ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

จุดจบร้านกาแฟแฟรนไชส์! 1 ใน 10 ร้านกาแฟของเกาหลีใต้ปิดตัวลง เพราะแข่งต่อไม่ไหว

Brand Inside
อัพเดต 23 ต.ค. 2561 เวลา 06.16 น. • เผยแพร่ 23 ต.ค. 2561 เวลา 06.10 น. • Thongchai Cholsiripong
Coffee

หรือว่าจะถึงตอนอวสานของเชนร้านกาแฟในเกาหลีใต้ ปีที่ผ่านมาพบว่า มีร้านกาแฟท้องถิ่นปิดตัวไปไม่ต่ำกว่า 10% ทั้งประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยุคนี้ใครๆ ก็สนใจมาเล่นในตลาดกาแฟ อย่างร้านอาหารกับร้านสะดวกซื้อก็ลงมาเล่นกันสนุกสนาน

  • อ่านข่าวนี้จบ เราน่าจะกลับมาทบทวนตลาดร้านกาแฟในไทยกันบ้างไหม?
Coffee Photo: Shutterstock
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ฟองสบู่เชนร้านกาแฟในเกาหลีใต้?

ตามรายงานของ Korea Herald ระบุว่า ตลาดร้านกาแฟแฟรนไชส์ในเกาหลีใต้ได้เข้าสู่จุดอิ่มตัว และได้ทยอยปิดตัวสาขากันไปไม่น้อย คิดเป็นตัวเลขไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่ง โดยตัวเลขร้านกาแฟแฟรนไชส์ในเกาหลีใต้มีทั้งหมดกว่า 11,198 แห่ง

  • หรือพูดอีกอย่างได้ว่า ในปีที่ผ่านมา 1 ใน 10 ของร้านกาแฟแฟรนไชส์ในเกาหลีใต้ได้ปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ

Lee Kyung-hee ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจในเกาหลีใต้ บอกว่า สถานการณ์ของตลาดกาแฟในเกาหลีใต้เรียกได้ว่าเป็น “สงครามกาแฟ” (coffee war) เพราะนอกจากเชนร้านกาแฟที่เปิดสาขากันอย่างนับไม่ถ้วน ในด้านของ “บรรดาร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ ต่างก็เอาเมนูเครื่องดื่มกาแฟเข้ามาขายในร้าน ไม่เว้นแม้แต่ในออฟฟิศยุคนี้ ก็ต้องมีเครื่องชงกาแฟไว้ให้พนักงานกันแล้ว สงครามกาแฟในเกาหลีใต้รุนแรงมากจริงๆ”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ภาพของการขายกาแฟในร้านสะดวกซื้อ อาจเทียบได้กับบ้านเรา อย่างในเซเว่น อีเลฟเว่นที่ขายกาแฟสดในราคาที่สามารถแข่งขันกับร้านกาแฟท้องถิ่นได้ ส่วนในเกาหลีใต้จากข้อมูลเปิดเผยว่า กาแฟในร้านสะดวกซื้อมีราคาไม่เกิน 1,000 วอนหรือไม่ถึงถึง 1 ดอลลาร์ด้วยซ้ำ ด้วยราคาที่ต่ำขนาดนี้จึงไม่แปลกที่จะทำให้ร้านกาแฟท้องถิ่นอยู่ยาก

ภาพจาก Shutterstock

ตัวอย่างเชนร้านกาแฟเกาหลีใต้ที่กำลังทุรนทุราย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รายแรกคือCafe Droptop เชนร้านกาแฟท้องถิ่นในเกาหลีใต้ที่ก่อตั้งมา 7 ปีแล้ว

ถ้าดูจากจำนวนสาขาของ Cafe Droptop ทั่วประเทศมีทั้งหมด 240 สาขา ถือว่าแข็งแกร่งในระดับหนึ่ง (ถ้าไม่นับแบรนด์ต่างชาติอย่าง Starbucks ที่มีมากกว่า 1,000 สาขา) แต่ทั้งนี้ด้วยการแข่งขันจากรอบทิศทางในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ทำให้เชนร้านกาแฟท้องถิ่นรายนี้ต้องปลดพนักงานออกไปกว่า 1 ใน 5 เพื่อลดต้นทุนของบริษัทให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ต่อไป

ส่วนอีกรายคือ Caffe Bene เชนร้านกาแฟรายนี้ออกอาการหนักหนาสาหัส เพราะเพิ่งยื่นต่อศาลเพื่อขอคุ้มครองการล้มละลายไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ที่มา – Inside Retail

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 4
  • €¥£
    เฟรนไชส์พอขายดีก็ทำลวกๆ ร้านเล็กๆยังทำแก้วต่อแก้ว แต่ร้านใหญ่ๆไปยืนดูเลยจ้า ทำมาเป็นเหยือกๆ เยอะยิ่งกว่าโอเลี้ยงขวดอีก กลิ่นกาแฟสดไม่ต้องไปหาแล้วหายหมด โคลบริวว์ยังกะน้ำล้างแก้ว โปะแต่วิปครีมกับท็อปปิ้งสวยๆยังกับไอศกรีม เมนูสิบกว่าเมนูกาแฟมาจากเหยือกเดียวกันหมด แตกต่างไม่มาก พอเจ๊งก็โทษเศรษฐกิจ แต่ไม่แหกตาดูว่าคุณภาพมันลดลงแบบหน้ามือเป็นหลังตีน ล่าสุดนี่ร้านดังสาขารอบๆบ้าน กลายเป็นชงเหยือกใหญ่ๆไว้เทลงแก้วหมด ลาก่อย ไม่ได้ตังกูหรอก
    23 ต.ค. 2561 เวลา 15.00 น.
  • Arm
    ของไทย อเมซอน เจ้าตลาด รายย่อยๆอนาคตอาจต้องปิด แต่ อเมซอนยังไงก็รอดสำหรับคนไทย
    23 ต.ค. 2561 เวลา 15.00 น.
  • Dom
    ไทยจะตามไป...
    23 ต.ค. 2561 เวลา 14.43 น.
  • anopsss
    เปลี่ยนเป็นขายโอเลี้ยง..
    23 ต.ค. 2561 เวลา 11.29 น.
ดูทั้งหมด