สังคมไทยนทุกวันนี้ แม้ว่าพ่อกับแม่จะไม่ได้อยู่กันเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความเข้าอกเข้าใจ และเลี้ยงดูเอาใจใส่ลูกให้เต็มที่เท่าที่พ่อหรือแม่จะทำได้ แต่ทว่าเมื่อพ่อแม่ต้องแยกทางกันกลับมีหลายคนสงสัยว่าสิทธิดูแลลูก หรือลูกจะได้อยู่ที่พ่อหรือแม่ วันนี้มีคำตอบจาก "ทนายรัชพล" ทนายรัชพล ศิริสาคร โดยระบุว่า
เมื่อพ่อแม่แยกทางกัน ใครจะเป็นผู้มีสิทธิดูแลลูก ผมขอแบ่งเป็น 2 กรณี คือ พ่อแม่ที่จดทะเบียนสมรส กับพ่อแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
คู่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อแยกทางกัน ลูกจะตกเป็นสิทธิแก่ฝ่ายแม่ ถามว่าทำไมเป็นแบบนั้น ก็เพราะว่า กฎหมายเค้ากำหนดไว้แบบนั้น ส่วนพ่อไม่มีสิทธิเลย ยกเว้นบางกรณีที่พ่อจะมีสิทธิเลี้ยงลูก เช่น
กรณีที่ 1 ไปจดทะเบียนรับรองบุตร (การที่บิดาไปแจ้งเกิดมีชื่อเป็นพ่อในใบเกิด ไม่ใช่การจดทะเบียนรับรองบุตร) การจดทะเบียนรับรองบุตร จะต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ โดยความยินยอมของแม่
กรณีที่ 2 พ่อแม่สมรสกันในภายหลัง เช่น ลูกเกิดมาแล้ว แล้วก็ไปจดทะเบียนสมรสกัน แบบนี้ พ่อก็จะมีสิทธิเลี้ยงดูลูก
กรณีที่ 3 คือ เมื่อมีคำพิพากษาของศาลในทำนองที่ให้มีสิทธิเลี้ยงดูลูก ซึ่งพ่อก็อาจจะไปฟ้องศาลเพื่อขอให้ตนมีสิทธิเลี้ยงดูบุตรได้
2 นักร้องดังเกือบเอาชีวิตไม่รอด หลังโดนเจ้าถิ่นป่วนคอนเสิร์ต ชี้หน้า ปาขวด
ดาราไต้หวัน แฉ โดนตำรวจไทยค้นตัว - รีดไถเงิน โฆษก สตช. ลั่น ไม่ปล่อยผ่าน
ในกรณีที่พ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน ไม่มีกฎหมายข้อไหนระบุว่า ถ้าเป็นลูกสาวให้พ่อเป็นคนเลี้ยง ถ้าเป็นลูกชายให้แม่เลี้ยง ถ้าพ่อแม่จะแยกทางกัน ให้ตกลงกันเอง เช่น จ-ศ อยู่กับพ่อ ส-อา อยู่กับแม่ หรือมีลูก 2 คน ก็แบ่งไปเลย เอาไปเลี้ยงคนละคน
หรือจะตกลงกันยังไงก็ได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้ ต้องไปฟ้องให้ศาลตัดสิน ถามว่าใครจะชนะ ถ้าอยากชนะ แนะนำว่าให้หาทนายเก่งๆ ไปสู้คดี ถ้าตกลงกันได้ จะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเงินจ้างทนาย ไม่ต้องเสียเวลาไปศาล
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นชีวิตเรายังต้องดำเนินต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะครับ
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่ tnews
Phantippa 🙇♀️ดญ พรปวีณ์ ฉันไม่ให้ แก่มันเลวไม่เคยเลี้บงจะมาเอา
26 ม.ค. 2566 เวลา 23.19 น.
ดูทั้งหมด