ทั่วไป

โพลเผย'คนไทย'เจ็บหนักเหตุ'รายรับลด-ที่ทำงานถูกปิด' ชี้มีเงินสำรองอยู่ได้ไม่เกิน3เดือน

แนวหน้า
เผยแพร่ 04 มิ.ย. 2563 เวลา 06.10 น.

 

4 มิ.ย. 2563 นายเดชรัต สุขกำเนิด อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยแพร่ผลสำรวจเรื่อง “แนวทางการจัดระบบสวัสดิการสังคมเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19” ซึ่งสอบถามความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,998 คน จากทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 14-24 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา พบว่า 1.ชีวิตก่อนวิกฤติไวรัสโควิด-19 แบ่งเป็น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1.1 ด้านการงาน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 70 มีงานทำประจำอยู่แล้ว และมีเพียงร้อยละ 10 ที่ระบุว่าว่างงาน 

1.2 ด้านรายรับ-รายจ่าย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 45 มีรายได้ใกล้เคียงรายจ่าย รองลงมา ร้อยละ 25 มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ อันดับ 3 ร้อยละ 24 มีรายได้มากกว่ารายจ่าย และอันดับ 4 ร้อยละ 6 ไม่มีรายได้เลย และ 1.3 ด้านหนี้สิน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 35 มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน รองลงมา ร้อยละ 27 มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน อันดับ 3 ร้อยละ 21 ไม่มีหนี้สิน และอันดับ 4 ร้อยละ 16 มีหนี้สินแต่ไม่มีทรัพย์สิน

2.ด้านเงินออมสำรองยามวิกฤติ หรือ “กันชนทางการเงิน” กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 36 มีเงินสำรองอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน รองลงมา ร้อยละ 20 มีเงินสำรองอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน อันดับ 3 ร้อยละ 19 มีเงินสำรองอยู่ได้ไม่เกิน 1 เดือน และอันดับ 4 ร้อยละ 7 มีเงินสำรองอยู่ได้ถึง 1 ปี ส่วนกลุ่มตัวอย่างอีกร้อยละ 18 ระบุว่า ไม่เคยประเมินกันชนทางการเงินของตนเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

3.ผลกระทบต่อชีวิตในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19 แบ่งเป็น 3.1 ประเภทของผลกระทบ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 51 ระบุว่า ยอดขายหรือรายได้ลดลง รองลงมา ร้อยละ 28 สถานที่ค้าขายหรือทำงานถูกปิดทั้งหมด อันดับ 3 ร้อยละ 26 สถานที่ค้าขายถูกปิดทั้งหมดหรือบางส่วน อันดับ 4 ร้อยละ 14 ถูกเลิกจ้าง และอันดับ 5 ร้อยละ 10 คู่ค้าไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบใดๆ 

อย่างไรก็ตาม หากถามถึงระดับความรุนแรงของผลกระทบแต่ละประเภท กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เกือบร้อยละ 75 หรือ 3 ใน 4 ระบุว่า การถูกเลิกจ้าง หรือการที่สถานที่ค้าขายหรือที่ทำงานถูกปิดทั้งหมด ส่งผลกระทบรุนแรงที่สุด 3.2 ผลกระทบด้านรายได้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มี 2 กลุ่ม เท่ากันคือกลุ่มละร้อยละ 27 กลุ่มหนึ่งระบุว่า รายได้ลดลงกว่าร้อยละ 75 อีกกลุ่มระบุว่ารายได้ลดลงตั้งแต่ร้อยละ 50-74 

รองลงมา ร้อยละ 18 รายได้ลดลงร้อยละ 25-49 อันดับ 3 ร้อยละ 11 รายได้ลดลงร้อยละ 10-24 และอันดับ 4 ร้อยละ 6 รายได้ลดลงน้อยกว่าร้อยละ 10 โดยมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11 ที่รายได้เท่าเดิม (ไม่เพิ่ม-ไม่ลด เทียบกันระหว่างก่อน-หลังวิกฤติไวรัสโควิด-19) แต่ที่น่าสนใจคือ มีกลุ่มตัวอย่างไม่ถึงร้อยละ 1 ที่ระบุว่า มีรายได้เพิ่มขึ้นในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

3.3 ผลกระทบด้านรายจ่าย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 51 ระบุว่า มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ร้อยละ 16 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10-24 ร้อยละ 14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ร้อยละ 12 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25-50 และร้อยละ 9 เพิ่มขึ้นไม่ถึงร้อยละ 10 นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30 มีรายจ่ายเท่าเดิม ส่วนกลุ่มตัวอย่างอีกร้อยละ 19 ระบุว่า มีค่าใช้จ่ายลดลง ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ร้อยละ 9 รายจ่ายลดลงร้อยละ 10-50 ร้อยละ 7 รายจ่ายลดลงน้อยกว่าร้อยละ 10 และร้อยละ 3 รายจ่ายลดลงมากกว่าร้อยละ 50 
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/14RylUM7GUjUdnV706202NcBVxhVGjjA5/view?fbclid=IwAR0CH9HnkXCi8y-ZAe73dpHcoUveZj_DKOAP57eY8KEVarZ0Bu4saBn1dPo

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 4
  • เจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่ทำงานเช้าสายบ่ายลา นั่งรอเวลาเลิกงาน เงินเดือนก็ได้เท่าคนที่ทุ่มเททำงาน ไล่ออกได้แล้วมั้งแล้วเอาคนที่ตกงาน จากเอกชนมีความสามารถไปพัฒนาประเทศได้แล้วครับ ยิ่งประกันสังคม นี่รับไม่ได้ บอกว่าหาเอกสารไม่เจอให้ยื่นมาใหม่ คำตอบที่ทำลายความหวังของคนทั้งบริษักเอกชนแห่งหนึ่ง ตอบทั้งๆที่เดินวนอยู่5โต๊ะ หมดคำพูด นี่ถ้าเอกชนคุณทำเอกสารลูกค้าหาย ความผิดร้ายแรงนะ
    04 มิ.ย. 2563 เวลา 07.16 น.
  • traveller
    เจ้าของกิจการเลือกที่จะปิดหรือหยุดกิจการก่อนที่จะล้ม..ถือเงินสดไว้เริ่มต้นใหม่..คนที่เดือดร้อนจริงๆคือลูกจ้างพนักงาน
    04 มิ.ย. 2563 เวลา 07.09 น.
  • kawin
    บางรายจองวัดแล้ว ไม่ใช่แค่เจ็บหนัก
    04 มิ.ย. 2563 เวลา 07.08 น.
  • Kittitouch🌟2939
    ทำอะไรไม่ได้เพราะมีติดเชื้อทุกวัน แต่จากต่างประเทศทั้งนั้นกักตัวไว้เรียบร้อยแล้ว คนในประเทศก็ต้องโดนสั่งห้ามกันต่อไป
    04 มิ.ย. 2563 เวลา 06.28 น.
ดูทั้งหมด