ไลฟ์สไตล์

เส้นเลือดขอด อันตรายมากกว่าแค่ขาไม่สวย โรคยอดฮิตที่ใครๆ อาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก

Khaosod
อัพเดต 17 ก.พ. 2564 เวลา 08.36 น. • เผยแพร่ 17 ก.พ. 2564 เวลา 08.29 น.

เส้นเลือดขอด ภัยอันตรายมากกว่าแค่ขาไม่สวย โรคยอดฮิต ที่ใครๆอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ

เชื่อได้ว่าเส้นเลือดขอดคงจะเป็นปัญหาหนักใจของใครหลายๆคน นอกจากจะเรื่องความสวยงามแล้ว เส้นเลือดขอดยังบ่งบอกถึงสถาวะเส้นเลือดในร่างกาย ซึ่งอาจหมายถึงว่าร่างกายกำลังเสี่ยงกับโรคหัวใจ , เส้นเลือดตีบตัน ซึ่งอาจเกิดปัญหาสุขภาพที่อันตรายต่อชีวิตได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เส้นเลือดขอด เกิดจากหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังมีความผิดปกติ ไม่สามารถลำเลียงดำเลือดกลับไปสู่หัวใจได้ทั้งหมด ทำให้เลือดดำค้างอยู่ภายในหลอดเลือดและเกิดการขยายตัวใหญ่ขึ้น เกิดเป็นเส้นเลือดขอด ซึ่งการขยายใหญ่ของหลอดเลือดดำอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย เช่น น้ำหนักตัวที่มากกว่าปกติ การตั้งครรภ์ พันธุกรรม หรือการรับประทานยาคุมเป็นเวลานาน หรือมักจะเกิดขึ้นกับคนที่ต้อยืนหรือนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีความเสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอดกว่าเพศชายหลายเท่าตัว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เส้นเลือดขอดไม่ได้เกิดขึ้นได้แค่ที่ขาเท่านั้น เส้นเลือดขอดยังสามารถเกิดขึ้นกับอวัยวะภายได้เช่นกัน เช่น เส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร เกิดจากพังผืดในตับ ดึงรั้งทำให้เกิดความดันเลือดในตับ และในหลอดอาหารสูงขึ้น จนเกิดเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร หากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารแตกจะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือด อาจถึงช็อกและเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังมีเส้นเลือดขอดที่ทวารหนัก (โรคริดสีดวง) เส้นเลือดขอดในมดลูก เป็นต้น

เส้นเลือดขอด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1.เส้นเลือดขอดแบบฝอย จะมีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ มีสีแดงหรือสีม่วง ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการมากนัก แต่อาจมีอาการปวดขาหรือปวดกล้ามเนื้อ

2.เส้นเลือดขอดขนาดกลาง จะเริ่มเส้นเส้นเลือดโป่งพองออกมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวมที่ขาและเท้า และเริ่มรู้สึกร้อนบริเวณส่วนขา

3. เส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ ระยะนี้จะมีเส้นเลือดพองนูดเป็นขดๆออกมาอย่างเห็นได้ชัด มีสีเขียวผสมม่วง ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บและปวด และอาการมีอาการอักเสบบริเวณผิวหนังด้วย ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รักษา เส้นเลือดอาจแตกจนเป็นแผล และเกิดเป็นโรคแทรกซ้อนซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียขาจนถึงขั้นเสียชีวิต

วิธีป้องกันโรคเส้นเลือดขอด
1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
2.ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้เกินค่า BMI
3.สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ อาการเส้นเลือดขอดจะค่อย ๆ หายไปเอง หลังจากคลอด 3 – 12 เดือน
4.หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนาน ๆ พยายามเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ ขยับแขนหรือขาจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
5.หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง
6.หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน ควรใช้เป็นรองเท้าส้นเตี้ยหรือรองเท้าเพื่อสุขภาพ จะช่วยลดเส้นเลือดขอดลงได้

วิธีการรักษาเส้นเลือดขอดจะขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยแพทย์ผู้ชำนาญการจะพิจารณาตามความเหมาะสม ได้แก่ 1.การรักษาแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แนะนำให้ใช้ถุงน่องชนิดพิเศษที่มีระดับความแน่น แตกต่างกันไล่ระดับจากเท้าที่แน่นที่สุดและลดหลั่นลงเมื่อสูงขึ้นเพื่อให้เลือดไหลกลับจากส่วนปลายขึ้นมาได้ดี
2.การฉีดสารเคมีที่เส้นเลือดขอด ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก โดยใช้เวลา 15 – 30 นาทีที่แผนกผู้ป่วยนอก ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
3.การใช้เลเซอร์ความร้อนหรือคลื่นวิทยุความถี่สูง โดยใช้หลักการรักษาด้วยการใส่สายขนาดเล็กใส่เข้าไปในหลอดเลือดดำแล้วอาศัยพลังงานจากเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุความถี่สูงที่ทำให้เส้นเลือดขอดฝ่อไป
4.การผ่าตัด ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ ต้องประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนนัดมาผ่าตัด งดน้ำและอาหาร 6 – 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง หลังผ่าตัดจะพันขาด้วย Elastic Bandage จากนั้นแนะนำให้ใส่ถุงน่องชนิดพิเศษต่อ และแพทย์จะนัดติดตามอาการ 1 – 2 สัปดาห์

ที่มา allwellhealthcare.com

ดูข่าวต้นฉบับ