หุ้น การลงทุน

KBANK คาดเงินบาทสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหว 35.40-36.00 บาท/ดอลลาร์ จับตาเงินเฟ้อ

The Bangkok Insight
อัพเดต 04 พ.ย. 2566 เวลา 05.07 น. • เผยแพร่ 04 พ.ย. 2566 เวลา 05.07 น. • The Bangkok Insight

KBANK คาดเงินบาทสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหว 35.40-36.00 บาท/ดอลลาร์ จับตาเงินเฟ้อไทย-สถานการณ์อิสราเอล

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทสัปดาห์หน้า (6-10 พ.ย.) ที่ระดับ 35.40-36.00 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดในวันศุกร์ที่ 3 พฤษจิกายน 2566 ที่ 35.71 บาท/ดอลลาร์ (หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 1 เดือนครึ่งที่ 35.70 บาทต่อดอลลาร์)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
เงินบาทสัปดาห์หน้า

ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของไทยเดือนตุลาคม สัญญาณเงินทุนต่างชาติ ทิศทางสกุลเงินเอเชีย สถานการณ์ในอิสราเอล รวมถึงถ้อยแถลงของประธานเฟด และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟด

ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ ได้แก่ สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนกันยายน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน (เบื้องต้น) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนตุลาคมของญี่ปุ่นและยูโรโซน และตัวเลขเศรษฐกิจเดือนตุลาคมของจีน อาทิ ตัวเลขการส่งออก ดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาผู้ผลิต ด้วยเช่นกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
เงินบาทสัปดาห์หน้า

สำหรับในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบประมาณ 1 เดือนครึ่ง โดยเงินบาทปรับตัวผันผวนในช่วงก่อนการประชุมเฟด โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงแรก เช่นเดียวกับสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค ก่อนจะอ่อนค่ากลับมาในช่วงกลางสัปดาห์ตามการปรับตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลกที่ไม่สามารถประคองตัวเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ขณะที่เงินดอลลาร์ ฟื้นตัวกลับมาบางส่วนตามทิศทางบอนด์ยีลด์สหรัฐ และแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ก่อนการประชุมเฟด

อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกแข็งค่าหลังการประชุมเฟด ซึ่งคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิมที่ 5.25-5.50% และมีท่าทีในเชิงคุมเข้มน้อยกว่าที่ตลาดกังวล ซึ่งทำให้ตลาดตีความว่า โอกาสที่จะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมของเฟดในระยะข้างหน้า น่าจะลดน้อยลง นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐที่ออกมาแย่กว่าที่คาดด้วยเช่นกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ดูข่าวต้นฉบับ