สำหรับใครมองหาที่ดินทำเลทองกรุงเทพฯ-ปริมณฑล เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยหรือเก็บไว้เกร็งกำไรในอนาคต วันนี้เราจะพาส่องราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล โดยล่าสุด ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้รายงาน ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ไตรมาส 4 ปี 2565 มีค่าดัชนีเท่ากับ 381.4 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนามีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ย 5 ปีก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19
โดยนายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเปล่ามีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง มาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังมีปัญหายืดเยื้อต่อเนื่อง กระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม ที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจไทย ปี 2566 ขยายตัวลดลง รวมถึงรัฐบาลได้ประกาศจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเต็มอัตราโดยไม่ได้รับส่วนลด 90% เหมือนเช่นในปี 2562 – 2563 ที่ผ่านมา
- เปิด 4 กลโกงหลอกดูดเงินจากบัญชี รู้ไว้จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
- ริว อาทิตย์ แจงเหตุผล นอนข้างทางทั้งที่มีห้องพัก หลังถูกแฉทำเพื่อสร้างภาพ
- รวบ "เจ๊มล เจ้าแม่บัญชีม้า" สารภาพหมดเปลือก รู้ว่าผิดกฎหมายแต่ต้องใช้เงิน
และกรมธนารักษ์ประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่รอบปี 2566-2569 ในวันที่ 1 มกราคม 2566 หลังเลื่อนใช้รอบใหม่มาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งมีผลทำให้ภาพรวมของราคาประเมินที่ดินทั้งประเทศ ปรับขึ้นเฉลี่ยประมาณ 8% ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ได้ทำให้เจ้าของที่ดินได้ปล่อยอุปทานที่ดินสู่ตลาดเพื่อลดภาระการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขณะเดียวกันความต้องการซื้อที่ดินสะสมในตลาดก็ลดลงอีกด้วย
เปิด 5 อันดับทำเลทอง ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมากสุด
ในไตรมาส 4 ปี 2565 นี้ พบว่า โซน ที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดังนี้
อันดับ 1 ได้แก่ ที่ดินในโซนบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง มีอัตราการเปลี่ยนราคามากถึงร้อยละ 57.3
อันดับ 2 ได้แก่ ที่ดินในโซนเมืองนนทบุรี-ปากเกร็ด มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ 46.9
อันดับ 3 ได้แก่ ที่ดินในโซนเมืองปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-สามโคก มีอัตราการเปลี่ยนราคาราคาร้อยละ 31.9
อันดับ 4 ได้แก่ ที่ดินในโซนกรุงเทพชั้นใน มีอัตราการเปลี่ยนราคาราคาร้อยละ 16.6
อันดับ 5 ได้แก่ ที่ดินในโซนบางเขน-สายไหม-ดอนเมือง-หลักสี่-มีนบุรี-หนองจอก-คลองสามวา-ลาดกระบัง มีอัตราการเปลี่ยนราคาราคาร้อยละ 10.1%
จากภาวะราคาที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ที่ดินที่อยู่บริเวณพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯและปริมณฑลมีการเปลี่ยนแปลงของราคาในลักษณะปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากราคาซื้อขายยังไม่สูงมากนัก และยังมีความต้องการนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบมาก เนื่องจากสามารถควบคุมต้นทุนของราคาที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยได้ ในขณะที่ราคาที่ดินในเขตชั้นในและชั้นกลางของกรุงเทพฯ มีราคาที่สูงอยู่แล้ว แม้ว่าจะมีการปรับตัวขึ้นบ้าง จึงทำให้อัตราร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาไม่สูงดังเช่นในพื้นที่ชานเมือง
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews