ทั่วไป

สพฉ.แนะวิธีแยกอาการ "ป่วยฉุกเฉิน" 5ระดับ ก่อนเข้ารับการรักษา

MATICHON ONLINE
อัพเดต 22 ก.ย 2562 เวลา 11.17 น. • เผยแพร่ 22 ก.ย 2562 เวลา 11.17 น.

เมื่อวันที่ 22 กันยายน นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สพฉ.ได้จัดทำคลิปรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความเข้าใจถึงระบบการทำงาน และการตรวจรักษาคนไข้ของทีมแพทย์จากห้องฉุกเฉิน ซึ่งในห้องฉุกเฉินนั้น ผู้ป่วยที่ควรได้รับการดูแลรักษาเป็นอันดับแรกคือ ผู้ป่วยฉุกเฉินทางการแพทย์ที่มีความรุนแรงถึงแก่ชีวิต

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“แต่ในข้อเท็จจริงกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินนั้น ไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับการรักษาในห้องฉุกเฉินจริงได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาลที่ล่าช้า จนอาจส่งผลถึงอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย ล่าสุด สพฉ.จึงได้จัดทำคลิปวิดีโอ 2 ชุด เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้เข้าใจถึงอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้น ซึ่งหวังว่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจในอาการเจ็บป่วยของตนเองและประเมินตนเองก่อนเข้ามาพบแพทย์ได้” นพ.ไพโรจน์ กล่าวและว่า คลิปวีดีโอดังกล่าวจะบอกอาการของผู้ป่วยฉุกเฉินทางการแพทย์ทั้ง 5 ระดับ ตามหมวดสีต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ดังนี้

1.กลุ่มสีแดง คือ กลุ่มคนไข้ฉุกเฉินที่ได้รับอันตรายถึงชีวิตจะต้องได้รับการรักษาที่เร่งด่วนทันทีโดยผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอาการเบื้องต้นคือมีภาวะหัวใจหยุดเต้น ความดันโลหิตและสัญญาณชีพไม่ปกติ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2.กลุ่มคนไข้สีชมพู คือ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงมีภาวะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตต้องได้รับการตรวจภายใน 10 นาที โดยอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะซึม สับสน เจ็บหน้าอกและหัวใจเต้นผิดจังหวัด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

3.กลุ่มสีเหลือง คือ ผู้ป่วยที่ภาวะฉุกเฉินระดับปานกลาง ต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 30 นาที โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง ตัวเกร็ง ตัวงอ มีไข้มากกว่า 40 องศาเซลเซียส และสูญเสียการมองเห็นฉับพลัน

4.กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว คือ ผู้ป่วยเจ็บเล็กน้อย ต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 1ชั่วโมง เช่นผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะ อาเจียน มีไข้ต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

5.กลุ่มสีขาว คือ ผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยทั่วไปที่มีไข้ปวดศีรษะเล็กน้อย หรือผู้ป่วยที่มารับยากลับบ้านซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรได้รับการตรวจภายใน 2 ชั่วโมง

“ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่มาใช้บริการห้องฉุกเฉิน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างประชาชนผู้ใช้บริการกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ซึ่งประชาชนบางส่วนยังไม่ทราบว่า ทีมแพทย์ห้องฉุกเฉินจะต้องให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินทางการแพทย์หรือผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตก่อน อย่างไรตาม หากประชาชนทั่วไปที่เริ่มรู้สึกว่าตนเองมีอาการเจ็บป่วย ควรรีบไปพบแพทย์ในช่วงเวลาทำการปกติ (เวลา 08.00 – 16.00 น.) เพื่อให้แพทย์ที่ออกตรวจในเวลาปรกติสามารถตรวจรักษาและวินิจฉัยอาการได้ ไม่ควรรอจนรู้สึกว่าตนเองมีอาการป่วยจนทนไม่ไหว และที่สำคัญ หากเป็นกรณีของการเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือหากพบผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ทันทีให้รีบโทรแจ้งสายฉุกเฉิน 1669 ซึ่งทีมแพทย์จะรีบเข้าให้การช่วยเหลือ และนำผู้ป่วยส่งไปรักษายังโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงทีในอีกช่องทางหนึ่งด้วย” นพ.ไพโรจน์ กล่าว

ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถคลิกเข้ารับชมคลิปวิดีโอได้ที่ยูทูบของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือคลิกเข้ารับชมคลิปวิดีโอทั้ง 2 ชุดได้ที่ลิงค์ดังกล่าวนี้ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=1pIJjRrtd6A และ https://www.youtube.com/watch?v=Kbtf3PEYLF0

 

 

 

 

 

 

youtube
youtube
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • direk 2002
    ดีครับ ประชาชนจะได้เข้าใจ เพราะความฉุกเฉินทางการแพทย์กับความฉุกเฉินของคนไข้และญาติ มันคนละอย่างกัน
    22 ก.ย 2562 เวลา 12.49 น.
  • เคยรอถึง4ชั่วโมงนะ. แต่เข้าใจ เพราะเห็นเคสด่วนๆเข้ามาแบบต่อเนื่องเข้ามาเรื่อยๆ
    22 ก.ย 2562 เวลา 12.56 น.
  • ใจเย็นคับเวลาหาหมอนะคับ
    22 ก.ย 2562 เวลา 13.01 น.
  • PapaStamp7896
    แล้วถ้าหมดสติ อยู่กลุ่มไหนครับ
    22 ก.ย 2562 เวลา 12.59 น.
  • T.cho
    ตอนนั้นกลัวว่าจะตกใจอย่าวเดียวจนลืมไปหมด แค่คิดก็หนาวแล้ว
    22 ก.ย 2562 เวลา 14.16 น.
ดูทั้งหมด