ทำความรู้จัก "ดาวเทียมนภา-1" ดาวเทียมเพื่อความมั่นคงของกองทัพอากาศไทย ติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ ยืนยันไม่ได้ใช้เพื่อการรบ หรือ ติดตามเฝ้าระวังใคร
ตามกำหนดการเดิม วันที่ 19 มิถุนายน 2563 เวลา 08.51 น. ตามเวลาประเทศไทย ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง "นภา-1" ดาวเทียมดวงแรกของ กองทัพอากาศ ไทย จะยิงขึ้นสู่ชั้นอวกาศ "ดาวเทียมนภา-1" ถือเป็นสมบัติของชาติ มีอายุการใช้งาน 3 ปี ภารกิจหลักของดาวเทียมดวงนี้ เพื่อลาดตระเวน และเฝ้าตรวจทางอวกาศ สำหรับการตรวจการพื้นที่ในประเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคง
นอกจากนี้ กองทัพอากาศ ยังสามารถใช้ขีดความสามารถของดาวเทียม ในการสนับสนุนงานด้านบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ เช่น การสนับสนุนข้อมูลพื้นที่จุดความร้อน เพื่อการดับไฟป่า และการสนับสนุนข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งในระดับประเทศ ซึ่งเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการลาดตระเวน และเฝ้าตรวจทางอวกาศ เพื่อความมั่นคงและการพัฒนาประเทศในอนาคต
แต่ล่าสุดการยิงดาวเทียมครั้งสำคัญ ต้องถูกเลื่อนออกไปก่อนเนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย โดย พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย โฆษกกองทัพอากาศ แจ้งว่า ตามที่กองทัพอากาศ ได้แจ้งกำหนดการยิงนำส่งดาวเทียมเพื่อความมั่นคง "นภา-1" (NAPA-1) ขึ้นสู่อวกาศ ด้วยจรวด VEGA จากฐานยิงจรวด Ariane Launch Area 1 ณ เฟรนช์เกียนา สาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ตั้งอยู่ทางตอนบนของทวีปอเมริกาใต้ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2563 เวลา 08.51 น. ตามเวลาประเทศไทยนั้น
บริษัท Arianespace ผู้รับผิดชอบการยิงจรวด VEGA นำส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศในครั้งนี้ แจ้งว่า สภาพอากาศบริเวณฐานปล่อยจรวดในวันดังกล่าว ไม่เอื้ออำนวยจากความเร็วลมที่เกินพิกัด จึงขอเลื่อนกำหนดการยิงนำส่งดาวเทียม "นภา-1" (NAPA-1) ออกไปจนกว่าสภาพอากาศจะมีความเหมาะสม
พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ ย้ำว่า หากได้รับการยืนยันกำหนดการยิงนำส่งดาวเทียม เพื่อความมั่นคงที่แน่นอนแล้ว จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง แต่เบื้องต้นทางเว็บไซต์ของบริษัทแจ้งว่า การยิงดาวเทียมเร็วที่สุดที่จะส่งได้คือวันที่ 20 มิถุนายน 2563 แต่ถ้าเวลาไทยจะเป็นวันที่ 21 มิถุนายน 2563
ทำความรู้จัก "ดาวเทียมนภา-1"
"ดาวเทียมนภา-1" สร้างโดยบริษัท Innovative Solutions In Space (ISIS) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในการออกแบบ และสร้างดาวเทียมขนาดเล็ก การพัฒนาระบบสถานีภาคพื้น
"ดาวเทียมนภา-1" เป็นดาวเทียม Nano Satellite รูปแบบคิวบ์แซต (CubeSat) ขนาด 6U (10 ซม. X 20 ซม. X 30 ซม.) จะส่งขึ้นสู่วงโคจรแบบ Low Earth Orbit ที่ความสูงประมาณ 500 กิโลเมตรจากพื้นโลก มีวงโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous) นำส่งโดยจรวด VEGA ของบริษัท แอเรียนสเปซ (Ariane Space) ของฝรั่งเศส จรวด VEGA นั้นเป็นจรวดนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กที่จะเน้นการปล่อยดาวเทียมสำรวจโลก และดาวเทียมสำหรับใช้ในด้านวิทยาศาสตร์
พล.อ.ต.สุพิจจารณ์ ธรรมวาทะเสรี ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศ ระบุว่า การยิงดาวเทียมนภา-1 เกิดขึ้นโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ เนื่องจากในปัจจุบันหลายประเทศได้มีการพัฒนา และแสวงหาการใช้ประโยชน์จากกิจการอวกาศ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่มีมูลค่ามหาศาล และผลประโยชน์แห่งชาติจากกิจการอวกาศของประเทศไทยก็มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเช่นกัน
จากการศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ในปี 2562 พบว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของอุตสาหกรรมอวกาศของไทยมีรายได้อยู่ที่ 5.6 หมื่นล้านบาท ทำให้เกิดการจ้างงานได้ 1.6 ล้านคน สร้างมูลค่าทางสังคมกว่า 5.8 พันล้านบาท และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 2.9 หมื่นล้านบาท โดยประกอบด้วย ส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น การขนส่งทางอวกาศ ระบบรับสัญญาณภาคพื้นดิน ฯลฯ ซึ่งมีสัดส่วนรายได้สูงสุดถึง 42%
ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 60 กำหนดหน้าที่ของรัฐไว้ว่า "รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่ และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน” ตลอดจนยุทธศาสตร์ชาติก็ได้กำหนดประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงทางอวกาศด้วยเช่นกัน
ด้วยความสำคัญด้านความมั่นคงและภัยคุกคามทางอวกาศที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต กองทัพอากาศจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี และกำหนดให้มิติอวกาศเป็นหนึ่งในมิติหลักในการปฏิบัติภารกิจ และได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศเมื่อเดือนตุลาคม 2562 เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในอวกาศ และการปฏิบัติการทางอวกาศทั้งปวงเพื่อความมั่นคงของประเทศ
ทั้งนี้ เทคโนโลยีอวกาศสามารถตอบสนองในการพัฒนาประเทศได้หลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การพยากรณ์อากาศ การวางผังเมือง การช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย การสื่อสารและโทรคมนาคม รวมถึงการใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคงในการลาดตระเวนเฝ้าระวังบริเวณพื้นที่ชายแดน
สำหรับเป้าหมายของการใช้ นภา-1 คือ การเฝ้าระวังทางอวกาศ เพื่อค้นหา ติดตาม และพิสูจน์ทราบภัยคุกคามจากอวกาศที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ด้านอวกาศของประเทศ เช่น ดาวเทียมของต่างชาติเข้ามาใช้วงโคจรดาวเทียมค้างฟ้าที่ประเทศไทยได้สิทธิอยู่, การชนดาวเทียมของไทยโดยวัตถุอวกาศ และเหตุการณ์ชิ้นส่วนจรวดหรือดาวเทียมตกใกล้ประเทศไทย เป็นต้น
การข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวนทางอวกาศ มีภารกิจด้านการข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวนทางอวกาศ (Space ISR) ที่จะสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการทางอากาศของกองทัพอากาศได้ทั้ง ระดับยุทธศาสตร์ ระดับยุทธการ และระดับยุทธวิธี ทั้งในภารกิจการปฏิบัติการรบและการปฏิบัติการที่มิใช่การรบ โดยการใช้ภาพถ่ายหรือข้อมูลจากดาวเทียม แล้วดำเนินการปรับแก้และประมวลผลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ด้วยขีดความสามารถของดาวเทียม “นภา 1” ที่สามารถถ่ายภาพพื้นโลกจากอวกาศ และเข้าถึงพื้นที่ปฏิบัติการได้ทั่วประเทศไทย ทำให้สามารถตอบสนองภารกิจการปฏิบัติการทางอากาศและอวกาศ การลาดตระเวน และเฝ้าตรวจตามแนวชายแดน การสนับสนุนการพัฒนาประเทศ การบรรเทาสาธารณภัย ตลอดจนจะเป็นรากฐานอันสำคัญในการพัฒนาสร้างอุตสาหกรรมอวกาศภายในประเทศไทยได้อีกด้วย
พล.อ.ต.สุพิจจารณ์ ยืนยันว่า การยิงส่ง "ดาวเทียมนภา-1" ขึ้นไปอวกาศนั้น มีจุดประสงค์หลักเพื่อรักษาความมั่นคงภายในประเทศ ไม่ใช่เพื่อการรบหรือสอดส่องติดตามใคร ใช้เพื่อพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเกษตรกรรม ป่าไม้ ทรัพยากระรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ชลประทาน โดยยืนยันว่า "นภา-1" จะไม่ได้ขึ้นไปทำงานซ้ำซ้อนกับดาวเทียมอื่น เช่น ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ใช้งบประมาณเท่าไร พล.อ.ต.สุพิจจารณ์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามดังกล่าว โดยระบุสั้นๆ ว่า ขออนุญาตไม่ตอบ แต่ยืนยันว่าเป็นงบประมาณในส่วนของกองทัพอากาศเอง
อ่านข่าวเพิ่มเติม
ตอบไม่ได้ เพราะแดกไปแยอะนะชิมึง
19 มิ.ย. 2563 เวลา 00.47 น.
•Ä• メ3 ไม่มีอะไรเลย มีแต่น้ำ สรุปตั้งงบหาแดก ทำงานซ้ำซ้อน จะไปสู้ภัยคุกคามทางอวกาศ ประสาทแดกชิบหายทหารประเทศกะลา
19 มิ.ย. 2563 เวลา 01.10 น.
vanish ไม่มีอะไรจะคิดเห็นวะ มีแต่พวกควายคุมกฏหมาย
19 มิ.ย. 2563 เวลา 01.09 น.
P a n d o r a ตลกดี ใช้งบประมาณเท่าไหร่ไม่ตอบ เป็นงบของทัพอากาศเอง เงินมาจากไหนครับ
มีดาวเทียม ก็ต้องมีศูนย์ควบคุม หรือเป็นความลับอีก
19 มิ.ย. 2563 เวลา 01.46 น.
เอ๋ เอางบประมาณไปเปลี่ยนคอมพิวเตอร์
ของกระทรวงแรงงาน ให้ดีขึ้นเถอะ
อย่ามาอ้างว่าไม่จ่ายประกันสังคมคืน
เพราะคอมเก่า
19 มิ.ย. 2563 เวลา 01.56 น.
ดูทั้งหมด