ไลฟ์สไตล์

ลดโลกร้อนไม่ใช่แค่การใช้ถุงผ้า! แต่เริ่มต้นที่ 'โรงเรียน' เพื่อการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

LINE TODAY
เผยแพร่ 02 ก.ค. 2563 เวลา 17.01 น. • @mint.nisara

เมื่อพูดถึงเรื่องโลกร้อนหรือสภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปที่ทำให้หลายอย่างในโลกปั่นป่วนตามไปด้วยแล้ว วิธีแก้ปัญหายอดนิยมคงหนีไม่พ้นการรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้า ลดการใช้พลาสติก และการประหยัดพลังงาน ซึ่งหากพูดกันตามความจริง วิธีเหล่านี้ถูกต้องทุกประการแต่ต้องอาศัยการกระทำที่สม่ำเสมอและเข้มงวดในระดับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ เราเห็นคนที่พยายามใช้หลอดแก้วเพื่อทดแทนหลอดพลาสติก แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธการซื้อผลิตภัณฑ์ในซูเปอร์มาร์เก็ตที่ถูกบรรจุมาในถุงพลาสติกได้ หรือในบางครั้งเราก็ต้องยอมรับเสียด้วยซ้ำว่าพลาสติกก็เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันที่ดี 

การแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืนจึงไม่ใช่แค่การ 'ปรับเปลี่ยน' พฤติกรรมเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการ 'ปลูกฝัง' จิตสำนึกของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชน บทเรียนในห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์จึงเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่จะช่วยโลกได้ในระยะยาว ในบทความนี้ผู้เขียนจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับโมเดลการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมในปฐมวัยจาก 2 ประเทศที่ได้ริเริ่มทำและเป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมในเรื่องนี้ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สอนสิ่งยาก ๆ ผ่านการร้องเพลงและกิจกรรมสนุก ๆ 

โรงเรียน Fleet ในตอนบนของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ คือหนึ่งในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาที่นำเอาเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาแทรกอยู่ในการเรียนการสอนรวมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน เว็บไซต์ The Guardian ได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับหลักสูตรพิเศษของ Fleet เอาไว้ว่าที่นี่ใช้เพลงเป็นสื่อการสอนให้นักเรียนอายุตั้งแต่ 3-11 ปีเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Climate Change (การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ) เชื้อเพลิงฟอสซิล การปลูกผัก หรือแม้แต่เรื่องการจัดการขยะ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

"เด็ก ๆ ที่นี่ชอบร้องเพลงมาก เราเลยสอดแทรกเรื่องยาก ๆ พวกนี้เข้าไปในบทเพลงให้พวกเขาจำได้ง่ายและเรียนรู้เรื่องพวกนี้ไปพร้อม ๆ กันด้วย" เบธ ไคลท์ หัวหน้าคุณครูฝ่ายศิลปะและวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนบอกในบทสัมภาษณ์

นอกจากบทเพลงต่าง ๆ แล้ว ทางโรงเรียนยังมีกิจกรรมพิเศษในแต่ละช่วง อย่างเช่น "สัปดาห์การเดินไปโรงเรียน" ที่เชิญชวนให้นักเรียนเดินเท้ามาโรงเรียน หรือแม้กระทั่งการให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมในการดูแลสวน ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ Fleet พยายามปลูกฝังเรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนตัวน้อย ๆ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

บทเรียนเรื่องสิ่งแวดล้อมในหลักสูตรบังคับของอินเดีย

ขยับมาที่อีกหนึ่งประเทศในซีกโลกฝั่งตรงข้าม ประเทศอินเดียมีนโยบายให้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยรวมมากกว่า 1 ล้านแห่งทั่วประเทศบรรจุเรื่องสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืนเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน 

"เด็ก ๆ เหล่านี้ก็คือคนที่จะโตไปเป็นบุคลากรที่สำคัญของประเทศในอนาคต เป็นผู้บริหาร เป็นผู้นำ เราเชื่อว่าถ้าเราปลูกฝังเรื่องนี้ตั้งแต่เด็ก ๆ ให้กับพวกเขา มันจะอยู่ในตัวเขาตลอดไป" อนุมิตา รอยชาวดูรี ผู้อำนวยการศูนย์ Centre for Science and Environment ในกรุงนิว เดลีให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Smithsonian

ถึงแม้ว่านโยบายนี้จะถูกขัดขวางและไม่สามารถถูกนำไปปฏิบัติในสถานศึกษาบางแห่งเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและงบประมาณ ก็ยังมีห้องเรียนทางเลือกที่เปิดสอนเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับเยาวชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ตัวอย่างที่ดีคือ Free School Under the Bridge โรงเรียนพิเศษโดยเงินบริจาคใต้รางรถไฟในกรุงเดลีที่ดำเนินการสอนให้กับเด็ก ๆ ผู้ด้อยโอกาส 

แลกซ์มี จันทรา คุณครูประจำโรงเรียนนี้บอกว่าเขาคอยแทรกเรื่อง Climate Change ความรู้เกี่ยวกับชั้นบรรยากาศโลก และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและการรักษามันไปในบทเรียนโดยเสมอ 

"มันสำคัญมากนะที่เด็ก ๆ ควรได้เรียนรู้ว่าธรรมชาติคือส่วนประกอบที่สำคัญในชีวิต พวกเขาจะเรียนหนัก จะโตมาเป็นหมอ เป็นวิศวกรยังไงก็ได้ แต่สิ่งที่ห้ามขาดเลยคือการรู้ค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัว" จันทรากล่าว

แหล่งที่มา: https://www.theguardian.com/teacher-network/2018/jan/27/captures-children-imagination-sustainability-arts / https://www.smithsonianmag.com/arts-culture/india-teaching-300-million-kids-sustainability-180956494/

ความเห็น 7
  • Beerzawa
    ถ้าคนเขียนข่าวจะมาดูโรงเรียนในไทยเรื่องสิ่งแวดล้อมสักหน่อยจะดีกว่านี้ เพราะทุกวันนี้โรงเรียนก็หาวิธีหลากหลายในเรื่องนี้ตลอด แต่มันมาตั้งแต่ภาคครัวเรือนมั้ยคะ ในการสอนเรื่องจิตสำนึก
    23 ส.ค. 2562 เวลา 12.43 น.
  • Tuk🍀
    เห็นด้วยนะคะ เพราะเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า คนยุคเก่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เราก็เริ่มต้นด้วยคนยุคใหม่ แต่จะทำยังไงให้จิตสำนึกเริ่มตั้งแต่ที่บ้านได้ ต่อให้โรงเรียนพร่ำสอนแค่ไหน แต่ถ้าคนรอบตัวเด็กๆ ในสังคมครอบครัวไม่ตระหนักรู้และขาดจิตสำนึกที่ดี เป็นตัวอย่างให้เด็กไม่ได้ ก็ทำยากเหมือนกันนะคะ🤔
    23 ส.ค. 2562 เวลา 13.04 น.
  • WCJ
    เริ่มต้นที่บ้านและโรงเรียนด้วยการคัดแยกขยะซึ่งขยะแทบจะรีไซเคิลได้หมด100%ที่ขยะจริงๆก็คือเศษอาหารนั่นแหละแต่ก็เอามาหมักทำปุ๋ยได้ซึ่งเมื่อก่อนจะเป็นอาหารหมู
    23 ส.ค. 2562 เวลา 13.32 น.
  • ทุกอย่างควรเริ่มที่โรงเรียน
    23 ส.ค. 2562 เวลา 13.30 น.
  • Teerawat
    มันก็แหงล่ะ มีใครโง่คิดไปว่า แค่ใช้ถุงผ้า มันจะไปช่วยอะไรมากมายนัก แต่มันต้องทะหลายๆอย่างแล้วตอนนี้ และต้องให้ความรู้ และสำนึกของคน ดูแค่บางคนมาพูดว่าอย่าใช้ถุงพลาสติก!!!! เลอะเทอะมาก โลกใบนี้มันเสพติดถุงพลาสติกกันแล้ว ก็ให้ใช้ให้น้อยที่สุด ที่สำคัญ ต้องเพิ่มการนำกลับมาใช้ การทิ้งให้ถูก และก็คำถามง่ายๆ ที่บ้านคุณน่ะ แยกขยะ แยกถุง/พลาสติก ขวดพลาสติกกันมั่งเปล่า ?
    23 ส.ค. 2562 เวลา 13.18 น.
ดูทั้งหมด