วันนี้ (26 มิ.ย.2561) ระบบเดินรถ BTS เกิดปัญหาขัดข้องอีกครั้ง ชวนให้สงสัยว่าความขัดข้องนั้นเกิดจากอะไร จะใช่คลื่นสัญญาณมือถือรบกวนหรือไม่ ? ตรวจสอบข้อมูลกับนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. พบคลื่นรบกวนนั่นคือ สัญญาณไวไฟ
ทำไมสัญญาณไวไฟถึงรบกวน BTS ได้ ?
เพราะ BTS ใช้คลื่น 2400 MHz ควบคุมระบบเดินรถ และสั่งการระหว่างกัน และ BTS ไม่ได้สร้างระบบป้องกันการโดนรบกวน
ไวไฟที่ไหนรบกวน BTS ?
ต้องตรวจสอบว่าเป็นไวไฟของใครมาจากแหล่งไหนกันบ้าง เพราะไวไฟ ย่าน 2400 MHz หน่วยงานไหน คนทั่วไปก็ใช้กันได้ กับโดรน (อากาศยานไร้คนขับ) ก็ใช้ เพราะเป็นคลื่นที่ กสทช.อนุญาตและจัดสรรไว้สำหรับให้ใช้แบบสาธารณะได้อยู่แล้ว แต่หน่วยงาน/องค์กรนั้นๆ ต้องขออนุญาตการใช้ ซึ่งแน่นอนว่าในปัจจุบัน ใครๆ ก็ใช้กันได้หลากหลาย
จึงมีความเป็นไปได้ว่า ระหว่างที่รถ BTS วิ่งผ่านจุดที่โดนกวน ทำให้ระบบการควบคุมและสั่งการไม่เสถียร ทาง BTS จึงจำเป็นต้องหยุดเดินรถบางสถานี หรือแช่รถที่ชานชาลานานกว่าปกติ เพื่อตรวจสอบระบบการเดินรถ หรือปล่อยรถจนแน่ใจว่าปลอดภัยจริงๆ จึงจะสั่งการได้
BTS รู้ปัญหานี้หรือไม่ ?
BTS รู้แน่นอนและรู้มาก่อนแล้วด้วยว่าการใช้คลื่น 2400 MHz เพื่อควบคุมระบบสั่งการเดินรจะไม่ได้รับการคุ้มครองการใช้คลื่นย่านนี้จาก กสทช. เพราะ BTS เคยถาม กสทช. และ กสทช. มีหนังสือตอบกลับไปให้รับทราบแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ ซึ่ง BTS รู้ดีว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น กสทช.เตือนไปก่อนหน้านี้แล้ว หลังจาก BTS มีหนังสือแจ้งขอใช้งานอุปกรณ์โทรคมนาคม
แล้วทำไมเขาจึงยังใช้คลื่นนี้ ประเมินอย่างไร ?
เรื่องนี้ต้องไปถามทาง BTS
ศักยภาพของคลื่น 2400 MHz ที่ปล่อยสัญญาณให้คนทั่วไป /องค์กรใช้ ไกลแค่ไหน ?
ถ้าเป็นห้องก็ทะลุได้ 2 ห้อง แต่กำแพงห้องที่ 3 นี่ทะลุไม่ได้แล้ว
ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินไม่โดนรบกวน ?
คลื่นไม่ลงไปถึงใต้ดิน เพราะคลื่นแต่ละคลื่นมีความเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน
ทางออกของ BTS จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง ?
เขารับทราบมาก่อนอยู่แล้วว่าปัญหาคืออะไร รู้มานานแล้ว แต่ไม่ได้แก้จริงจัง จนทำให้ระบบคลื่นควบคุมรถโดนรบกวน ทางออกคือต้องสร้างระบบป้องกัน ไม่ให้คลื่นความถี่โดนรบกวน แต่การลงทุนแพง อยู่ที่ BTS จะกล้าลงทุนหรือไม่
มีทางออกอื่นอีกไหม?
มีอีกทางคือการขอเปลี่ยนย่านความถี่ ไปใช้ย่านอื่นที่ไม่ใช่ 2400 MHz เพื่อควบคุมระบบเดินรถและสั่งการ
ซึ่งปัจจุบัน กสทช. กันคลื่น 5 เมกฯ ย่าน 800- 900 MHz ไว้ให้ใช้สำหรับการควบคุมรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่กำลังจะก่อสร้างอยู่แล้ว BTS สามารถประสานมาขอใช้คลื่นนี่ได้ ใน 2 รูปแบบ
รูปแบบแรก คือ กทม. เป็นเจ้าของสัมปทาน กับ BTS ให้ กทม. ทำเรื่องขอมารับใบอนุญาตแทน BTS กสทช. มีย่านอื่นให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมอยู่แล้ว แค่ประสานมา
รูปแบบที่ 2 คือ กระทรวงคมนาคมเจ้าของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ประสานมาขอใบอนุญาต เพื่ออนุญาตให้ BTS ใช้ร่วม แต่อาจต้องรอคอยช่วงปี 2562 ที่โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงน่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งการให้ กทม. หรือกระทรวงคมนาคมขอใบอนุญาต เพราะเป็นหน่วยงานที่ต้องไปกำกับ BTS อีกทีหนึ่ง
สำหรับประเทศไทยการควบคุมการเดินรถไฟฟ้า เช่น บีทีเอส รถไฟใต้ดิน (MRT) และ แอร์พอร์ตเรล ลิ้งค์ จะเน้นใช้ระบบแบบ Communication Based Train Control (CBTC) ที่ใช้สื่อสารในการปฏิบัติงานควบคุมกับรถไฟและศูนย์ควบคุม ผ่านคลื่นความถี่ 2400 MHz (WiFi ) หรือเทคโนโลยีแบบ 5G หรืออาจจะไปใช้เครือข่าย GSM-R ซึ่งป็นที่นิยมของการควบคุมระบบรถไฟความเร็วสูงในหลายประเทศ หรือคลื่นย่าน 900 MHz ส่วนคลื่นโทรศัพท์ที่ทั่วโลกและไทยนิยมใช้คือ คลื่นย่าน 800 / 900/ 1800 และ 2100 MHz
อ่านข่าวเพิ่มเติม
ยังแก้ไม่ได้ "บีทีเอส" ขัดข้องอีกวันที่ 2
คมนาคมเรียก"บีทีเอส" แจงปัญหาขัดข้องวันเดียว 3 ครั้งรวด
"บีทีเอส" ขัดข้อง ระบบอาณัติสัญญาณ ทำขบวนรถล่าช้า 10 นาที
"บีทีเอส" ขัดข้อง 7 ครั้งในรอบ 3 เดือน ผู้โดยสารหวังแก้ปัญหารวดเร็ว
อ้อม ถ้าจำไม่ผิด... BTS ติดตั้งแผงกั้นสัญญาณรบกวนก็น่าจะแก้ปัญหาได้นี่นา
26 มิ.ย. 2561 เวลา 09.41 น.
NONAME 555ขัมขำbtsโทษคนอื่น555
26 มิ.ย. 2561 เวลา 09.13 น.
Sanya อ่านรายละเอียดแล้ว ผู้ที่ชี้แจงคือรองเลขาธิการ กสทช.
ไม่ใช่ BTS
26 มิ.ย. 2561 เวลา 07.39 น.
Pi_3llionaire รู้แต่ไม่แก้ รู้แต่ยังดันทุรัง
26 มิ.ย. 2561 เวลา 07.09 น.
Niramone ดีแล้วที่พบสาเหตุระบบขัดข้องแล้ว
26 มิ.ย. 2561 เวลา 06.37 น.
ดูทั้งหมด