ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ตลาดไก่ทอดที่ว่าแน่ อาจแพ้อาหารญี่ปุ่น ผลวิจัยชี้ชัด 5 เดือนแรก คนไทยกินอาหารญี่ปุ่นประจำ 60%

Positioningmag
อัพเดต 19 มิ.ย. 2561 เวลา 06.51 น. • เผยแพร่ 19 มิ.ย. 2561 เวลา 06.08 น.

ผลสำรวจประจำเดือนของ ฟู้ด แทร็คเกอร์ จากผู้บริโภคคนไทยที่นิยมทานอาหารจานด่วนและอาหารจานเดียวที่ร้านอาหารเป็นประจำ พบว่าในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา ผู้บริโภคที่นิยมรับประทานอาหารญี่ปุ่นเป็นประจำ สูงถึง 60% จากผู้บริโภคที่ทำการสำรวจจำนวน 3,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับผู้บริโภคที่นิยมรับประทานไก่ทอดและได้รับความนิยมสูงกว่าพิซซ่าและแฮมเบอร์เกอร์

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จิม ฟราลิค หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งฟู้ด แทร็คเกอร์ ซึ่งอยู่ในแวดวงร้านอาหารในตลาดไทยมากกว่า 10 ปี กล่าวว่า ร้านอาหารจานด่วนและร้านอาหารทั่วไปในไทยมีความเติบโตเป็นอย่างมาก ผู้บริโภคคนไทยชื่นชอบการทานอาหารญี่ปุ่นมากขึ้น ในขณะเดียวกันร้านอาหารญี่ปุ่นก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความนิยมอาหารญี่ปุ่นของคนไทยจึงเพิ่มมากขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดร็ว ส่งผลให้การแข่งขันสูงขึ้น ฟู้ด แทร็คเกอร์และมาร์เก็ตบัซซ จึงได้ร่วมกันปรับเปลี่ยนวิธีการทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมค้าปลีกในไทยมากยิ่งขึ้น

ด้วยการใช้แพลตฟอร์มบนมือถือของมาร์เก็ตบัซซ สอบถามผู้บริโภค 3,000 คน ทุก ๆ เดือน เกี่ยวกับการใช้บริการและความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ที่ให้บริการร้านอาหารจานด่วนและร้านอาหารทั่วไป จำนวน 65 แบรนด์

ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ทำให้สามารถทำรายงานที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายลูกค้า รวมถึงบางบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ลงทะเบียนใช้บริการ Tracking แบบรายเดือน ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นธุรกิจร้านอาหารมากกว่า 10 แบรนด์ ในประเทศไทย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับ มาร์เก็ตบัซซ ภายใต้การดูแลของบริษัทบัซซี่บีส์ ซึ่งออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์ม CRM ให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทย อาทิ ซัมซุงและปตท.

ปัจจุบันสัดส่วนของผู้ใช้มือถือในประเทศไทยมีมากกว่า 60% และส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตชุมชนเมือง และด้วยแพลตฟอร์มมือถือจึงทำให้เชื่อมต่อกับผู้บริโภคมากกว่า 12 ล้านคนในการตอบแบบสอบถาม

นอกจากอุตสาหกรรมอาหารจานด่วนและร้านอาหารทั่วไปในไทย ฟู้ด แทร็คเกอร์ยังมีแผนที่จะนำเสนอบริการอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมนี้อีกด้วย รวมถึงการขยายจากบริการทางการตลาดให้กับร้านอาหารที่ลูกค้านั่งทานที่ร้าน ไปยังตลาดร้านอาหารประเภทเดลิเวอรี เนื่องจากตลาดเดลิเวอรีในไทยมีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้ง Food Panda, Line Man, และ Uber Eats แข่งขันกันอย่างดุเดือด

นอกจากนี้ยังมีผู้เล่นต่างชาติอีกมากมายที่กำลังรอคอยจังหวะที่จะแทรกตัวเข้ามาในอุตสาหกรรมอาหาร และเพื่อให้ครอบคลุมตลาดในเซกเมนต์ดังกล่าว ฟู้ด แทร็คเกอร์ตั้งเป้าเตรียมฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในส่วนของการดำเนินกิจการของร้านอาหารในไทยไว้เพื่อรองรับโดยเฉพาะ

รวมทั้งมีแผนขยายบริการไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น โรงแรม ธนาคาร และสินค้าอุปโภคบริโภคด้วย.

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • "คนที่รักชีวิตตัวเอง ก็ไม่สมควรที่จะพรากชีวิตใคร แม้แต่สัตว์ก็ตาม" เจ้าชายสิทธัตถะ
    19 มิ.ย. 2561 เวลา 13.22 น.
  • พิษสุนัขบ้า ตรวจพบในหมู ในวัว แล้วเน้อ บาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน
    19 มิ.ย. 2561 เวลา 13.08 น.
  • ทำไว้อย่างไรย่อมได้อย่างนั้น ผู้เบียดเบียนย่อมได้รับการเบียดเบียนตอบ ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ
    19 มิ.ย. 2561 เวลา 13.37 น.
  • Miss June
    ไก่ทอดในประเทศพัฒนาคืออาหารขยะเพราะไม่ครบถ้วนทางโภชนาการ อาหารญี่ปุ่นคุณภาพครบถ้วน แต่ราคาไม่ถูกเหมือนไก่ทอด ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ควรเข้มงวดเรื่องซูชิ จากจำหน่ายบนท้องถนน พลเรือนที่ไม่สามารถไปภัตตาคารอาจเป็นเหยื่ออหิวาห์ตกโรค หรือท้องร่วงระดับส่งโรงพยาบาล เงินไม่มีและไร้การศึกษาต้องเป็นภาระซ้ำซ้อน คงต้องวิ่งรอบโลกหาเงินบริจาค
    19 มิ.ย. 2561 เวลา 09.35 น.
  • Nui jirapas
    เพราะอาหารญี่ปุ่น มีความหลากหลายให้เลือกทานมากกว่า และอาหารญี่ปุ่นบ้างเมนูหรือหลายเมนูรวมกันเป็น1มื้อก็มีสารอาหารครบ5หมู่ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการทาน ไก่ทอด พิซซ่า หรือ แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งอาหารญี่ปุ่นในคลาสกลางที่คนทั่วไปจับต้องได้ ดูจริงๆแล้วราคาก็ไม่หนีกัน
    19 มิ.ย. 2561 เวลา 10.30 น.
ดูทั้งหมด