ทั่วไป

“นักวิชาการ” เตือน คกก.วัตถุอันตราย อย่ารับเงินแลกหนุนสารพิษ

สยามรัฐ
อัพเดต 20 ต.ค. 2562 เวลา 03.19 น. • เผยแพร่ 20 ต.ค. 2562 เวลา 03.19 น. • สยามรัฐออนไลน์

“นักวิชาการ” เตือน คณะกรรมการวัตถุอันตราย อย่ารับเงินแลกหนุนสารพิษ ชี้ มีสิทธิ์ถูกสอบ ขณะที่ "อ.สุขุม” เชื่อ “แบนสารพิษ” สำเร็จ ชี้ เรื่องสุขภาพ ต่อรองกันไม่ได้

วันที่ 20 ต.ค. 62 รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงกระแสเรื่องแบนสารพิษ พาราควอต ไกรโฟเซต คลอร์ไพรีฟอส ว่า ตามข่าวคือคณะกรรมการวัตถุอันตรายจะโหวตเรื่องดังกล่าวในช่วงปลายเดือนนี้ ซึ่งส่วนผสมของคณะกรรมข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ ก็น่าจะโหวตตามจุดยืนของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง แต่ถ้าโหวตสวนขึ้นมา ก็เป็นสิทธิ์ของท่าน คงจะไปโยกย้ายกันไม่ได้ เพราะจะขัดกฎหมาย เป็นการแทรกแซงข้าราชการ ยกเว้นว่า มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าพบหลักฐานสามารถสั่งสอบได้เลย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนการเกิดขึ้นของฝ่านหนุนสารเคมี ไม่มองว่าเป็นขบวนการ แต่เป็นเรื่องปกติของสังคมประชาธิปไตย ที่มันจะมีทั้งเห็นด้วยและเห็นต่าง แต่ขอให้สู้กันด้วยข้อมูล อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ สังคมได้เดินมาไกลแล้ว คนที่กลัวสารเคมี เป็นสิทธิ์ของเขา อย่าไปปรามาสว่ารู้น้อย ไม่หาข้อมูล เพราะหากจะเปลี่ยนใจ ก็ต้องให้ข้อมูลแก่อีกฝ่าย

เมื่อถามว่า หากผลการโหวตของคณะกรรมการวัตุอันตราย ออกมาว่าให้ใช้สารพิษต่อ จำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบหรือไม่ รศ.ดร.ยุทธพร กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องให้ใครมารับผิดชอบ เพราะฝ่ายที่เขาสนับสนุนให้ยกเลิกก็ทำเต็มที่ และเหตุผลก็น่าฟัง เป็นเรื่องของสุขภาพคนไทย ทั้งนี้ ควรจะกลับมาหารือกัน ว่าทำไมถึงให้ใช้ต่อ รวมทั้งไปมองว่า ถ้าให้ใช้ต่อ จะใช้อย่างไร ถึงจะปลอดภัยที่สุด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ขณะที่ รศ.สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง ให้ความเห็นเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่หนุน และฝ่ายที่ต้องการแบนสารพิษทางการเกษตรว่าเรื่องแบนสารเคมี น่าจะแบนได้ วิเคราะห์จากการให้ข่าวของทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งบอกว่ามีอันตรายต่อชีวิต ทำให้เกิดโรค ทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ ต่อสุขภาพของผู้ใช้ และผู้บริโภค

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ขณะที่อีกฝ่าย มาพูดเรื่องราคาถูก แต่ไม่ได้ประกันเรื่องสุขภาพให้กับประชาชนเลย จะเห็นว่าข้อมูลของฝ่ายแบน มีเหตุผลดีกว่า เรื่องสุขภาพ มันไม่สมควรจะเอาอะไรมาต่อรองทั้งสิ้น ของบางอย่างต้องกลบฝังดินเลย ไม่ใช่ว่าเหลือแล้วต้องใช้ให้หมด เรื่องนี้ ถ้าภาครัฐไปโอนอ่อนผ่อนตาม กลับไปบอกว่าให้แบนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ยิ่งจะโดนสั่งคมวิพากษ์วิจารณ์ โดนตั้งคำถามว่าเห็นชีวิตคนเป็นอะไร

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 20
  • Suphoj Lee
    ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตร ส่งออกเกษตร ทำอาหารเลี้ยงโลก ถ้าแบน 3 ตัว เกษตรเดือดร้อนแน่ ต้นทุนสูงขึ้น ราคาอาหารสูงขึ้น และสารตัวใหม่ที่ทดแทน ก็มีพิษเหมือนเดิม 3 ตัวคือสารขจัดวัชพืชผิวดินก่อนปลูก ไม่ใช่เอาไว้ฆ่าแมลง พ่นใส่ต้นพืชผัก ผลไม้ เวลาปลูกแล้ว
    20 ต.ค. 2562 เวลา 05.37 น.
  • woraphot khunsit
    มันเป็นความผิดของกนะทรวงเกษตร..ที่ไม่ได้เตรียมการมาหลายสิบปี...สุดท้ายความซวยก็มาตกกับเกษตรกรกับผู้บริโภค. ควรมุ่งสู่..การเกษตรแบบรับผิดชอบ.. ไม่ไช่ เกษตรแบบลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต. อย่างที่ทำกันมา.. ผลลัพธ์จากอดีตก็เห็นชัดๆว่ามันคือความผิดพลาด.. สุดท้ายผู้พ่ายแพ้ก็คือตัวเกษตรกรเอง...คนได้ดีคือนายทุนกับพ่อค้าคนกลาง..
    20 ต.ค. 2562 เวลา 05.22 น.
  • Lek Pornpimol
    พวกไม่ยกเลิกมันมีเงินซื้อผลิตภัณฑ์ปรอดสารพิษไง มันถึงไม่เดือดร้อน แต่คน 90%ของประเทศมันไม่มีเงินซื้อของแพงๆนิ ระวังกรรมตามสนองไม่ช้าก็เร็วนะแก
    20 ต.ค. 2562 เวลา 05.15 น.
  • Mng(JP)
    เกษตรกรบางคนก็ไม่ได้อยากใช้ แต่เมื่อเป็นหนี้เป็นสินจึงจำใจตกเข้าไปอยู่ในวงจรอุบาทว์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    20 ต.ค. 2562 เวลา 05.05 น.
  • นักวิชาการพูดแบบนี้หมายความว่าไง และถ้าเกษตรกรพูดว่ารับเงินมาเพื่อแบนสารตัวนี้บ้างแล้วจะตัดสินใจอย่างไร เป็นนักวิชาการก่อนพูดควรคิดให้เยอะกว่านี้ ควรนำความจริงมีถกกันระหว่างผู้ที่ใช้ประจำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อย่าให้เหมือนอนุรักษ์นกพิราบโดยไม่คำนึงถึงความเลวร้ายของนกพิราบที่มาคุกคามทำรังในหลังคาบ้านจนเหมือนยึดบ้านไปแล้ว
    20 ต.ค. 2562 เวลา 05.04 น.
ดูทั้งหมด