ไลฟ์สไตล์

เริ่มต้นด้วยสุขภาพการเงินที่ดี - โค้ชหนุ่ม The Money Coach

THINK TODAY
เผยแพร่ 13 มิ.ย. 2562 เวลา 10.23 น.

สิบปีก่อน ตอนเริ่มต้นสอนหลักสูตรการเงินส่วนบุคคล ผมนั่งคิดอยู่นานว่า จะสรุปหลักการเงินพื้นฐานที่คนเราจำเป็นต้องรู้ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายหัวข้อ ให้เป็นหลักคิดหลักปฏิบัติอย่างง่ายสำหรับคนทุกคนได้อย่างไร 

จำได้ว่าตอนนั้นหยิบกระดาษมาหนึ่งแผ่น เขียนประเด็นสำคัญทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเราตั้งแต่เกิดจนตาย เขียนออกมาทีละข้อ แล้วเอามาจับกลุ่ม จัดเรียง ปรับคำ เขียนแล้วลบ เขียนแล้วแก้อยู่หลายรอบ เพราะอยากได้ข้อความที่ฟังแล้วเพราะ สัมผัสกัน และง่ายต่อการจดจำ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 สุดท้ายผมสรุปหลักปฏิบัติเพื่อสุขภาพการเงินที่ดี (MONEY FITNESS) เป็นข้อความสั้นๆ 6 ข้อความ โดยรวบรวมหลักการเงินส่วนบุคคลที่จำเป็น ไว้อย่างครบถ้วน และชวนให้ปฏิบัติกันอย่างง่ายๆ ได้ว่า

สภาพคล่องดี

ปลอดหนี้จน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พร้อมชนความเสี่ยง

มีเสบียงสำรอง

สอดคล้องเกณฑ์ภาษี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

บั้นปลายมีทุนเกษียณ

ในตอนที่เริ่มเผยหลักสูตรการเงินส่วนบุคคล มีหลายคนถามผมว่า “กะอีแค่เรื่องการเงินพื้นๆ พวกนี้ ต้องเรียนต้องสอนกันด้วยหรือ?” 

ยอมรับว่าช่วงแรกที่ถูกถาม ก็แอบมีเขวอยู่บ้าง แต่พอสอนไปเรื่อยๆ ได้พูดคุยกับคนที่มาเรียน รวมถึงได้ช่วยหลายคนแก้ไขปัญหา ก็ยิ่งทำให้มั่นใจว่า "การเงินพื้นฐานที่ดูง่ายๆ ดูพื้นๆ นี่แหละ! หลายคนยังทำไม่ได้กันเลย" 

การมุ่งสู่ทุกความสำเร็จ จำเป็นต้องมีพื้นฐานหรือเบสิคที่แข็งแกร่ง

นักบอลระดับโลก เวลาฝึกซ้อมพวกเขายังต้องฝึกเรื่องง่ายๆ อย่างรับส่งบอลกันทุกวัน คนที่อยากมั่งคั่ง ไม่อยากมีปัญหาทางการเงินเข้ามาวุ่นวายในชีวิต ก็ต้องเก่งและแม่นในเรื่องการเงินพื้นฐานด้วยเหมือนกัน 

สำหรับใครที่อย่างมั่งคั่ง อยากมีความสุขทางการเงิน ผมแนะนำให้เริ่มต้นด้วยการเช็คสุขภาพการเงินของตัวเอง โดยเปรียบเทียบกับหลักปฏิบัติเพื่อสุขภาพการเงินที่ดี ตามแนวทาง 6 ข้อ ดังต่อไปนี้ 

1. ในแต่ละเดือนคุณมีเงินกินใช้ และมีเงินเหลือเก็บได้อย่างน้อย 10% ของเงินทั้งหมดที่หาได้ในแต่ละเดือน (สภาพคล่องดี)

2. คุณไม่มีหนี้บริโภค อาทิ หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล บัตรกดเงินสด ผ่อนของ หนี้นอกระบบ ฯลฯ คงค้างอยู่ในบัญชีเลย (ปลอดหนี้จน)

3. หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ ทรัพย์สินเสียหาย คุณมีเงินสำรองหรือมีตัวช่วย (สวัสดิการ หรือประกัน) ไว้พร้อมสำหรับจัดการกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น (พร้อมชนความเสี่ยง)

4. หากวันนี้ต้องตกงานหรือสูญเสียรายได้ไป คุณมีเงินเก็บหรือเงินสำรอง เอาไว้สำหรับจัดการค่าใช้จ่ายได้สัก 6 เดือน ในระหว่างรอรายได้กลับมาเป็นปกติ (มีเสบียงสำรอง)

5. คุณสามารถวางแผนภาษีให้กับตัวเองได้ ใช้สิทธิลดหย่อนได้ถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุด (สอดคล้องเกณฑ์ภาษี)

6. คุณรู้เป้าหมายเงินเกษียณที่ตัวเองต้องการ และเริ่มเก็บเงินสำหรับเกษียณแล้ว (บั้นปลายมีทุนเกษียณ)

ยังไงลองถามตัวเองดูนะครับ ข้อไหนตอบว่า “ใช่” ตอบว่า “ทำได้” ก็ให้ทำต่อไปนะครับ เพราะนั่นหมายถึงสุขภาพการเงินในประเด็นนั้นเราดีอยู่แล้ว 

แต่ถ้าข้อไหนที่ตอบว่า “ไม่ใช่” หรือยังทำไม่ได้ อันนี้ต้องเริ่มต้นศึกษาหาความรู้ และแก้ไขข้อนั้น พัฒนาไปทีละข้อ วันหนึ่งคุณก็จะถึงเป้าหมายทางการเงินในแบบที่ต้องการได้

เป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่เพิ่งเริ่มต้นศึกษาเรื่องการเงิน และขอให้มีสุขภาพการเงินที่ดี มี MONEY FITNESS กันทุกคนนะครับ

#TheMoneyCoachTH

ความเห็น 4
  • ผมคิดว่าปัจจัยหลักสำคัญที่สุดที่จะทำใหัเป็นไปได้นั้นก็คงจะต้องขึ้นอยู่กับที่สภาพของเศษฐที่เป็นหลักสำคัญด้วยนะครับ.
    13 มิ.ย. 2562 เวลา 13.13 น.
  • จิมมี่แบร์ อารีไอซ์
    ตอนนี้สภาพการเงินคือมะเร็งขั้นสุดแล้ว
    25 ก.ค. 2562 เวลา 12.47 น.
  • พรรณ ณภัทร
    ขอบคุณค่ะโค้ช 💸💸💸
    28 มิ.ย. 2562 เวลา 03.42 น.
  • "ในชีวิตเราเคยฟังการบรรยายจากคนใน Forbes กี่ครั้ง?” เพราะ การได้ฟังเพียง 1 ครั้ง อาจจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของท่านตลอดชีวิต 🎯 วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน เรามีนัดกันในงาน "S7S FLY-IN" 💎 พบกับ คนไทยพันล้านน ที่ลงนิตยสาร Forbes Magazine !! และรับฟังโอกาสทางธุรกิจออนไลน์ ที่สามารถสร้างรายได้หลักแสนภายใน 3-6 เดือน จาก 2 นักธุรกิจ ที่มีรายได้หลักล้านจาก Forbes และ นสพ. ไทยรัฐ #พบกันที่ รร. เซ็นจูรี่พาร์ค (อนุสาวรีย์ชัย) เวลาตั้งแต่ 12.30-17:00 น. บัตรราคา 150 บาท ทักมาคะ​: aomm516
    13 มิ.ย. 2562 เวลา 15.34 น.
ดูทั้งหมด