ทั่วไป

ลูกหนี้เฮ!หลังประกาศห้าม'เจ้าหนี้' ทวงหนี้เกินวันละ1ครั้ง

เดลินิวส์
อัพเดต 23 ส.ค. 2562 เวลา 13.08 น. • เผยแพร่ 23 ส.ค. 2562 เวลา 13.04 น. • Dailynews
เว็บไซต์ “ราชกิจจานุเบกษา” เผยแพร่ประกาศห้าม “ทวงหนี้” เกิน 1 ครั้งต่อวัน มีผลบังคับใช้ 21 พ.ย.62

เมื่อวันที่ 23 ส.ค. เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ เรื่อง "จำนวนครั้งในการติดต่อทวงถามหนี้" อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 (3) และมาตรา 16 (1) แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ 1. ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ เรื่องจำนวนครั้งในการติดต่อทวงถามหนี้" 2. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 3. ให้ผู้ทวงถามหนี้ติดต่อลูกหนี้ หรือ บุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้ เพื่อการทวงถามหนี้ได้ทราบการทวงถามหนี้ ไม่เกินหนึ่งครั้งต่อหนึ่งวัน ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 โดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการก ากับการทวงถามหนี้

สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการทวงหนี้นั้น ทางเพจเฟซบุ๊ก"Law Inspiration"ได้อธิบายไว้ว่า กฎหมายทวงหนี้ 1 ครั้งต่อหนึ่งวันนั้นจะเริ่มบังคับใช้วันที่ 21 พ.ย. 62 นี้เป็นต้นไป การทวงหนี้หมายถึงการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 เท่านั้น ไม่รวมถึงการทวงหนี้ทั่วไป ผู้ทวงถามหนี้ตามกฎหมายนี้ หมายถึงเจ้าหนี้ผู้ให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือคนที่ซื้อหรือรับโอนหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนัน ที่สำคัญ คือ หนี้นั้นจะเป็นหนี้โดยชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เข้าข่ายทั้งสิ้น โดยตัวอย่างเจ้าหนี้ตามกฎหมายนี้ เช่น ธนาคาร บริษัทบัตรเดคริต บริษัทเช่าซื้อ เจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ เป็นต้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ถ้าเป็นกรณีเพื่อนยืมเงินเพื่อนแล้วไม่คืน ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ แต่ถ้าเจ้าหนี้ทวงเกินวันละหนึ่งครั้ง มีความผิดทางปกครอง คณะกรรมการทวงหนี้สามารถสั่งให้หยุดได้ ถ้าไม่หยุดก็อาจโดนโทษปรับทางปกครองสูงสุด 100,000 บาท นอกจากห้ามทวงหนี้เกินวันละหนึ่งครั้งแล้ว พ.ร.บ. ยังกำหนดเรื่องการทวงหนี้ว่า ห้ามพูดจาดูหมิ่นลูกหนี้, ห้ามข่มขู่ใช้ความรุนแรง, ห้ามประจาน และ ทวงได้แค่ 08.00 - 20.00 วันจันทร์ - ศุกร์ ส่วนวันหยุดราชการทวงได้ตั้งแต่ 08.00 - 18.00 เท่านั้น.

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก "Law Inspiration"

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 135
  • สุพร
    กฏหมายนี้ เหมือนดาบ สองคมถ้า มีดี มีเสีย เพราะถ้าเจ้าหนี้ คิดดอกเบี้ย ที่พอใจ ทึ้งสองฝ่ายไม่มีปัญหา สามารถฟ้องร้องได้ แต่ถ้าเจอลูกหนี้ไม่ดีเจ้าหนี้ก็มีปัญหา แต่ถึงยังไงข้อดี เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องได้ ถ้าคิดดีๆกฏหมายครอบคลุม คนเป็นหนี้ถึงจะหัวหมอแค่ไหน ไม่สามารถหลบหลีก กฎหมายได้แน่นอน
    25 ส.ค. 2562 เวลา 00.27 น.
  • ต้อม ครีโม 42
    ดีจังว่างมากละสิถึงออกกฎหมายมาแบบโง่ๆ
    24 ส.ค. 2562 เวลา 08.22 น.
  • Phanu Mongkol🦀
    เวลายืม..แทบจะคลานเข่ามาหา เวลาใช้..เป็เทวดาซะอย่างงั้น #ดูปากไว้นะ...กูไม่ให้ยืม
    24 ส.ค. 2562 เวลา 07.14 น.
  • สมเดช
    ตกลงคนเป็นหนี้แล้วไม่ใช้ คืน คือประชาชน ของรัฐบาลชุดนี้ จึงออกกฎหมายคุ้มครอง แก้ปัญหาปากท้องให้ ส่วนคนที่ให้เขายืมเงินไป แล้วไม่ได้คืน ไม่ใช่ประชาชน เลยไม่ต้องช่วย
    24 ส.ค. 2562 เวลา 06.00 น.
  • THEGAME
    เป้าหมายคือ จะไม่ให้มีหนี้นอกระบบช่ายไหม.? ถึงออกกฏหมายมาคุ้มครองลูกหนี้แบบนี้ (พวกเจ้าหนี้จะได้เลิกปล่อยกู้) พยายามคิดในแง่ดีละนะ หรือเพราะรัฐบาลเป็นหนี้เยอะกลัวเจ้าหนี้เขามาท่วงเงินคืน 555+
    24 ส.ค. 2562 เวลา 05.47 น.
ดูทั้งหมด