ทั่วไป

ตรวจสอบ!! 'ฉีดวัคซีนโควิด-19' ในคนไทย กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ระดับไหน?

กรุงเทพธุรกิจ
อัพเดต 17 พ.ค. 2564 เวลา 11.31 น. • เผยแพร่ 17 พ.ค. 2564 เวลา 11.32 น.

เหลือเวลาอีก 14 วัน สำหรับการลงทะเบียนจอง "ฉีดวัคซีนโควิด-19" ผ่านแอปพลิเคชั่น "หมอพร้อม"สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มแรก ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ซึ่งรวมแล้วมีจำนวนทั้งหมด 16 ล้านคน

โดยยอดการจอง "ฉีดวัคซีนโควิด-19" ล่าสุด (วันที่ 17 พ.ค.2564 เวลา 08.00 น.) จากเพจ"หมอพร้อม" เปิดเผยว่า ขณะนี้จำนวนการจองคิว "ฉีดวัคซีนโควิด-19" สะสม 6,389,930 ราย แบ่งเป็น  จำนวนการจองคิว "ฉีดวัคซีนโควิด-19" กรุงเทพมหานตร 715,446 ราย  จำนวนการจองคิว "ฉีดวัคซีนโควิด-19" ในต่างจังหวัด 5,674,484 ราย 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
162125048487

 ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยผลการศึกษาประสิทธิผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนโรคโควิด-19 ทั้งสองชนิดที่ฉีดในคนไทย ของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า

ทั้งวัคซีน "ซิโนแวค" และวัคซีนของ "แอสตร้าซิเนก้า"สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมากผู้ได้รับวัคซีนเกือบทุกรายสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูง โดย 97.26% ของผู้ที่ฉีดวัคซีน แอสตร้าซิเนก้า เข็มแรกแล้ว 4 สัปดาห์ และ 99.49% ของผู้ที่ฉีดวัคซีน ซิโนแวคสองเข็มแล้ว 4 สัปดาห์ สามารถสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
162125065325
  • รายงานประสิทธิภาพ "ฉีดวัคซีนโควิด-19" 

ทั้งนี้ ในการศึกษานี้ ได้ทำการตรวจวัดระดับแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเลือ ด้วยวิธี Roche Elecsys Electrochemiluminescence lmmunoassay (ECLIA) ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ เป็นกลุ่มต่างๆ ได้แก่  กลุ่มผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด โดยเจาะเลือดหลังจากนั้น 4-8 สัปดาห์ เพื่อดูว่าการติดเชื้อโดยธรรมชาติจะสามารถกระตุ้นระบบ"ภูมิคุ้มกัน"ให้สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่?

กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน กลุ่มที่ฉีดวัคซีน "แอสตร้าซิเนก้า" โดยเจาะเลือดก่อนฉีด และหลังฉีดเข็มที่หนึ่งแล้ว 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ฉีดวัคซีน "ซิโนแวค" โดยเจาะเลือดก่อนฉีด หลังฉีดเข็มที่หนึ่งแล้ว 3 สัปดาห์ และหลังฉีดเข็มที่สองแล้ว 4 สัปดาห์

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
162125067011

สำหรับผลการตรวจวัดระดับแอนติบอดี และ % ตรวจพบแอนติบอดีในกลุ่มต่างๆ ซึ่งบ่งถึงการกระตุ้นระบบ"ภูมิคุ้มกัน" เป็นดังนี้ (crying)กรณีที่การติดเชื้อโดยธรรมชาติ พบว่า กลุ่มผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อและไม่ได้ฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ) ขณะที่ กลุ่มผู้เคยมีการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ตรวจพบแอนติบอดี 92.40% (243 ใน 263 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 60.9 unit/ml

ในส่วนของ (syringe)วัคซีนของ "แอสตร้าซิเนก้า" ก่อนฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ) หลังฉีดเข็มแรก 4 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 97.26% (71 ใน 73 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 47.5 unit/ml ยังไม่มีผลการตรวจหลังฉีดเข็มที่สอง เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดเวลาฉีดเข็มที่สอง

162125068812
  • "ฉีดวัคซีนโควิด-19" กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากกว่า 90%

เมื่อวิเคราะห์ตามกลุ่มอายุและตามเพศของผู้ฉีดวัคซีน "แอสตร้าซิเนก้า"โดยละเอียดแล้ว พบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีน "แอสตร้าซิเนก้า"เข็มแรก เป็นเวลา 4 สัปดาห์นั้น เพศชาย ตรวจพบแอนติบอดี 93.55% (29 ใน 31 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 32.9 unit/ml เพศหญิง ตรวจพบแอนติบอดี 100% (42 ใน 42 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 62.3 unit/ml

ขณะที่ กลุ่มอายุ 18-59 ปี ตรวจพบแอนติบอดี 100% (44 ใน 44 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 67.2 unit/ml ส่วน กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี ตรวจพบแอนติบอดี 93.11 % (27 ใน 29 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 28.1 unit/ml

162125075870

ด้าน(syringe)(syringe)วัคซีนของ "ซิโนแวค" ก่อนฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ) หลังฉีดเข็มแรก 3 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 65.96% (124 ใน 188 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 1.9 unit/mlหลังฉีดเข็มที่สอง 4 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 99.49% (196 ใน 197 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 85.9 unit/ml

ดังนั้น วัคซีน "ซิโนแวค" สามารถกระตุ้น "ภูมิคุ้มกัน"ได้ดีมาก โดยเริ่มสร้างแอนติบอดีหลังฉีดเข็มแรก (ระดับยังต่ำ) และเพิ่มมากขึ้นหลังฉีดครบสองเข็ม ซึ่ง 99.49% ของผู้ที่ฉีดครบสองเข็มแล้วสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูงมาก

162125077889

โดยสรุปแล้ว วัคซีนทั้งสองชนิดสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ผู้ได้รับวัคซีนเกือบทุกรายสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูง โดย 97.26% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าซิเนก้าเข็มแรกแล้ว 4 สัปดาห์ และ 99.49% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคสองเข็มแล้ว 4 สัปดาห์ สามารถสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

แหล่งข้อมูล: ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนับสนุนการวิจัยโดย: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และบริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ 

ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ดูข่าวต้นฉบับ