LINE

เปิดผลศึกษา Y-Economy เมื่อ ‘คู่จิ้น’ ช่วยดันภาพแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับ

LINE for Business
เผยแพร่ 08 ต.ค. 2563 เวลา 03.35 น.

หลังจากปลุกปั้นซีรีส์ Y ใน LINE TV มาจนกลายเป็นช่องทางหลักในการรับชมซีรีส์ของผู้ที่ชื่นชอบแล้ว LINE ยังได้มีการสำรวจข้อมูลเชิงลึกของผู้ใช้งานที่ชื่นชอบซีรีส์ Y ที่แสดงให้เห็นถึงการเปิดกว้างทางสังคม และพร้อมที่จะเข้าไปสนับสนุนนักแสดงอย่างเต็มที่

เหตุผลหลักที่ทำให้ LINE สนใจรูปแบบวัฒนธรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นใหม่นี้ มาจากการสำรวจพฤติกรรมการรับชมคอนเทนต์บน LINE TV ที่มีผู้ใช้งานในไทยเกือบ 19 ล้านราย ใช้ในการเข้าถึงคอนเทนต์คู่จิ้นนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จากการศึกษาของ LINE Insight ได้แสดงให้เห็นถึงโลกใหม่ที่บรรดานักการตลาด และแบรนด์ต้องหันมาให้ความสนใจ เนื่องจาก Y-Economy นั้นกลายเป็นกลุ่มผู้ชมที่มีความหลากหลาย และเชื่อมถึงกันผ่านโลกดิจิทัลอย่างแข็งแรง

เริ่มจากด้วยการที่รูปแบบของคอนเทนต์ Y นั้นส่วนใหญ่จะถูกเผยแพร่ผ่านช่องทางดิจิทัลในรูปแบบของออนไลน์สตรีมมิ่งเป็นหลัก ทำให้พฤติกรรมในการรับชมแตกต่างจากการรับชมผ่านทางโทรทัศน์ทั่วไป โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับที่น่าสนใจ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เริ่มกันจาก New Adopter ที่เพิ่งเริ่มเข้าถึงคอนเทนต์ผ่านช่องทางออนไลน์เพียงครั้งเดียว ตามมาด้วย Core Watcher กลุ่มผู้ชมที่เริ่มมีความผูกพันธ์กับซีรีส์ Y มากขึ้น เริ่มรับชมซีรีส์ผ่านช่องทางออนไลน์ มีการรับชมย้อนหลังบ้าง และเริ่มมีการสนทนาเกี่ยวกับซีรีส์ Y ในกลุ่มเพื่อน

สุดท้ายคือ Fandom ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ติดตามที่พร้อมใจสนับสนุนศิลปิน-นักแสดงที่ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโทรทัศน์เพื่อช่วยเพิ่มเรตติ้งในการรับชม ก่อนตั้งใจดูผ่านช่องทางดิจิทัลหลายๆ ครั้งเพื่อให้ซีรีส์ที่ชื่นชอบมียอดการใช้งานสูงขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นซีรีส์ที่ได้รับความนิยม มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซีรีส์ Y ผ่านโซเชียลมีเดีย และพร้อมติดตามนักแสดงตามงานอีเว้นต์

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อศึกษาเข้าไปถึงพฤติกรรมของกลุ่ม Fandom ลึกลงไปจะพบถึงข้อมูลที่น่าสนใจ อย่างการปั่น #Hashtag เพื่อให้ติดเทรนด์ยอดนิยม พร้อมร่วมผลิตคอนเทนต์อย่างการแคปฉากไฮไลท์มาโพสต์ เพื่อสร้างความประทับใจ จนถึงการทำคลิป React เพื่อโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เพื่อให้ศิลปินที่ชื่นชอบได้รับการยอมรับในวงกว้าง

เห็นได้ว่า ด้วยรูปแบบของกลุ่มแฟนคลับที่เข้าไปสนับสนุนนักแสดงอย่างเต็มที่ ได้เปิดช่องให้แบรนด์สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้หลากหลาย ซึ่งจะช่วยเสริมทั้งภาพลักษณ์ และยอดขายให้แก่แบรนด์ไปในเวลาเดียวกัน เพราะผู้ชมกลุ่มนี้พร้อมที่จะเลือกซื้อสินค้าที่นักแสดงเข้าไปเป็นพรีเซ็นเตอร์

โดยปัจจุบันรูปแบบของโฆษณาที่นิยมมาใช้กับซีรีส์ Y จะไม่ได้แตกต่างจากโฆษณาในซีรีส์ออนไลน์มากนัก เพราะจะเน้นที่ Product Tie-in เป็นหลัก ทั้งการให้ตัวละครหยิบจับสินค้า พูดถึงประสบการณ์ในการใช้งาน หรือการเพิ่มฉากพิเศษในการใช้งานผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ซึ่งผลที่ได้รับกลับมาผู้ชมในกลุ่มนี้ก็พร้อมที่จะเข้าไปสนับสนุนด้วย

แล้วแบบนี้ จะวางแผนลงโฆษณาบน LINE TV คู่กับ TV ยังไง?

คำถามที่ตามมาของฝั่งแบรนด์ หรือนักการตลาดคือการวัดผลการโฆษณาผ่านทาง LINE TV จะสามารถนำไปเปรียบเทียบกับการลงโฆษณาทางโทรทัศน์ได้อย่างไร? ในจุดนี้ ทาง LINE จึงเข้าไปจับมือกับทาง Nielsen ประเทศไทย ร่วมกันพัฒนาเครื่องมือการวัดผลและวางแผนการซื้อโฆษณาร่วมทั้งบน TV และ LINE TV ขึ้นมา เพื่อวัดการรับชมจากทุกอุตสาหกรรมทีวี

โดยภายในงาน LINE Thailand Business 2020 ทาง Nielson ได้เผยถึงตัวอย่างผลการทดสอบเครื่องมือดังกล่าว ด้วยการนำเครื่องมืออย่าง Total Ad Ratings (TAR) ของทาง Nielson มาศึกษาเพิ่มเติมเทียบผู้ที่รับชมผ่านโทรทัศน์ กับผู้ชม LINE TV เพื่อให้สามารถหาผล Reach ร่วมได้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน

โดยเครื่องมือดังกล่าวจะช่วยทำให้นักการตลาดสามารถคำนวนเงินโฆษณาที่เหมาะสมในการเลือกใช้ทั้งผ่านช่องทางออฟไลน์ (TV) และดิจิทัล (LINE TV) ให้เหมาะสม และเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้แม่นยำมากที่สุด ซึ่งจะพร้อมให้แบรนด์ นักการตลาดได้เริ่มใช้งานเครื่องมือวัดผลนี้ได้ในเร็วๆ นี้