ไลฟ์สไตล์

เข้าใจ “วิกฤตการณ์น้ำ” ภัยธรรมชาติยิ่งใหญ่ ที่เข้าใกล้ไทยกว่าที่คิด

LINE TODAY
เผยแพร่ 21 มี.ค. 2564 เวลา 17.00 น.

สำหรับบางพื้นที่ การมีน้ำสะอาดใช้เหลือเฟือถือเป็นชีวิตหรูหราที่บางคนไม่กล้าฝัน

และหากตีเป็นจำนวนตัวเลข 1 ใน 10 ของประชากรโลก หรือมนุษย์กว่า 748 ล้านคนที่ต้องใช้ชีวิตโดยแทบไม่มีน้ำสะอาด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วันที่ 22 มีนาคม 2564 ตรงกับ“วันน้ำโลก” หรือ “World Water Day” เป็นวันที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงน้ำ และปัญหาขาดแคลนน้ำที่คนจำนวนมากยังต้องเผชิญอยู่ทุกวี่วัน

  • ไม่ใช่แค่ขาดน้ำ ยอดผู้เสียชีวิตที่ต้องตายจากแหล่งน้ำสกปรกยังมีจำนวนมากกว่ามนุษย์ที่ตายในสงครามเสียอีก
  • ประชากร 1 ใน 4 ของโลกแทบไม่มีห้องน้ำสะอาดใช้
  • โรคท้องเสียที่เกิดจากการบริโภคน้ำไม่สะอาด คร่าชีวิตเด็ก ๆ อายุต่ำกว่า 4 ปีทั่วโลก มากกว่าโรคเอดส์และมาลาเรียรวมกัน
  • มีประชากรจำนวน 2 ล้านล้านคน อาศัยอยู่ในประเทศที่เคยเกิดวิกฤตขาดแคลนน้ำ หรือกำลังเผชิญวิกฤตอยู่ขนาดนี้

สถิติเหล่านี้ดู “โอเวอร์” และแสนไกลตัว แต่จากข่าวและสื่อ หลายคนคงเคยเห็นความสาหัสของทวีปแอฟริกายามขาดน้ำ (และอาหาร) ขอให้ทดภาพเหล่านั้นไว้ในใจ แล้วมาดูเรื่องราวของ “Day Zero วันขาดน้ำ” ในประวัติศาสตร์เคปทาวน์ ที่สะท้อนความจริงของวิกฤตน้ำหมดโลกได้เลวร้ายที่สุด

Day Zero

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ด้วยสภาพอากาศที่แห้งแล้งและวันฝนตกที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เมื่อหน้าแล้งมาถึงทีไร น้ำสำหรับการกินการใช้แทบไม่พอใช้ในทวีปแอฟริกา ยกตัวอย่างเหตุการณ์ครั้งสำคัญก็อย่างเช่นปรากฏการณ์ "Day Zero" ที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ (Cape Town, South Africa)

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงเดือนมกราคมปี 2018 เทศบาลของเมืองออกประกาศว่าหลังจากนี้อีกเพียง 3 เดือน น้ำกินน้ำใช้กำลังจะหมด และพวกเขากำลังนับถอยหลังสู่ "Day Zero หรือวันที่ไม่มีน้ำประปาไหลจากก๊อก" ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน 

ทางรัฐบาลเลยออกนโยบายให้ภาคประชาชนช่วยกันลดการใช้น้ำอย่างจริงจัง ทั้งขอให้งดการแช่น้ำ ไม่อาบน้ำทั้งตัว จำกัดเวลาในการอาบน้ำเพียงแค่ 2 นาที รวมไปถึงการงดใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองในการทำสวนหรือเติมสระว่ายน้ำ ซึ่งผลจากการได้รับความร่วมมืออย่างแข็งขันที่ทำให้ปริมาณการใช้น้ำตกลงไปถึง 30% ประกอบกับความช่วยเหลือจากธรรมชาติที่ส่งฝนโปรยปรายลงมาได้ทันเวลา เวลา 90 วันสู่ภาวะ Day Zero ในเคปทาวน์ ทั้งเมืองก็รอดจากเหตุการณ์นี้มาได้อย่างหวุดหวิดพร้อมกับบทเรียนครั้งสำคัญในการจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพขึ้นและพฤติกรรมการใช้น้ำที่เปลี่ยนแปลงไปของทุกคน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วิกฤตน้ำในไทย

กลับมามองไทย ที่ภัยแล้งปีนี้สาหัสกว่าปีไหน ๆ กระทบจังหวัดต่าง ๆ มากกว่า 14 จังหวัด และอาจกินระยะเวลายาวนานจนถึงเดือน มิ.ย. เพราะฝนน่าจะตกน้อยกว่าปกติ ดังนั้นภูมิภาคการเกษตรอย่าง เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ และใต้ตอนบนอาจประสบปัญหามากกว่าปกติ ส่วนหนึ่งมาจากปรากฎการณ์ “เอลนีโญ” ที่มาถึงเร็วกว่าปกติ ซึ่งพื้นที่ที่น่าจะรับบทหนักกว่าที่อื่นคือ ภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั่นเอง

ไม่ใช่แค่ความแห้งแล้ง แต่ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาในบางพื้นที่ก็สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานเกินกว่าจะใช้สอย อย่างปัญหา “น้ำประปาเค็ม” ที่เคยเกิดขึ้นราวต้นปีที่ต่อให้นำไปกรองหรือต้ม ก็ไม่ได้ทำให้ความเค็มลดลงแต่อย่างใด

วิกฤตน้ำยังไม่ได้ทำให้ “น้ำหมด” เพียงอย่างเดียว แต่ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ซึ่งเป็นอุบัติภัยลูกโซ่ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ ตามมา เช่นความเสียหายในการเกษตร โดยเฉพาะในประเทศเกษตรอย่างไทย ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประชาชนเสียสละเวลาและค่าใช้จ่ายไปกับการหาน้ำใช้ รวมไปถึงปัญหาคมนาคมที่ไม่มีใครอยากให้เกิด

น้ำหมด ระวังอดเล่น “สงกรานต์”

เมื่อภาวะน้ำหมดมาเยือน ไม่แปลกที่หลายคนจะนึกถึงเทศกาลเล่นน้ำอย่าง “สงกรานต์” ที่แม้จะเป็นประเพณีสืบทอดกันมายาวนานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ แต่ก็ทำให้หลายคนฉุกคิดว่า ในวิกฤตการณ์น้ำที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก เรายังควร “เล่นน้ำ” ในวันสงกรานต์อยู่ไหม?

ปี 2563 ท่ามกลางการระบาดของ “ไวรัส Covid-19” ที่รัฐบาลยกเลิกสงกรานต์ไปแล้ว ก็อาจไม่ก่อปัญหาขาดน้ำเท่าไร แต่เมื่อปี 2562 ที่ภัยแล้งส่อแวววิกฤตไม่ต่างจากปัจจุบัน ทางการเคยออกมาเตือนให้เล่นน้ำกันอย่างประหยัด เพื่อย้ำเตือนให้คนไทยตระหนักถึงภัยแล้งที่กำลังประชิดตัวเข้ามาทุกที

วิกฤตน้ำระดับโลก ประชากรโลกก็ต้องช่วยกัน

ระดับโลก แต่ภาคประชาชนอย่างเราก็เป็นฮีโร่ได้ ด้วยวิธีง่าย ๆ เหล่านี้

  • สร้างความตระหนัก : แค่อ่านบทความนี้ก็ถือว่าคุณเริ่มตระหนักถึงปัญหาน้ำแล้ว เก่งมาก! ลองเล่าให้เพื่อน ๆ หรือคนใกล้ตัวฟังบ้างจะได้ร่วมด้วยช่วยกัน
  • ใช้น้ำอย่างฉลาด : อย่าคิดเอาเองว่าที่ที่เราอยู่สุขสบายเกินกว่าจะเกิดวิกฤตน้ำ ปัญหาน้ำก็เหมือนระเบิดเวลาที่ไม่รู้จะปะทุและส่งผลกระทบรุนแรงแค่ไหน เริ่มจากอาบน้ำให้เร็วขึ้น หรือไม่เปิดน้ำระหว่างถูสบู่ก็ถือว่าเป็นก้าวแรกที่ดีแล้ว
  • ก้าวให้ใหญ่ขึ้น : ศึกษาหรือทำความเข้าใจในวงจรใหญ่ขึ้น เช่น ต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า การสร้างมลพิษ หรือการทำลายสิ่งแวดล้อม

หากภาพผืนดินแตกระแหงในทวีปแอฟริกายังดูไกลตัว ลองนึกถึงวิกฤตน้ำเค็มที่ไทยเคยเผชิญก็ได้ แล้วจะพบว่าปัญหาน้ำทั่วโลกนั้นส่งผลหนักหนาและไม่มีที่ท่าว่าจะเบาลง หากประชากรโลกอย่างเราตระหนักถึงปัญหาขึ้นอีกนิด รักษ์โลกให้เยอะขึ้น ต้องมีวันที่โลกกลับมา “รัก”เราอีกครั้ง อย่างแน่นอน

อ้างอิง

1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6 / 7 / 8

ความเห็น 21
  • @ต่อ พัทยา
    สมัยวัยเด็ก. ที่ชลบุรี. คลองเล็ก คลองใหญ่..ในจังหวัด ชลบุรี สะอาด ลงเล่นน้ำจับปลา...ทำการเกษตร..ปตุสัตว์. ขนาดเล็กๆตามวิถึชาวบ้าน. จวบจน...มีโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามา..มีฟาร์มปตุสัตว์ ขนาดใหญ่เข้ามา..วิถีชีวิตแบบชาวบ้านก็เปลี่ยนไป.. น้ำในคลอง.ที่เคยใสสะอาด..กลับเปลี่ยนเป็น. เหม็นเน่าเสีย..ไม่สามารถ..ปลูกพืชผัก.เลี้ยงปตุสัตว์ได้อีก. ทุกพื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรม..ในทุกๆจังหวัด หน่วยงานของ รัฐบาล ไม่เคยควบคุมได้อย่างจริงจัง มีแต่...เรียกเก็บผลประโยชน์...จากผู้ประกอบการ. เท่านั้น ดิน น้ำ
    22 มี.ค. 2563 เวลา 01.11 น.
  • idom
    โรงแรมในกรุงเทพเยอะมาก การกำจัดน้ำเสียลงแม่น้ำต้อง100%ถึงจะปลอดภัย
    22 มี.ค. 2563 เวลา 01.10 น.
  • Peace
    ถ้ารัฐยังโง่คิดว่าถนนสำคัญกว่าน้ำ ปัจจัยสั่ แล้วจะรู้สึก แม่น้ำลำคลองหรอง บึงแห้งขอด อย่างต้นเจ้าพระยา ปิง วัง ยม น่าน แทนที่จะขุดรอก กับมองข้าม เสียดายน้ำหลากไหลทิ้ง
    21 มี.ค. 2564 เวลา 19.22 น.
  • MooJoo
    เท่าที่ตามข่าวมา ปีนี้เป็นปีครบรอบวัฐจักร ที่อาจจะเกิดอุทกภัยใหญ่ ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกๆ 10ปี (ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2554) ซึ่งในช่วงเดือนสองเดือนนี้ก็มีฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมหลายแห่งทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ,อังกฤษ,บราซิล ,อาเจนติน่า,อียิปต์ ,อีรัก อินโดนีเซีย , ออสเตรเลีย ฯลฯ (youtube : FLASH FLOODS หรือตามด้วย CHAVE WEATHER)
    22 มี.ค. 2563 เวลา 12.34 น.
  • Hlin
    ขับรถมาตามป่าเขาภาคเหนือดูซิ ล้นเยอะขึ้นเลยๆ เหมือนไม่มีเจ้าหน้าที่ควบคุม หรือเป็นใจก็ไม่รู้
    22 มี.ค. 2563 เวลา 12.09 น.
ดูทั้งหมด