ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

Wellness Economy ไทย ติดอันดับโลก มูลค่ากว่า 1.4 ล้านล้าน มีแนวโน้มโตเฉลี่ย 7-10% ต่อปี

Thairath Money
อัพเดต 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพไฮไลต์

ปัจจุบัน เทรนด์การดูแลสุขภาพ หรือ เวลเนส (Wellness) กำลังเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนกลายมาเป็นเทรนด์ที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

Global Wellness Institute และ BDMS Wellness Clinic ได้มีการผสานความร่วมมือต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อศึกษาโอกาสของประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจเวลเนส ที่มีมูลค่าเติบโตรวดเร็วเป็นอันดับ 1 ของโลก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่งในงานวิจัยใหม่ที่มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประเทศไทย พบว่ามีการเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 1 ของโลกในด้านการเติบโตของตลาดสุขภาพ ระหว่างปี 2565 - 2566 โดยมีอัตราการเติบโตสูงถึง 28.4% และมีมูลค่าถึง 40.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก

ดังนั้น ด้วยความร่วมมือระหว่าง Global Wellness Institute (GWI) นำโดย Susie Ellis, CEO of GWI และ นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร BDMS Wellness Clinic และ BDMS Wellness Resort บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ที่สะท้อนถึงศักยภาพของไทยในฐานะผู้นำด้าน Wellness Tourism และแนวทางขับเคลื่อน Wellness Hub Thailand ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเพื่อก้าวเป็น Global Wellness Destination

สรุปสาระสำคัญจากรายงาน “ข้อมูลเศรษฐกิจเชิงสุขภาพของประเทศไทย ปี 2566”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1. ประเทศไทย: ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก

  • ประเทศไทยได้รับการยอมรับด้าน Wellness Tourism เนื่องจากมีบริการที่มีคุณภาพสูง ในราคาที่เข้าถึงได้เมื่อเทียบกับประเทศตะวันตก
  • จุดแข็งของไทยคือ การแพทย์เชิงป้องกัน (Preventive Medicine) ที่สามารถช่วยตรวจจับโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ลดภาระด้านสุขภาพของประชากรในระยะยาว

2. Wellness Economy ของไทยติดอันดับโลก

  • รายงานของ Global Wellness Institute ระบุว่า อุตสาหกรรม Wellness Economy ของไทยมีมูลค่ากว่า 40.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท)
  • Wellness Tourism เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทย คิดเป็นสัดส่วนใหญ่ของ GDP ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้อันดับ 1 ในทั้งหมด 11 อุตสาหกรรมเวลเนสประเทศไทย มูลค่าปีล่าสุดสูงถึง 415,000 ล้านบาท

3. ปัจจัยที่ผลักดันประเทศไทยสู่ Wellness Hub ระดับโลก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อน Wellness Hub Thailand ภายใต้แนวคิด 5S ที่ช่วยให้ไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

S1: Scientific Wellness Services – บริการสุขภาพมาตรฐานระดับโลก

  • การใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น AI, Telemedicine และการวิเคราะห์ทางพันธุกรรม (Genome) และวิทยาศาสตร์การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) เพื่อดูแลสุขภาพเชิงป้องกันสนับสนุนให้ประชาชนสุขภาพดี

S2: Signature Thai Wellness – การบูรณาการศาสตร์ไทยสู่มาตรฐานสากล

  • สมุนไพรไทย นวดไทย และสปาไทย กำลังได้รับความนิยมในระดับนานาชาติ
  • มีการนำศาสตร์แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกมาผสานกับเวชศาสตร์ป้องกันและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

S3: Sustainable Wellness Tourism – การท่องเที่ยวสุขภาพที่ยั่งยืน

  • ไทยเป็นประเทศที่มีแหล่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็น Green Wellness Destination การพัฒนาสถานที่พักฟื้นและศูนย์สุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

S4: Smart Healthcare Technology – เทคโนโลยีสุขภาพอัจฉริยะ

  • ใช้ AI และ Big Data ในการดูแลสุขภาพ ปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน

S5: Safe & Trusted Destination – ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ

  • มีมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัยสูง ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มองหาบริการด้านสุขภาพที่เชื่อถือได้

นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ ได้กล่าวถึงศักยภาพของไทยในฐานะ Wellness Destination ว่า เรามีทุกอย่างครบครัน ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูง ราคาไม่แพง ความเชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน, สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม, อาหารไทยเพื่อสุขภาพ, การแพทย์แผนไทย, การนวดไทย, สมุนไพรไทย, การต้อนรับสวัสดีอันอบอุ่นของไทย และวัฒนธรรมสุขภาพที่แข็งแกร่ง

ประเทศไทยพร้อมแล้วที่จะเป็นผู้นำด้าน Wellness Tourism ของโลก และความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้ไทยสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้อย่างแข็งแกร่ง มาร่วมเป็น Team Thailand ผลักดันประเทศไทยไปสู่การเป็น Global Wellness Destination ได้

ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่าง Global Wellness Institute กับ BDMS Wellness Clinic ในครั้งนี้จะช่วยต่อยอดให้ไทยก้าวไปสู่ตลาดสุขภาพอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีเป้าหมาย

  • ดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากทั่วโลก Wellness Tourism
  • พัฒนาบริการ Wellness Retreats โรงแรมและศูนย์ดูแลสุขภาพระดับพรีเมียม
  • ส่งเสริม Medical & Wellness Packages ที่ครอบคลุมทั้งการรักษาและการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน

สรุปข้อมูลจากรายงาน “The Global Wellness Economy: Thailand (2562-2566)”

และเมื่อ Wellness หมายถึงการแสวงหากิจกรรม การเลือกใช้ชีวิต และวิถีชีวิตที่นำไปสู่สุขภาพที่สมบูรณ์แบบองค์รวม (Holistic Health) เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากศาสตร์สุขภาพโบราณ เช่น อินเดีย (อายุรเวท), จีน (การแพทย์แผนจีน), และกรีก-โรมัน โดย Wellness ไม่ใช่เพียงสุขภาพทางกาย แต่ครอบคลุมสุขภาพจิต อารมณ์ สังคม สิ่งแวดล้อม และจิตวิญญาณ

แต่ Wellness Economy กลับหมายถึง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถดำเนินชีวิตตามแนวทาง Wellness ได้ ครอบคลุม 11 ภาคส่วน เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism), อาหารเพื่อสุขภาพ, เวชศาสตร์ป้องกัน, ฟิตเนส, สปา ฯลฯ

ซึ่งในปี 2566 อุตสาหกรรม Wellness ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 6.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตปีละ 7.3% ไปเกือบ 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2571

ส่วนภาพรวมอุตสาหกรรม Wellness ในประเทศไทย พบว่า Wellness Economy ของไทย ในปี 2566 มูลค่ารวมเศรษฐกิจสุขภาพไทยอยู่ที่ 40.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ติดอันดับที่ 24 ของโลก และอันดับที่ 9 ในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้มูลค่าตลาดลดลงในปี 2563-2564 รวมทั้งการเติบโตของอุตสาหกรรม Wellness Economy ไทย ปี 2562-2566 มูลค่าเศรษฐกิจเวลเนส ในปี 2566 คิดเป็น 7.87% ของ GDP ประเทศไทย

Wellness Economy ไทย สร้างรายได้ 1.4 ล้านล้าน

ขณะที่ภาคส่วนสำคัญของ Wellness Economy ไทย ไม่ว่าจะเป็น รายได้จากแต่ละภาคส่วนในปี 2566 ดังนี้

  • การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 415,000 ล้านบาท
  • อาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการ 308,900 ล้านบาท
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและความงาม 242,000 ล้านบาท
  • การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก 118,000 ล้านบาท
  • ฟิตเนสและกิจกรรมทางกาย 113,400 ล้านบาท
  • เวชศาสตร์ป้องกันและการแพทย์เฉพาะบุคคล 91,500 ล้านบาท
  • สปา 53,840 ล้านบาท
  • สุขภาพจิต (Mental Wellness) 22,500 ล้านบาท
  • อสังหาริมทรัพย์เชิงสุขภาพ (Wellness Real Estate) 17,800 ล้านบาท
  • Wellness ในสถานที่ทำงาน 3,700 ล้านบาท
  • บ่อน้ำพุร้อนและน้ำแร่ 673 ล้านบาท

8 เซกเตอร์ปั้น Wellness Economy ไทย

1.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) มูลค่าตลาดปี 2566 อยู่ที่ 415,000 ล้านบาท คิดเป็น 30.4% ของตลาด Wellness ไทย การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากโควิด-19 โดยเพิ่มขึ้น 119.5% จากปี 2565 การท่องเที่ยว Wellness แบ่งเป็น นักท่องเที่ยวในประเทศ 8.08 ล้านคน ใช้จ่ายเฉลี่ย 12,340 บาท ต่อทริป และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5.40 ล้านคน ใช้จ่ายเฉลี่ย 58,000 บาท ต่อทริป

2.รายได้สปาในไทยปี 2566 อยู่ที่ 53,840 ล้านบาท โรงแรมและรีสอร์ทสปาคิดเป็น 70% ของรายได้ทั้งหมด จำนวนสปาในไทย 2,865 แห่ง เพิ่มขึ้นจาก 2,785 แห่งในปี พ.ศ.2565

3.ฟิตเนสและกิจกรรมทางกาย รายได้ปี 2566 อยู่ที่ 113,400 ล้านบาท อุปกรณ์และเสื้อผ้ากีฬาเป็นตลาดหลัก คิดเป็น 74.5% ของรายได้

4.อาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการ รายได้ปี 2566 อยู่ที่ 308,900 ล้านบาท
ประเภทสินค้า มีทั้ง อาหารเพื่อสุขภาพ: 193,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 8.4% วิตามินและอาหารเสริม: 78,700 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 12.6% และ ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก 37,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 11.9%

5.สุขภาพจิต (Mental Wellness) รายได้ปี 2566 อยู่ที่ 22,500 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 13.7% รายได้จากผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจิต เช่น สมุนไพรบำรุงสมอง, โยคะ, การทำสมาธิ การนอนหลับ เติบโตอย่างรวดเร็ว

6.เวชศาสตร์ป้องกันและการแพทย์เฉพาะบุคคล รายได้ปี 2566 อยู่ที่ 91,500 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 10.5% การตรวจสุขภาพเชิงป้องกันและการแพทย์เฉพาะบุคคล (Preventive Medicine, Precision Medicine and Genetic Testing) มีแนวโน้มเติบโตสูง

7.การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก รายได้ปี 2566 อยู่ที่ 118,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 7.7% ยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมีสัดส่วนรายได้สูงสุด

8.อสังหาริมทรัพย์เชิงสุขภาพ (Wellness Real Estate) รายได้ปี 2566 อยู่ที่ 17,800 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 11.4% และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในโครงการที่อยู่อาศัยเชิงสุขภาพ

ทั้งนี้ Wellness Economy ของไทยมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 7-10% ต่อปี โดยที่ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ เวชศาสตร์ป้องกัน จะเป็นภาคส่วนที่เติบโตเร็วที่สุด (Wellness Tourism and Preventive Medicine) และ อุตสาหกรรม Wellness จะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจไทย และจุดแข็งสำคัญของประเทศไทยคือ Wellness Hub Thailand Project และอย่างที่ทราบกันดีว่า “ประเทศไทย” มีศักยภาพสูงใน “Wellness Economy” โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต

ซึ่งความร่วมมือระหว่าง Global Wellness Institute และ BDMS Wellness Clinic นับเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Wellness Hub ของโลก ด้วยแนวคิด “5S” เพราะประเทศไทยไม่เพียงแต่จะเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวสุขภาพที่โดดเด่น แต่ยังสามารถเป็นต้นแบบของระบบสุขภาพที่ยั่งยืน หรือ “Sustainable Wellness” ซึ่งจะช่วยเพิ่ม Health Span ให้กับประชากรทั่วโลกได้เป็นอย่างดี

อ่านข่าวกับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้
https://www.facebook.com/ThairathMoney

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : Wellness Economy ไทย ติดอันดับโลก มูลค่ากว่า 1.4 ล้านล้าน มีแนวโน้มโตเฉลี่ย 7-10% ต่อปี

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : Thairath Money
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ