ทั่วไป

ส่องแผนกระจายเวชภัณฑ์รับมือ 'โควิด-19'

กรุงเทพธุรกิจ
เผยแพร่ 30 มี.ค. 2563 เวลา 08.57 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการส่งเสียงจากบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้าในหลายพื้นที่ ระบุว่ามีความขาดแคลนเวชภัณฑ์ต่างๆที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ในการป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้ติดเชื้อจากการที่ต้องดูแลผู้ป่วย กระทั่งมีการขอรับบริจาคจากประชาชนและภาคส่วนต่างๆในหลายๆสถานพยาบาล อย่างไรก็ตาม มีรายงานบางกระแสด้วยว่า มีการห้ามบุคลากรโพสต์ขอรับบริจาค 

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แถลงถึงแผนการกระจายเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ว่า ในส่วนของหน้ากากอนามัยทางการแพทย์(Surgaical Mask) ตั้งแต่วันที่ 7-28 มีนาคม 2563 มีการกระจายไปแล้วรวม 19.59 ล้านชิ้น แยกเป็น โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 10.91 ล้านชิ้น โรงพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 0.77 ล้านชิ้น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 2.48 ล้านชิ้น โรงพยาบาลเอกชน 4.28 ล้านชิ้น และโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพฯ 1.15 ล้านชิ้น อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาความต้องการมีเพิ่มขึ้น จึงขอรับการจัดสรรหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพิ่มขึ้นอีกวันละ 1.3 ล้านชิ้น ได้แก่ โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 8 แสนชิ้น โรงพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสขุ 1 แสนชิ้น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 1.5 แสนชิ้น โรงพยาบาลเอกชน 1.5 แสนชิ้น และ โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพฯ 1 แสนชิ้น เริ่มแผนกระจาย 30 มีนาคม 2563 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนหน้ากากเอ็น95(N95) สำหรับการดูแลผู้ป่วยโควิด-19โดยเฉพาะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้โดยทั่วไปของในโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วย 1 คน ต้องมีบุคลากรใช้ N95 จำนวน 15 ชิ้นต่อวัน หากเป็นผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค มีบุคลากรต้องใช้ 5 ชิ้น โดยช่วงวันที่ 7-28 มี.ค. ได้กระจายหน้ากาก N95 ไปแล้ว 1.83 แสนชิ้น ตามยอดผู้ป่วยโควิดในพื้นที่

"จากการคาดคะเนว่า หากมีผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 1 หมื่นคน จะต้องใช้หน้ากาก N95 จำนวน 5 แสนชิ้นใน 1 เดือน หรือ 1.7 หมื่นชิ้นต่อวัน ทำให้มีการติดต่อหาแหล่งที่มาหน้ากาก N95เพิ่มเติมตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 จากอเมริกา จำนวน 2 แสนชิ้นกำหนดส่งวันที่ 10 เมษายน 2563 แต่จากสถานการณ์โรคในอเมริกาที่สูง น่าจะทยอยได้แค่ 1 หมื่นชิ้น ติดต่อซื้อจากผู้ผลิตในประเทศเดือนละ 1 แสนชิ้น และมีการติดต่อรัฐบาลจีน โดยซื้อแบบรัฐต่อรัฐ จำนวน 1.3 ล้านชิ้น และพร้อมที่จะนำเข้าทันที 4 แสนชิ้น มอบให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ในการจัดซื้อ และจะกระจายทั่วประเทศ แต่จะจ่ายให้เฉพาะการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เท่านั้น แต่หากโรงพยาบาลจำเป็นต้องใช้เพื่อการอื่น ก็อาจต้องแบ่งบางส่วนให้ส่วนงานปกติของโรงพยาบาลด้วย" นายแพทย์สุขุมกล่าว

เม.ย.สต็อคยาเพิ่ม 3 แสนเม็ด
นายแพทย์สุขุม กล่าวอีกว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงนั้น ขณะนี้ได้มแล้วา 24,000 เม็ด เหลืออยู่ 21,000 เม็ดกระจายทั่วประเทศ และเก็บที่ส่วนกลางกว่า 2,000 โดยวันที่ 30 มีนาคมจะมีการนำเข้ามาอีก 40,000 เม็ด ดังนั้นในไทยน่าจะมียาอย่างเพียงพอและไม่ขาดแคลน อีกทั้ง ในเดือนเมษายน 2563 คาดว่ามีความต้องการ จำนวน 100,000 เม็ด โดยมีแผนการจัดหา ได้แก่ 1.จากประเทศญี่ปุ่น 240000 เม็ด ได้วันที่ 30 มีนาคมได้รับ 40,000 เม็ด และภายในเมษายนได้รับ 200,000 เม็ด และ2.จากประเทศจีน 100,000 เม็ด ภายในเดือนเมษายน ได้รับ 100,000 เม็ด 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 4
  • Nira
    🇹🇭🌈1️⃣6️⃣8️⃣🇹🇭🍇🍇🌈 💰🌠🌠💰💰💰🔮🔮💳 👔💜👔ประกาศค่ะ🍒🍒 👤รับสมัครคนช่วยงานตอบแชทลูกค้าผ่านเฟส/ไลน์ รายได้สัปดาห์ละ 4000-5000 บาท📱ทำผ่านมือถือได้📱 รับอายุ18 ปีขึ้นไป 🔸อยู่กรุงเทพปริมณฑลรับเป็นพิเศษ🔸 สนใจงานแอด📱LINE ID : @153lawtz (ใส่@ด้วยค่ะ)
    30 มี.ค. 2563 เวลา 10.32 น.
  • jakie
    ทำไมโรงบาลเอกชนจึงได้รับหน้ากากมากกว่า โรงบาลของรัฐและโรงบาลสังกัดมหาวิทยาลัย ทั้งๆที่ เอกชนไม่รับผู้ป่วยโควิด เหอๆ ตลกอ่ะ
    30 มี.ค. 2563 เวลา 10.32 น.
  • Puping
    ปากดี ไอ้สัด ทำเล่นลิ้น มึงรีบส่งให้ถึงมือหมอเร็วๆ ไอ้...
    30 มี.ค. 2563 เวลา 10.31 น.
  • วัฒนชัย จิโสะ
    ด้วยความเคารพนะครับ ผมอ่านบรรทัดแรกยันบรรทัดสุดท้าย สรุปคือ เหมือนเราครับรอ รอให้ตัวเลขที่มีการคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยมาถึง เพราะสิ่งท่านกำลังทำคือเตรียมสถานที่ เตรียมอุปกรณ์ คือเข้าใจง่ายๆว่าเราตั้งรับอย่างเดียว แต่ไม่มีแผนที่จะจัดการแบบเต็มรูปแบบ ท่านนายฯสงสารคุณหมอและบุคลากรทางการแพทย์เถอะครับแค่นี้ก็แย่แล้ว คิดดูถ้าตัวเลขถึงตามการคาดการณ์งานนี้ตัวได้ขาดสองท่อนกันบ้าง....
    30 มี.ค. 2563 เวลา 10.23 น.
ดูทั้งหมด