ทั่วไป

นักวิชาการชี้ ไม่ต้องแย่งกัน ไทย-กัมพูชา ไม่มีใครต้นตำรับสงกรานต์!

PPTV HD 36
อัพเดต 16 เม.ย. เวลา 07.21 น. • เผยแพร่ 15 เม.ย. เวลา 14.21 น.
จากกรณีดราม่า-ถกเถียงว่า ไทย-กัมพูชา ชาติใดเป็นต้นตำรับสงกรานต์ นักวิชาการชี้ ทั้งสองชาติไม่มีใครเป็นต้นตำรับ เพราะต่างรับอิทธิพลจากชาติอื่นทั้งคู่!
นักวิชาการชี้ ไม่ต้องแย่งกัน ไทย-กัมพูชา ไม่มีใครต้นตำรับสงกรานต์!

จากกรณีที่มีดราม่าเกี่ยวกับคลิปวิดีโอของ "ซันนี่ Backpaeger แบกเป้เกอร์" บล็อกเกอร์สายเที่ยว ที่รีวิวบรรยากาศสงกรานต์กัมพูชาเมืองเสียมราฐ ว่ามีบรรยากาศเงียบเหงา ก่อนถูกทัวร์ลงถล่มเพจ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ล่าสุด ทีมข่าว PPTV สัมภาษณ์ อ.กังวล คัชชิมา อาจารย์ภาควิชาตะวันออกเขมรศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เกี่ยวกับกรณีการถกเถียงว่า ประเพณีสงกรานต์ ใครเป็นต้นตำรับ?

อ.กังวล อธิบายว่า ทั้งไทยและกัมพูชา ต่างรับอิทธิพลสงกรานต์มาจากทั้งอินเดียและเมียนมาด้วยกันทั้งคู่ ตั้งแต่คำเรียก จนถึงวิถีที่ถือปฏิบัติ จึงไม่มีใครเป็นต้นตำรับอย่างแท้จริง ซึ่งคำว่า "สงกรานต์" มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ของประเทศอินเดีย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนการนับปีใหม่จุลศักราช ที่นับเริ่มต้นปีใหม่ในเดือนเมษายน ได้รับอิทธิพลมาจากเมียนมา ซึ่งเป็นประเทศในแถบเพื่อนบ้านที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

ดังนั้น "สงกรานต์" ซึ่งนับวันที่ 13–15เมษายน ที่หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ของไทย หรือ "โจลชนำทเม็ย" ซึ่งนับวันที่ 14-16 เมษายน ที่หมายถึงปีใหม่กัมพูชา ต่างก็เป็นการรับวัฒนธรรมมาด้วยกันทั้งคู่ และมีการจารึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 ชาติ อย่างกัมพูชาก็อ้างว่ามีการพบคำว่า "สังกรานต์" เป็นหลักฐานในศิลาจารึกที่บันทึกวันสำคัญ

อ.กังวล ระบุว่า นอกจากทั้งไทยและกัมพูชาต่างรับวัฒนธรรมและวิถีมาปฏิบัติแล้ว ขณะเดียวกัน ทั้ง 2 ชาติต่างก็มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันไปมา จึงไม่แปลกที่ประเพณีของทั้งสองประเทศ หรือแม้กระทั่งการนับวันสำคัญจะมีความคล้ายกัน แต่ถ้าลงรายละเอียดจะเห็นว่ามีอัตลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดใจ "ซันนี่ แบกเป้เกอร์" รีวิวสงกรานต์กัมพูชาเงียบเหงา ก่อนถูกทัวร์ลงถล่มเพจ

กัมพูชา ฉลองเทศกาล "ปีใหม่เขมร" เต้น-เล่นน้ำคึกคัก

“อุ๊งอิ๊งค์” พบ “ฮุนเซน-ฮุนมาเนต” กระชับมิตร! ไทย-กัมพูชา

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • ทนง
    สืบต่อกันมาตั้งแต่ยังไม่แบ่งแยกประเทศ..เพราะเป็นสิ่งดีงาม จึงได้รับการสืบทอดมาในหลายประเทศ(ที่เคยเป็นพี่น้องร่วมธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน ไม่ใช่ของประเทศใดในปัจจุบัน)
    16 เม.ย. เวลา 06.17 น.
  • TOM
    ทุกคำมาจากสันสกฤติหมดว่างั้น คนไทยเป็นใบ้ต้องเอาคำจากอินเดียมาใช้หมดเลยว่างั้น แล้วร้อยปีพันปีก่อน อาจารย์หัวขวดเมิงอยู่ตรงไหน นั่งไทม์แมชชีนไปดูมารึไง ประเทศไทยนี่แหละเจ้าตำหรับ เขมรเลียนแบบ จบนะ
    16 เม.ย. เวลา 05.41 น.
  • WiWat_S 王柄强。
    นักวิชาการพูดมั่วๆ ไทยไม่ได้แย่งใครและไม่ได้บอกว่าเป็นต้นตำหรับ คำว่าสงกรานต์เป็นคำไทยที่ดัดแปลงเสียงให้เข้ากับภาษาไทยที่ชนชาติอื่นไม่ได้เขียนมาเป็นแบบนี้อยู่ที่ว่าใครเอามาพัฒนาได้ดีกว่ากัน ไม่ใช่มาเอาผู้ที่พัฒนาให้ดีเด่นแล้วมาแย่งเอาหน้าด้านๆ
    16 เม.ย. เวลา 05.24 น.
  • Khomphet
    ไม่ต้นตำรับ แต่นักท่องเที่ยวมากันมากมายและบอกว่า สนุกมาก 555
    16 เม.ย. เวลา 04.48 น.
  • Saksit
    ไม่แคร์ แค่ของเราดีและสนุกก็พอครับ
    16 เม.ย. เวลา 04.19 น.
ดูทั้งหมด