ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4: เทคโนโลยีพลิกโลก

Finnomena
อัพเดต 13 ธ.ค. 2561 เวลา 08.30 น. • เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2561 เวลา 08.29 น. • บันทึกการลงทุน
การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4: เมื่อกฏหมายก้าวไม่ทันโลกที่หมุนไป

ขอต้อนรับเข้าสู่ ซีรีย์ “การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4” จากบทความ“เรากำลังอยู่ในยุค ที่มีคนรู้ว่าเราคิดอะไรก่อนที่เราจะคิด”  ที่ผมได้กล่าวไปแล้วว่า เรากำลังอยู่ในช่วงการเริ่มต้นของการปฏิวัติครั้งใหม่ หากนับการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมในครั้งนี้คือ “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4” การปฏิวัติอุตสาหกรรมในครั้งนี้จะไม่เหมือนสิ่งใด ๆ ที่มนุษย์อย่างเราประสบพบเจอมาก่อน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบในทุกแง่มุมของชีวิตประจำวันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยโลกของเรานี้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาแล้วถึง 3 ครั้งด้วยกัน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษช่วงปี ค.ศ. 1760 หรือ 258 ปีก่อน เป็นการปฏิวัติจากแรงงานคนและสัตว์มาเป็น “เครื่องจักรไอน้ำ” ทำให้งานที่ต้องใช้แรงงานซ้ำ ๆ ถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรไอน้ำและใช้ถ่านหินเป็นพลังงานทางการผลิต ในยุคนี้มีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือ “เครื่องทอผ้า” การทอผ้าจากที่เคยเป็นเรื่องยากใช้เวลาในการทำและใช้แรงงานคนมากมาย เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นการใช้เครื่องจักรไอน้ำทำให้เสื้อผ้ามีราคาที่ถูกลงผู้คนเข้าถึงสินค้าที่ดีในราคาที่ถูกได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกันการปฏิวัติครั้งนี้ก็ส่งผลกระทบต่ออาชีพแรงงาน เช่น แรงงานทอผ้ามากมายในประเทศอังกฤษค่อย ๆ หายไป

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งถัดมาเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ. 1870 เป็นการเปลี่ยนแปลงจากพลังงานถ่านหินมาสู่การใช้พลังงานไฟฟ้า ก๊าซและน้ำมัน ด้วยระบบไฟฟ้าและการใช้สายพานในขบวนการผลิต ส่งผลให้เกิดการผลิตจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มสูงขึ้นและต้นทุนการผลิตลดลง จึงเกิดเป็นยุคที่มีสินค้าเหมือนๆกันจำนวนมาก หรือที่เรียกกันว่า Mass Production ทำให้โรงงานที่มีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งได้เปรียบในการประหยัดต่อขนาด หรือ Economy of scale

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้ได้พัฒนาจากครั้งที่ 2 การเกิดขึ้นของไฟฟ้านำมาสู่การพัฒนาระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์ สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ “คอมพิวเตอร์” คอมพิวเตอร์เครื่องแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1946 และนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1970 ทำให้เกิดการผลิตแบบอัตโนมัติขึ้น ส่งผลให้ขบวนการผลิตมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ในปัจจุบันนี้แทบทุกโรงงานต่างมีระบบการผลิตแบบอัตโนมัติเข้าไปเป็นส่วนช่วยในการผลิต ทำให้ต้นทุนในการผลิตถูกลง สินค้ามีราคาที่ถูกยิ่งกว่าเดิม ส่งผลดีต่อผู้บริโภค

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโลกครั้งใหญ่อย่างที่กล่าวได้ว่าโลกจะพลิกจากหลังมือไปหน้ามือ ทั้งในแง่ของขนาด ความเร็ว และขอบเขต การปฏิวัติครั้งนี้โลกจะก้าวเร็วขึ้นแบบทวีคูณ ทำไมผมถึงกล่าวเช่นนี้ ?

- ความเร็ว - หากเราย้อนดูในอดีตการปฏิวัตที่ผ่านมา การปฏิวัติครั้งแรกห่างจากโลกที่เราอยู่ในปัจจุบัน 250 ปี การปฏิวัติครั้งที่สองห่างจากปัจจุบัน 150 ปี การปฏิวัติครั้งล่าสุดห่างจากจุดที่เราอยู่ ณ ตรงนี้ 50 ปี หากนับระยะเวลาของแต่ละช่วงแล้ว โลกกำลังหมุนเร็วขึ้นแบบทวีคูณ ไม่ใช่เป็นการเดินแบบเส้นตรงอย่างที่ผ่านมา

- ความกว้าง – การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อประชากรโลกเพียง 17% เท่านั้น เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ก็เช่นกัน ประชากร 4,000 ล้านคนยังเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ต แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาระบบอินเตอร์เน็ตได้แทรกซึมไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก รายงานล่าสุดในปี 2017 ที่ผ่านมาพบว่าผู้คนเข้าถึงอินเตอร์เนตแล้วกว่า 3,700 ล้านคน คิดเป็น 50% ของประชากรทั้งโลก สิ่งนี้ทำให้โลกเชื่อมถึงกันได้มากขึ้น

หนังสือThe Fourth Industrial RevolutionThe Fourth Industrial Revolution ได้กล่าวไว้ว่าสิ่งสำคัญในการแข่งขันทางธุรกิจจะไม่ใช่การลดต้นทุนอีกต่อไป แต่คือนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ ดั่งเช่น

“อูเบอร์” บริษัทแท็กซี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ไม่มีรถในครอบครอง

“เฟซบุ๊ก” บริษัทสื่อที่มีมูลค่ามากกว่า GDP ประเทศไทย แต่ไม่ได้มีเนื้อหาของตัวเองเลย

“Airbnb” บริษัทจัดหาที่พักที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ไม่มีห้องพักของตนเองสักห้องเดียว

หากเพื่อน ๆ ได้อ่านถึงตรงนี้ลองพิจารณาถึงทักษะของตนเองและงานที่ทำอยู่ว่าได้รับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่ ในรายงานการวิจัยของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้ว่า แรงงานกว่า 47% มีความเสี่ยงที่จะหายไปใน 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะแรงงานที่มีลักษณะทำซ้ำและมีรายได้ปานกลางจะหดหายไปอย่างมหาศาล

อย่างไรก็ตามนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และการปฎิวัติอุตสาหกรรมแม้จะทำลายงานไปบางส่วน แต่ก็มักจะสร้างงานใหม่ ๆ ในกิจกรรมอื่น ๆ ทดแทนขึ้นมาเช่นกัน

แล้วเพื่อนๆ ว่างานลักษณะใดคือโอกาส และงานลักษณะใดที่จะได้รับผลกระทบในอนาคตอันใกล้บ้างครับ ?

บันทึกการลงทุน ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/valuewaynjr/

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • Duke
    อีกไม่นาน เราจะสร้าง CPU ที่สามารถจดจำ และทำงาน ซ้ำๆ ตามรูปที่คนทำ มากขึ้นๆ เรื่อยๆ ดังนั้น ใคร มี่ทำงานซ้ำๆ Worker ตะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรแน่นอน ทางเดียวที่ คน จะรอด จากการตกงานได้ คือ ต้องเปน Thinker ให้ได้ อย่างไรก็ตาม ปริมาณตำแหน่งงาน โดยรวมทั้งหมด จะลดลง แน่นอน สวนทางกับ ปริมาณ คน โดยรวม ที่เพิ่มขึ้น ทุกปี
    13 ธ.ค. 2561 เวลา 12.52 น.
ดูทั้งหมด