สุขภาพ

กระเทียมดำ มีประโยชน์ด้านไหนบ้าง? ช่วยต้านมะเร็งจริงหรือไม่?

PPTV HD 36
อัพเดต 11 ก.ค. เวลา 10.25 น. • เผยแพร่ 11 ก.ค. เวลา 10.19 น.
เปิดประโยชน์ของ “กระเทียมดำ” ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง กว่า กระเทียมสดปกติ 6 เท่า ไขความลับ ต้านมะเร็งได้จริงหรือไม่ และควรกินอย่างไรให้ปลอดภัย

กระเทียมดำ (Black Garlic) คือ กระเทียมสดที่ผ่านกระบวนการหมักบ่มเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ทำให้กระเทียมเปลี่ยนเป็นสีดำ มีเนื้อสัมผัส กลิ่นรส และสารสำคัญในกระเทียมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีเนื้อเหนียว ยืดหยุ่นคล้ายเจลลี่ รสชาติหวาน มีกลิ่นฉุนน้อยลง ซึ่ง ในระหว่างกระบวนการผลิตที่อุณหภูมิและความชื้นสูง สารสำคัญที่ไม่คงที่และมีกลิ่นฉุนในกระเทียมสด จะถูกเปลี่ยนเป็นสารที่คงตัว และไม่มีกลิ้นฉุน ซึ่งได้แก่ S-allylcysteine (SAC) ซึ่งเป็นสารที่ละลายน้ำ และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง

กระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณดี แคลอรีต่ำใยอาหารสูง เมือกช่วยระบบย่อยอาหาร

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จุดน้ำตาลบนกระเทียมไม่ก่อมะเร็ง พร้อมสรรพคุณกระเทียมสุดล้ำกินได้ทุกวัน

ในกระเทียมสดมีปริมาณ SAC ประมาณ 20-30 ไมโครกรัม แต่ในกระเทียมดำที่ผลิตความร้อน ปริมาณ SAC จะเพิ่มขึ้นประมาณ 6 เท่า นอกจากนั้นยังพบว่า ปริมาณกรดอะมิโน สารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ และสารกลุ่ม โพลิฟีนอล ในกระเทียมดำจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหากเทียบกับกระเทียมสด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา จากการทดลองในหลอดทดลอง พบว่า กระเทียมดำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง และป้องกันตับ เป็นต้น

กระเทียมดำ ป้องกันมะเร็ง?

จากการศึกษาพบว่ากระเทียมดำมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟลาโวนอยด์และโพลีฟีนอล ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการหรือในสัตว์ทดลอง ซึ่งยังไม่มีรายงานผลทางคลินิกในด้านการป้องกันโรคหรือปริมาณรับประทานที่สามารถป้องกันมะเร็งได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

10 อาหารโพรไบโอติกส์สูง ส่งเสริมระบบทางเดินอาหารป้องกันไขมันพอกตับ

วิธีกินกระเทียมดำให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า ควรเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์กระเทียมดำที่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันการได้รับสารปนเปื้อนอื่นๆ และควรกินในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษา ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

7 สมุนไพร ป้องกัน ยับยั้ง และทำลายเซลล์มะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกันใหม่!

เปิดแคลเซียม“งาขาว งาดำ” แนะควรกินวันละช้อนเสริมสุขภาพ!

ดูข่าวต้นฉบับ