ 18000-20000 บาท คาดการณ์ว่ารายละเอียดทั้งหมดน่าจะชัดเจนสิ้นเดือนนี้

สิริมา ทรงกลิ่น @sirima_ThaiPBS

 

 

ดูข่าวต้นฉบับ