กิน-ดื่ม

เรื่องเล่าจากวอร์ด'โควิด' หมอวอนเข้าใจโรค-เห็นใจคนไข้

เดลินิวส์
อัพเดต 31 มี.ค. 2563 เวลา 10.22 น. • เผยแพร่ 31 มี.ค. 2563 เวลา 03.29 น. • Dailynews
“ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ” หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โพสต์เรื่องเล่าจากวอร์ดโควิด-19 วอนอย่าตีตราคนไข้และญาติคนไข้ กำลังใจบุคคลากรทางการแพทย์มีมากพอแล้ว ตอนนี้ต้องช่วยกันเข้าใจโรคและเห็นใจคนไข้ด้วย

เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว @Opass Putcharoen เกี่ยวกับเรื่องเล่าที่เจอจากวอร์ดผู้ป่วยโควิด-19 โดยระบุข้อความว่า เรื่องเล่าจากวอร์ดโควิด เคสหนักที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ห้องไอซียูก็ต้องขยายจากที่เตรียมไว้ 4 เตียง ตอนนี้ต้องเตรียมเพิ่มขึ้นเพื่อรับผู้ป่วยได้ถึงเกือบ 20 คน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เรากำลังเปลี่ยนตึกทั้งตึกเป็นไอซียูสำหรับเคส COVID ที่อาการหนัก นอกเหนือไปจากจากวอร์ดปกติ 4 วาร์ดที่มีคนไข้โควิดแน่นอยู่แล้ว เมื่อวันก่อนมีเคสนึงใส่ท่อช่วยหายใจเพราะปอดอักเสบรุนแรง ตอนเช้าไปราวน์กับเรสสิเดนท์ รู้ว่าคนไข้เป็นคนขับแท็กซี่ผู้หญิงอายุสี่สิบปี น่าจะติดจากการสัมผัสนักท่องเที่ยว ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าเราไม่ค่อยเห็นผู้หญิงมาขับรถรับจ้าง เลยให้เรสสิเดนท์รีบโทรไปถามครอบครัวว่ามีปัญหาอะไรบ้างมั้ย ได้ความว่าตั้งแต่คนไข้มาอยู่โรงพยาบาลก็หยุดงาน รายได้ทั้งหมดหายไป

 

สามีขับรถรับจ้างได้เงินรายวัน ตอนนี้ต้องหยุดงานตั้งแต่มีการระบาด มีลูกเล็กๆสองคน ห้าขวบกับสองขวบ พอภรรยาติดโควิดก็ถูกไม่ให้อยู่ที่ห้องเช่าเพราะคนกลัวว่าติดโควิดมาจากภรรยา ต้องระเห็ดออกมาอยู่บ้านที่เถ้าแก่ที่กำลังสร้างไม่เสร็จ ใช้เงินเก็บที่มีอยู่สามพันบาท ยังไม่รู้ว่าจะทำยังไงต่อ พอรู้เรื่องเสร็จทุกคนช่วยกันทันที ตามแก็งค์พ่อลูกมา swab และให้นอนที่โรงพยาบาลรวมกันไปก่อน โชคดีที่ผลตรวจไม่เจอเชื้อโรคโควิดทั้งสามคน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

สิ่งที่ต้องรีบทำก็เพื่อออกใบยืนยันแล้วทางครอบครัวจะได้ไม่ถูกตีตราจากคนอื่น (จริงๆถ้าสังคมเข้าใจเราไม่จำเป็นต้องทำถึงขนาดตามครอบครัวของคนไข้มา swab เพราะถ้าเขากักตัว 14 วันไม่ออกไปไหนก็จะไม่ไปแพร่กระจายเชื้อให้ใคร) ช่วยลงทะเบียนช่วยเหลือ ระดมทุนมาช่วยในช่วงสามเดือนถัดจากนี้ ส่วนภรรยาตอนนี้นอนอยู่ไอซียูทางทีมช่วยกันดูแลอย่างเต็มที่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

เคสนี้เคสเดียวสะท้อนหลายๆมุมที่เราก็ยังต้องแก้ไขหรือมองข้าม สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือความเข้าใจเรื่องการติดต่อโรค การตีตราคนไข้และญาติของคนไข้ ยังมีเรื่องปัญหาสุขภาพที่มันผูกติดกับเศรษฐกิจและสังคม สิ่งที่ต้องการในตอนนี้คือทำให้การระบาดอยู่สั้นที่สุด เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเนื่องและวงกว้าง ช่วยกันทำ social distancing ให้มากที่สุด เมื่อโรคหยุดระบาดทุกสิ่งทุกอย่างจะค่อยๆฟื้นกลับมาใหม่ สร้างความเห็นอกเห็นใจกันในสังคมทั้งให้กับคนไข้และบุคคลากรที่กำลังช่วยดูแลคนไข้

 

“ผมว่ากำลังใจมาที่บุคคลากรทางการแพทย์มีมากมายพอแล้ว ตอนนี้สิ่งที่ต้องการคือช่วยกันเข้าใจโรคและเห็นใจคนไข้ด้วยครับ”

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 33
  • Rosemary
    ในความโหดร้ายของโรคย่อมมีสิ่งสวยงามเสมอ..ขอบพระคุณคนหมอและทีมงานที่ทำให้มีเรื่องราวดีๆในยามที่ประเทศเจอมรสุมใหญ่..ขอให้คุณหมอและทีมงานบุคลากรทั้งประเทศมีสุขภาพแข็งแรง..และเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่กำลังป่วยนะคะ..
    31 มี.ค. 2563 เวลา 10.46 น.
  • สมเกียรติ พัฒนฯ
    อ่านแล้วตื้นตันใจ ขนลุกครับ คุณหมอคนดี นี่สิผู้มีพระคุณ ขอบคุณครับ
    31 มี.ค. 2563 เวลา 10.42 น.
  • ต้น
    เห็นด้วยครับคุณหมอ ขอบคุณน้ำใจที่มีให้กับคนไข้ครับ สงสารครอบครัวนี้เลยครับ
    31 มี.ค. 2563 เวลา 10.39 น.
  • โบกี้
    ขอบคุณมากๆๆคุณหมอทุกๆๆท่าน
    31 มี.ค. 2563 เวลา 10.45 น.
  • ษมานิษฐ์
    สู้ๆนะคะเราจะผ่านไปด้วยกันขอเป็นอีก1กำลังใจค่ะ
    31 มี.ค. 2563 เวลา 10.44 น.
ดูทั้งหมด