ทั่วไป

ข้อปฏิบัติ “นายจ้าง-ลูกจ้าง” หากแรงงานต้องหยุด 14 วันสังเกตอาการ“โควิด-19”

PPTV HD 36
อัพเดต 28 ก.พ. 2563 เวลา 04.53 น. • เผยแพร่ 27 ก.พ. 2563 เวลา 12.19 น.
กรมสวัสดิฯเตือนลูกจ้าง หากต้องหยุด 14 วันหลังกลับจากตปท. อย่าฉวยโอกาสเดินทางท่องเที่ยว หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำอาจเข้าข่ายหยุดงานไม่แจ้ง  ขณะที่สถานประกอบการถ้าได้รับผลกระทบ ใช้ม.75 ปิดกิจการชั่วคราวได้    

เมื่อวันที่ 27 ก.พ. นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขที่ขอความร่วมมือไม่ให้เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นั้น ทางกระทรวงแรงงานเองก็รับและมีการขอความร่วมมือบุคลากรของกระทรวงแรงงานให้ชะลอการเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 แต่ยังไม่ได้มีการออกคำสั่งอย่างเป็นทางการเท่านั้นเอง และคาดว่าจะมีการประกาศมาตรการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดในกลุ่มบุคลากรเร็วๆ นี้

เตือน! คนไทยกลับจากประเทศเสี่ยงตรวจหา “โควิด-19”  ทันที ไม่ช่วยอะไร เหตุเชื้อฟักตัว 14 วัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายอภิญญา กล่าวว่า สำหรับกรณีแนวทางปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุขที่ขอให้ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคให้หยุดสังเกต และเฝ้าระวังอาการตัวเองเป็นระยะเวลา 14 วันนั้น มีบริษัท สถานประกอบการสอบถามจำนวนมาก ว่ากรณีนี้จะถือเป็นวันหยุดแล้วไม่จ่ายค่าแรงได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้กรมสวัสดิการฯ มองว่าเป็นเรื่องที่เข้าข่ายว่าเป็นความเสี่ยง ต้องเฝ้าระวังอาการ 14 วัน  ถือว่าภาวะอย่างนี้ลูกจ้างอยู่ในสถานะป่วย จึงสามารถใช้สิทธิลาป่วย และมีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานี้ หรือบริษัทบางแห่งอาจจะให้เป็นการใช้สิทธิลาพักร้อนได้ ทั้งนี้หากต้องใช้เวลามากกว่านี้ก็ยังถือเป็นการลาป่วยเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามภาวะของโรค มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีกรณีที่ลูกจ้างที่ต้องเฝ้าดูอาการ 14 วัน แต่อาศัยช่วงเวลานี้ในการเดินทางไปเที่ยว หรือทำอะไรที่ไม่เป็นไปตามคำแนะนำจะยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือไม่ นายอภิญญา กล่าวว่า เมื่อสถานประกอบการอนุญาตให้ลูกจ้างหยุดเฝ้าระวังอาการที่บ้าน ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ลูกจ้างก็ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในความเป็นจริงสถานประกอบการอาจจะไม่รู้ว่าลูกจ้างทำตามหรือไม่ ออกไปเที่ยวที่ต่างๆ มาหรือไม่ แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าคุณไม่มีเชื้อ แล้วถ้าเมื่อไหร่ที่เกิดแสดงอาการและแพร่เชื้อต่อ นายจ้างมีสิทธิใช้เรื่องนี้ในการถือว่าลูกจ้างขาดงาน และมีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างให้ได้ และตนทราบว่าถ้าการประกาศให้ไวรัสโคโรนา2019 เป็นโรคติดต่ออันตราย มีผลบังคับใช้แล้วจะถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานมีโทษตามกฎหมายนั้นอีก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

อธิบดีกรมสวัสดิการฯ กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีผู้ประกอบการ ลูกจ้างโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบธุรกิจซบเซาจากการระบาดของโรคนี้นั้น ตอนนี้ได้สั่งการไปยังสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดคอยดูแล ให้คำปรึกษา ซึ่งในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับรายงานว่ามีสถานประกอบการจำนวนหนึ่งมีการใช้มาตรา 75 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานในการปิดสถานประกอบกิจการชั่วคราว และจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง 75 % ของเงินเดือน.

หมอแนะ ป้องกัน โควิด-19 เจลล้างมือต้องมีแอลกอฮอล์ 70-95% เชื้อตายแน่นอน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 10
  • ปู - ปรเมศวร์
    ถ้าการไป ตปท ของลูก​จ้าง​ เป็นการไปเที่ยวส่วนตัว ไม่ใช่ไปในหน้าที่ การถูกกักตัวก็ควรต้องเป็นวันลาพักผ่อน ถ้ามีไม่พอ แล้วหยุดเกิน ก็ต้องหักเงินดือน ถึงจะเป็นธรรมกับนายจ้าง แต่ถ้าไปทำงานในหน้าที่ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินเดือนสำหรับวันหยุดนั้น
    27 ก.พ. 2563 เวลา 13.54 น.
  • รู้ว่าเสี่ยงก็ยังจะไปเที่ยว เมื่อกลับมาต้องสงสัยโดนกักตัวหรือช่วงรักษาตัว ไม่ควรได้รับค่าแรง ถึงจะเป็นธรรมกับนายจ้าง แต่ถ้าไปทำงานให้นายจ้าง กลับมานั่นถือว่าทำตามหน้าที่แม่ว่าเสี่ยงก็ยอมทำ
    27 ก.พ. 2563 เวลา 14.10 น.
  • Kran
    ลางานไปเที่ยว กล้บมา ได้หยุดอีก14วัน เลิศ...
    27 ก.พ. 2563 เวลา 13.56 น.
  • 外国人
    สู้ๆนะ ทุกคนยุคนี้ทั้ง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม โรคภัย รุมเร้ารอบด้านอยู่ยากแต่ต้องอยู่ให้ได้ ไม่มีใครโอบอุ้มใครได้เลยจริงๆ ยุคมืดจริงๆ
    27 ก.พ. 2563 เวลา 13.48 น.
  • Ple 🍎
    ไปเที่ยวแถมได้หยุดเพิ่มอีก เงินเดือนก็ได้เต็ม งานไม่ต้องทำ คนอื่นทำแทน อะไรจะดีขนาดนี้
    27 ก.พ. 2563 เวลา 14.37 น.
ดูทั้งหมด