ทั่วไป

"ศิริกัญญา" แนะรัฐบาลโยกได้ทันที งบหมื่นล้าน แก้ "โควิด-19"

มติชนสุดสัปดาห์
อัพเดต 29 มี.ค. 2563 เวลา 14.12 น. • เผยแพร่ 29 มี.ค. 2563 เวลา 14.12 น.

วันที่ 29 มีนาคม 2563 น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้แสดงความเห็นต่อกระแสสาธารณชนที่ตั้งคำถามถึงงบกลางในงบประมาณฯ ปี 2563 เพื่อใช้กรณีฉุกเฉินโดยเฉพาะการรับมือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโคโรน่าไวรัสว่า

“เกลี่ย ก่อน กู้ !!!”
รัฐบาลสามารถโยกงบได้ทันที 100,000 ล้านบาทเพื่อแก้ COVID19”
.
 งบกลางไม่พอใช้
.ตอนนี้เริ่มมีกระแสตั้งคำถามว่า #งบกลางหายไปไหน กันในโซเชียลมีเดียตลอดช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในระหว่างที่รอคำตอบที่ชัดเจนจากทางรัฐบาล ดิฉันขอลองช่วยรัฐบาลตอบไปพลางๆ ก่อนนะคะ
.
งบกลางปีงบประมาณ 2563 ร่วมๆ 520,000 ล้านบาท เป็นการตั้งงบรองรับเหตุการณ์ที่ยังไม่ทราบว่าในปีนี้จะมีค่าใช้จ่ายตามจริงเท่าไหร่ เช่น ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ เราก็ไม่ทราบว่าปีนี้ข้าราชการจะป่วยกี่คน ต้องใช้เงินเท่าไหร่ เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญก็อยู่ในงบกลาง เพราะเราไม่รู้ว่าจะข้าราชการลาออกกี่คน ตามเอกสารงบประมาณจะแบ่งเป็น 11 ประเภทตามรูปแรกนะคะ
.
ส่วนที่นำมาใช้จ่ายได้ในกรณีวิกฤตโควิด19 ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ก็น่าจะเป็น ข้อ 11) เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินจำเป็นวงเงิน 96,000 ล้านบาท เท่าที่จะหาข้อมูลได้จากมติครม. มีการอนุมัติการใช้งบส่วนนี้ไปแล้วราว 94,000 ล้านบาทระหว่าง 1 ต.ค. 62 – 24 มี.ค. 63 รายละเอียดว่ามีรายการใดบ้างดูที่รูปที่ 2 นะคะ
.
ส่วนใหญ่ก็ใช้ไปกับการแก้ปัญหาโควิด19 และภัยแล้งนี่แหละค่ะ รวมถึงการจัดเตรียมงบเพื่อชดเชยรายได้ 45,000 ล้านบาท สำหรับแรงงานนอกระบบ 3 ล้านรายด้วย เท่ากับเงินสำรองส่วนนี้ใกล้หมดเต็มทีแล้ว
.
แต่ที่เราไม่ทราบเลยก็คือการเบิกจ่ายงบประมาณว่างบที่ได้รับอนุมัติว่าเป็นไปอย่างไรบ้าง มีการยกเลิก เปลี่ยนแปลงรายการอะไรไปบ้างหรือไม่ หลังจากมีมติครม. ตรงนี้คงต้องรอคอยคำตอบจาก กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลางต่อไป
.
นอกจากเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน จำเป็น รัฐบาลยังมีเงินสำรองอีกก๊อก ที่กำหนดไว้ตามพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ที่ให้รัฐบาลมีงบฉุกเฉินก๊อก 2 อีก 50,000 ล้านบาท น่าจะยังไม่ได้นำมาใช้ ณ ขณะนี้
.
แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน เรายังคงต้องใช้งบประมาณอีกมากเพื่อเตรียมความพร้อมสถานพยาบาล อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ และยา สำหรับการป้องกัน ควบคุมโรค และรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ รวมไปถึงการชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ แม้แต่มาตรการชดเชยรายได้ 5,000 บาท/เดือน ที่ตอนแรกประมาณการไว้ว่าจะมี 3 ล้านคนที่ได้รับ ตัวเลขจริงก็อาจจะสูงกว่านี้ และกระทรวงการคลังยืนยันแล้วว่าแจกทุกคน ไม่มีอั้น แสดงว่าเงินสำรองจะไม่เพียงพอแล้วแน่นอน
.
 ก่อนกู้เงิน ลองโยกงบประมาณที่ไม่ใช้แล้วหรือยัง ???
.
สัญญาณจากรัฐบาลตอนนี้ แน่นอนแล้วว่าจะมีการออก พ.ร.ก.เงินกู้ ตามข่าวคือ 200,000 ล้านบาท ซึ่งก็คงต้องใช้เวลาเตรียมการ สิ่งที่ทำได้เลยในเวลานี้คือการโยกงบประมาณจากหน่วยงานที่ไม่ได้มีภารกิจแก้ปัญหาโควิด19 โดยตรง มาไว้ที่งบกลาง หรือกระทรวงสาธารณสุขตามความจำเป็นและความสะดวกในการใช้ ซึ่งทำได้ผ่านการออก พ.ร.บ.โอนย้ายงบประมาณ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ปีที่แล้วก็ทำ
.
แต่จะเหลืองบที่โอนได้เท่าไหร่ ชวนกันมาดูรูปที่ 3 จากงบประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท มีงบประมาณส่วนที่ “ตัดไม่ได้เด็ดขาด” คือเงินเดือนข้าราชการ สวัสดิการตามกฎหมาย งบชำระหนี้ และภาระผูกพัน สุดท้ายจะมีเงินส่วนที่ยังพอจะโยกย้ายได้อยู่ 1.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายลงทุน 650,000 ล้านบาท ซึ่งต้องคงสัดส่วนที่ 20% ของงบประมาณตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ส่วนที่เหลือเป็นรายจ่ายประจำ 550,000 ล้านบาท
.
ตอนนี้งบประมาณปี 63 ดำเนินมาได้ครึ่งทางแล้ว งบบางส่วนถูกเบิกจ่ายไปแล้ว รายจ่ายประจำ เบิกจ่ายไปแล้วราว 40% ของงบประมาณ ประมาณการคร่าวๆ งบที่ยังไม่ได้ใช้คือ 330,000 ล้านบาทจากทุกกระทรวง แน่นอนว่าบางกระทรวงอาจโยกงบได้มากน้อยแตกต่างกัน และเรายังภารกิจอื่นๆ ที่ต้องจัดการนอกเหนือจากโควิด19 ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง ปัญหา PM2.5 ในภาคเหนือ และไฟป่า จึงคาดว่าส่วนที่จะโยกได้จริงๆ คือ 80,000-100,000 ล้านบาท
.
ดังนั้นก่อนจะออก พ.ร.ก.เงินกู้ฉุกเฉิน ควรจัดสรรงบปี 63 ใหม่เสียก่อน จัดลำดับความสำคัญใหม่ ให้สาธารณสุข และการเยียวยาผู้คนได้รับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ไม่เช่นนั้นแล้ว การกู้เงินเพิ่มอีก 200,000 ล้านบาทก็อาจจะไม่เพียงพอค่ะ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

#งบกลางไปไหน #COVID19 #ก้าวไกล

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 33
  • Tomvorapot
    ในแง่ของเศรษฐศาสตร์มหภาค แนวทางกู้ดีกว่ามาก เพราะว่าการโอนงบประมาณมาใช้ ไม่ได้ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แถมยังต้องแก้ไขปรับเปลี่ยนการทำงานของทุกกระทรวง แต่ว่าการใช้ พรก. จะกระทบน้อยที่สุด และเป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบจริงๆ และ ณ เวลานี้ พรก. 1 ล้านล้าน ก็คงไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ในการแก้ไขปัญหาต่อเนื่อง เพราะปีนี้ GDP เราอาจติดลบ 10% หรือมากกว่า ก็ควรต้องมีการเตรียมการจัดสรรงบเพิ่มขึ้น เพื่อมากระตุ้นเศรษฐกิจและชดเชยในส่วนที่ขาดหายไปด้วย และไม่ต้องไปกู้ IMFเลย ทุนสำรองเราสูงเกินพอ
    29 มี.ค. 2563 เวลา 14.51 น.
  • นักรบต้องคู่หญิงงาม
    กูถามพวกมึงเกลียดธนาธร มึงรักประยุต แล้วมึงรักประยุตมึงจะมาเห่าทำพ่องมึงเหรอ
    29 มี.ค. 2563 เวลา 14.49 น.
  • Mongkon Junsuksri
    เอาเงิน สส. สว. ออกมาบริจาคบ้างเถอะ เงียบทุกคนเลย
    29 มี.ค. 2563 เวลา 15.03 น.
  • ว้ายยยยยยยยยยยย นางลอกจากไหนมาจ๊ะ ก่อนเป็น สส ทำไรมาก่อน ถึงเก่งขนาดนี้
    29 มี.ค. 2563 เวลา 14.49 น.
  • OHM
    กูเงินหัวหน้าพรรคได้มั้ย
    29 มี.ค. 2563 เวลา 14.38 น.
ดูทั้งหมด