กีฬา

10 เรื่องน่ารู้ ก่อน “มวยไทย” จะไป “มวยโลก”

JS100 - Post&Share
เผยแพร่ 16 มี.ค. 2561 เวลา 13.00 น. • JS100:จส.100
10 เรื่องน่ารู้ ก่อน “มวยไทย” จะไป “มวยโลก”

        ช่วงปลายปี 2559 มีข่าวดีเกิดขึ้นในแวดวงกีฬาเมืองไทย เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ประกาศรับรองให้ “มวยไทย” ได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในชนิดกีฬาที่จะใช้แข่งขันในมหกรรมกีฬานานาชาติ โอลิมปิก แต่สำหรับคนที่หวังว่าจะได้เห็นนักกีฬามวยไทย บนเวทีมวยโลกในโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 29 หรือ โตเกียว 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ คงต้องผิดหวังและร้องเพลงรอไปก่อน  ไม่แน่ว่า ในปี ค.ศ. 2024 ( พ.ศ. 2567) เราจะได้เห็น  “แม่ไม้มวยไทย” บนเวทีระดับโลกอย่างโอลิมปิกก็ได้
        แต่ก่อนที่จะถึงวันนั้น ยังมีอีกหลายเรื่องที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับ “มวยไทย” อย่างน้อยก็ 10 เรื่องนี้…

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

CR. muaythaionlines.blogspot.com

        1. “อาชีพนักมวย” 
        อาชีพนี้มีมานาน อย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 400 ปีแล้ว โดยมีหลักฐานอยู่ในจดหมายเหตุที่เขียนโดย เมอซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ราชฑูตชาวฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งระบุว่า “ผู้คนนิยมชกมวยมาก และบางคนยังยึดเป็นอาชีพด้วย”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

Cr.chassp.blogspot.com

        2.“กรมนักมวย” 
        หรือ “ตำรวจหลวง” เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยให้แก่พระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นกรมที่เปิดโอกาสให้ผู้มีฝีมือในการชกมวย ได้รับคัดเลือกเข้ารับราชการ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

Cr. awesomemuaythai.com

        3. “นายขนมต้ม” 
        ถือเป็นนักมวยไทยคนแรกที่สร้างชื่อเสียง ให้ต่างชาติได้รู้จักศิลปะมวยไทยมากขึ้น เมื่อสามารถชกมวยเอาชนะนักมวยพม่าได้ติดต่อกันถึง 10 คน  แม้เวลาจะผ่านมากว่า 200 ปีแล้ว แต่ชื่อของ “นายขนมต้ม” ก็ยังเป็นที่รู้จักในฐานะวีรบุรุษนักชกของคนไทยเสมอ 

Cr.muaythaiinstitute.wixsite.com

        4.“ยุคทองมวยไทย”
        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่มวยไทยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดที่จะศึกษาศิลปะมวยไทย และโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุ “วิชามวยไทย” ในหลักสูตรการศึกษาด้วย 

Cr. pxhere.com

        5. “ญี่ปุ่น” ชาติที่หลงใหลในศิลปะมวยไทย
        คนญี่ปุ่นไม่ได้เพิ่งเริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับมวยไทย แต่คนญี่ปุ่นคลั่งไคล้มวยไทยมาหลายสิบปีแล้ว โดยเมื่อปี พ.ศ.2502 นายไคโต เคนกูจิ ผู้นำทางด้านศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นได้เริ่มนำ “มวยไทย” ไปสู่สายตาของคนญี่ปุ่น 

Cr. muaychaiya-phuket.blogspot.com

        6.มวยไทยโบราณ 4 ภาค
        คนทั่วไปรู้จักแค่ “มวยไทย” แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า ศิลปะมวยไทยในแต่ละภูมิภาค มีเอกลักษณ์และชื่อเรียกเฉพาะตัว  ได้แก่ ภาคเหนือ-มวยท่าเสา , ภาคอีสาน-มวยโคราช , ภาคกลาง-มวยลพบุรี และภาคใต้-มวยไชยา  

Cr. rajadamnern.com

        7.“สนามมวยราชดำเนิน” 
        ในปี พ.ศ. 2488 ได้มีการก่อสร้างสนามแข่งขันชกมวยไทยอาชีพขึ้นอย่างเป็นทางการบน ถ.ราชดำเนินนอก  ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อ “เวทีมวยราชดำเนิน” 

cr. muaythai.mcru.ac.th 

        8.“ปริญญาตรี-เอก มวยไทย”
        สำหรับใครที่ชื่นชอบศิลปะ “แม่ไม้มวยไทย” อยากรู้จักและเรียนรู้ศิลปะแขนงนี้อย่างละเอียด ที่วิทยาลัยมวยไทยศึกษาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จ.ราชบุรี ได้เปิดสอนสาขามวยไทยในระดับปริญญาตรี ถึงปริญญาเอก

cr. kanchanapisek.or.th

        9.ขึ้นทะเบียน “มวยไทย” 
        ในปี พ.ศ. 2553 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “มวยไทย” ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย 

cr.thainews.prd.go.th

       10.“วันมวยไทย” 
        วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็น “วันมวยไทย” โดยที่มาของวันนี้ เป็นวันที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ 8 หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระบิดามวยไทย เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัตินั่นเอง  

        เป็นอย่างไรบ้าง 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “มวยไทย” เชื่อว่าเมื่อไหร่ที่ “นักกีฬามวยไทย” ได้ประกาศศักดาให้นานาประเทศรู้จักศิลปะวัฒนธรรมของไทยบนเวทีใหญ่ระดับโอลิมปิก ข้อมูลนี้จะทำให้คุณคุยเรื่อง “มวยไทย” กับเขารู้เรื่องมากขึ้น
        ส่วนใครที่อยากเห็นการไหว้ครู รอติดตามได้ในวันพรุ่งนี้ (17มี.ค.61) ทีมข่าว JS100 จะพาไปชมการไหว้ครูที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กันนะคะ
        เรียบเรียงข้อมูลจาก awesomemuaythai.com  , kanchanapisek.or.th , imaes.net , maemaimuaythai.blogspot.com , ich.culture.go.th

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 4
  • アピワット
    ไม่แปลกฮ่ะ ขนาดบอลไทย ยังจะไปมวยโลกเลย
    19 มี.ค. 2561 เวลา 01.20 น.
  • น่าภาคภูมิใจนะครับ
    18 มี.ค. 2561 เวลา 05.55 น.
  • Niramone
    ชอบบทความนี้..
    16 มี.ค. 2561 เวลา 14.55 น.
  • bobb sanit nuang
    ดีมากครับยกให้โอลิมปิกสากลปรับปรุงระบบการให้คะแนนที่มีมาตรฐานเดียวกันแล้วละก็ เป็นกีฬาอันดับหนึ่งแซงฟุตบอลแน่นอน
    16 มี.ค. 2561 เวลา 14.29 น.
ดูทั้งหมด