ไลฟ์สไตล์

เพื่อย้ำเตือนภาครัฐให้ใส่ใจในการแก้ปัญหามลพิษ Greenpeace เตรียมจัดกิจกรรม 'พอกันที ขออากาศดีคืนมา'

The MATTER
อัพเดต 24 ม.ค. 2563 เวลา 05.51 น. • เผยแพร่ 22 ม.ค. 2563 เวลา 13.00 น. • Brief

คุณคิดว่าภาครัฐแก้ไขปํญหามลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะเรื่องฝุ่น pm2.5 ได้ดีเพียงหรือหรือยัง?

เพราะเห็นว่า สิ่งที่รัฐบาลทำยังไม่เพียงพอกับ 'วิกฤตฝุ่น' ที่เกิดขึ้น Greenpeace Thailand จึงเตรียมจัดกิจกรรม 'พอกันที ขออากาศดีคืนมา Right to Clean Air' ในวันที่ 23 มกราคมนี้ เวลา 09.00 น. โดยนัดพบกันได้ที่บริเวณวัดเบญจมบพิตร ฝั่งริมคลองเปรมประชากร

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ Greenpeace Thailand กล่าวกับ The MATTER ถึงสาเหตุในการจัดกิจกรรมดังกล่าวว่า ต้องการเตือนภาครัฐว่า ถ้าจะแก้วิกฤติควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อะไรที่มันขาดหายไป อะไรที่มันยังไม่ตอบโจทย์มาตรการของรัฐ เรื่องของแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติของรัฐ มันก็เป็นจังหวะที่ดี เป็นประเด็นที่สาธารณชนให้ความสนใจ ก็เลยใช้โอกาสในวันพรุ่งนี้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา

เขากล่าวถึงแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติว่า อ่านแล้วมันดี เห็นชัดว่ามันมีขั้นมีตอน มีทิศทางอยู่ระดับหนึ่ง แต่ไม่มีคนดูภาพรวมทั้งหมด ซึ่งในที่สุดมันก็จบลงที่แต่ละหน่วยงานแก้ไขปัญหาไปคนละทิศทาง ไม่มีใครที่บังคับใครได้ แต่ที่ทำลงไปจะสอดคล้องกับแผนแค่ไหนอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่เป็นคำถามใหญ่

- หลายคนอาจไม่รู้ว่า รัฐบาลได้ออกแผนแก้ปัญหาฝุ่น pm2.5 ในระดับชาติมาตั้งแต่ปีก่อนแล้วนะ เข้าไปอ่านกันได้ http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download_book.php?bookid=35

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ธารายังกล่าวอีกว่า แผนปฏิบัติการมีความคล้ายคลึงกับการสั่งการจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง (top-down) เช่น ถ้ามีการเผาในที่โล่ง เผาไร่อ้อย หรือ เผาป่า ก็ต้องใช้มาตรกรทางกฎหมาย ต้องไปจับคนเผา แต่ว่า ไม่ได้ไปเน้นที่สาเหตุที่เป็นรากลึกของปัญหาเช่น โรงงานน้ำตา หรืออุตสาหกรรมเอทานอล ที่ต้องการวัตถุดิบ โดยไม่สนใจว่ามันจะมาได้ยังไง อาจจะมาจากอ้อยที่เผาหรืออ้อยที่ไม่เผา ก็ไม่สนใจ คือรับซื้อหมด

“ในแผนปฏิบัติการมันไม่มีเรื่องการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน สิ่งที่มันร้อยกันแล้วมันเป็นปัญหา มันไปจบลงที่ว่าถ้าใครเข้าไปเผาป่าก็ต้องจับ ใครเข้าไปเผาไร่อ้อยก็ต้องจับ ช่วงนี้เป็นช่วงห้ามเผามันจบแค่ตรงนี้ ผมคิดว่ามันไม่พอ มันยิ่งจะไปทับซ้อนปัญหาที่มีอยู่” ธารากล่าว

สำหรับประเด็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาเรื่องการเผาผลผลิตทางการเกษตร เขากล่าวว่า รัฐบาลต้องออกนโยบายให้โรงงานและอุตสาหกรรมต่างๆ รับซื้อผลผลิตทางการเกษตรที่มาจากเกษตรกรรมที่ยั่งยืนไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้สารเคมีทางการเกษตรด้วย คือมันต้องมีตรงนี้เกิดขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ธารากล่าวว่า วันพรุ่งนี้ไม่ได้เป็นวันที่ตอบโจทย์ทั้งหมด แต่เป็นวันที่มาบอกรัฐบาลว่าสิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง แล้วก็เป็น การเรียกร้องรัฐบาลต้องทำเป็นประจำว่าบทบาทหน้าที่ที่ควรจะทำคืออะไรบ้าง เพราะเราเป็นผู้เสียภาษี เขายังทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพแล้ว เรายังต้องแลกเปลี่ยนการรับรู้แล้วก็ ขับเคลื่อนร่วมกันให้คนที่เราเสียภาษีให้ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

พิสูจน์อักษร: พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์

#Brief #TheMATTER

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 23
  • 💖ผีเสื้อน้อย...
    ประชาชน​ นั่นแหละต้นเหตุ ทั้งน้ำท่วม​ ทั้งฝุ่นละออง​ ต้องแก้ที่ประชาชนก่อน
    23 ม.ค. 2563 เวลา 06.04 น.
  • ฮิปโป
    มีมาตรการ แต่ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือก็ยาก ปัญหาอยู่ที่จิตสำนึกของคน มะใช่ปัญหารัฐบาล
    23 ม.ค. 2563 เวลา 06.09 น.
  • Sravut
    ถ้ารัฐเขามีมาตราการจริงมึงจะรับได้ไหมละไอ้สม​อง
    23 ม.ค. 2563 เวลา 06.06 น.
  • Super Cham
    พวกมึงค้านทุกเรื่อง แล้วพวกมึงทำอะไรได้มั๊ยนอกจากเรียกร้องอย่างเดียว แทนที่จะไปช่วยกันดู กลับเห่าเป็นอย่างเดียว...กาก... PM2.5 ยังดูดีกว่าพวกมึงเลยบอกตรงๆ ตัวกูก็กระทบ กูก็ป่วย กูก็เป็นภูมิแพ้ กูยังต้องดูแลตัวเองเท่าที่ทำได้เลย ถ้ามันเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องดูแลตัวเองป่าววะ???....แม่งก็โดนทุกคนทั่วประเทศแหละ...
    23 ม.ค. 2563 เวลา 06.13 น.
  • APOLLO 13
    กรีนพรีช เป็นองค์กรที่ผมเห็นว่าดีทำเพื่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมทั่วโลก แต่อย่ากลายเป็น NGO ขายชาติ ขายตัวให้การเมืองสกปรกแบบ NGO หลานแก๊งในบ้านเรานะ เดี๋ยวจะ หมา
    23 ม.ค. 2563 เวลา 06.26 น.
ดูทั้งหมด