ไลฟ์สไตล์

แก้ได้ ไม่ผิด? รู้จัก 'วิกิพีเดีย' สารานุกรมเสรีที่ทุกคน 'ร่วมเขียน' ได้

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 14 ก.ค. 2564 เวลา 18.30 น. • AJ.

นอกจาก 'กูเกิ้ล' (Google) ทุกคนน่าจะรู้จัก 'ที่พึ่งทางการเสิร์ช' ที่ชื่อ 'วิกิพีเดีย' (Wikipedia) สารานุกรมออนไลน์เป็นอย่างดี เพราะถือเป็นอีกหนึ่งคลังข้อมูลสำคัญสำหรับการค้นคว้าแทบจะทุกเรื่องราวในโลกใบนี้

แม้จะมีชื่อเสียงโด่งดัง แต่ 'ความน่าเชื่อถือ' ของวิกิพีเดียยังเป็นที่ถกเถียงมาถึงปัจจุบัน ด้วยรูปแบบของเว็บไซต์ที่อนุญาตให้ทุกคนร่วมเขียน และแก้ไขข้อมูลได้อย่างอิสระ วิกิพีเดียได้รับการให้คะแนนความแม่นยำของข้อมูลเพียง 80 เปอร์เซ็นต์ นักวิชาการหลายคนก็ลงความเห็นว่า 'ไม่ควรใช้เว็บไซต์นี้เป็นแหล่งข้อมูลหลักในการทำงานที่ต้องอ้างอิงเอกสารทางวิชาการ' (รวมถึงรายงานต่างๆ ด้วยนะนักเรียนทั้งหลาย!)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รู้จักวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีของชาวโลก

วิกิพีเดียเพิ่งมีอายุครบ 20 ปีไปเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ก่อตั้งโดยจิมมี เวลส์ และ แลร์รี แซงเกอร์ คำว่าวิกิพีเดียมาจากการผสมคำว่า 'วิกิ' (Wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของเว็บไซต์ที่เน้นการมีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหา และคำว่า 'เอนไซโคลพีเดีย' (Encyclopedia) ที่แปลว่า 'สารานุกรม' เข้าด้วยกัน

เดิมทีวิกิพีเดียใช้ภาษาหลักเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาเป็นภาษาอื่นๆ อีกกว่า 321 ภาษา มีบทความภาษาอังกฤษกว่า 6.3 ล้านบทความ โดยมีบทความภาษาไทยรวมอยู่กว่า 100,000 บทความ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่งการสร้างบทความในวิกิพีเดียของทุกประเทศใช้วิธีเดียวกันคือ มี 'อาสาสมัคร' ในการเขียน ซึ่งแต่ละคนก็จะสร้างบทความหรือหัวข้อที่ตนถนัด โดยเปิดโอกาสให้อาสาสมัครคนอื่นเข้ามาแก้ไขหรือเขียนเพิ่มได้ ดังนั้นเนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ จึงพึ่งพาระบบอาสาสมัครในการเขียนอย่างเดียวเลยก็ว่าได้

อย่างไรก็ตาม วิกิพีเดียก็มีกฎเกณฑ์ในการเขียนและแก้ไขข้อมูลอยู่มาก เพื่อป้องกันการสร้างข้อมูลเท็จหรือการกลั่นแกล้ง และมีผู้ดูแลหรือ 'แอดมิน' คอยดูแลระบบอีกที โดยตำแหน่งนี้ก็เป็นอาสาสมัครที่ต้องผ่านการคัดเลือกจากชุมชนวิกิพีเดียมาแล้ว ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้เขียนอยู่ 400,000 กว่าบัญชี แต่ใช้งานจริงเพียง 339 บัญชีเท่านั้น

ถ้า 'ประพฤติผิด' วิกิพีเดียทำอะไรเราบ้าง?

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในกรณีที่วิกิพีเดียตรวจพบว่าอาสาสมัคร 'ประพฤติผิด' คือจงใจเขียนข้อมูลเท็จในเชิงกลั่นแกล้ง (Trolling) แอดมินของวิกิพีเดียจะสามารถตรวจหา IP Address ของนักเขียนคนดังกล่าว และระงับบัญชีนักเขียนคนนั้น โดยไม่จำเป็นต้องระบุตัวบุคคลใดๆ เลย

การระงับบัญชีหรือ 'แบน' เป็นการลงโทษนักเขียนที่ร้ายแรงที่สุดแล้ว อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็ยังมีจุดบอด เพราะว่ากันตามตรง การสร้างแอคเคาท์ใหม่โดยใช้ IP Address ที่ต่างออกไป กล่าวคือใช้คอมพิวเคอร์ (หรือมือถือ) เครื่องใหม่ รวมถึงเปลี่ยนโลเคชั่นของผู้ใช้งานก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรในยุคสมัยนี้ หากผู้เขียนมีความตั้งใจจะก่อกวนจริงๆ ก็ย่อมทำได้สบายๆ

ใครเคยโดน 'แบน' บ้าง?

วิกิพีเดียเคยแบนอาสาสมัครนักเขียนที่มีโลเคชันอยู่ใน 'รัฐสภาสหรัฐอเมริกา' มาแล้ว เหตุเกิดจากการตรวจพบว่ามีผู้เขียนกระทำการ 'เกรียน' โดยเพิ่มเนื้อหา เช่น แก้ไขให้ เลขากองกำลังป้องกันสหรัฐ เป็น 'กิ้งก่าต่างดาว' (Alien Lizard) มีการกล่าวหาว่ารัฐบาลประเทศคิวบาเป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้างทฤษฎีสมคบคิดของการไปดวงจันทร์ เป็นต้น ซึ่งสถานที่ใหญ่ๆ อย่างรัฐสภาสหรัฐฯ ก็อาจตกเป็นเป้าของ 'ชาวเน็ตเกรียน' ได้ง่าย เพราะมีโลเคชันเด่นชัด ทำให้เหล่าชาวเน็ตสุดเกรียนแอบสวมรอยเข้าไปแก้ไขบทความกันอย่างสนุกสนาน

อ่านข่าว : ไม่ใช่เซลส์ขาย 'ซิโนแวค' ตำรวจไซเบอร์แกะรอยรวบมือแก้ประวัติ 'หมอยง' ในวิกิพีเดีย

อย่างไรก็ตาม บทความน่าสนใจที่ห้ามพลาดในวิกิพีเดียก็ยังมีอยู่มาก เช่น บทความ COVID-19_pandemic ที่เริ่มจากการที่ผู้เขียนตั้งบทความขึ้นมาใหม่ชื่อ '2019-2020 China pheumonia outbreak' ซึ่งสุดท้ายถูกเปลี่ยนเป็น 'Covid-19' ในที่สุด มีคนนับร้อยเข้าไปร่วมแก้ไขข้อมูลในหน้านี้ จนปัจจุบันบทความนี้แทบจะกลายเป็นหนังสือที่รวบรวมการระบาดครั้งใหญ่เอาไว้แทบจะทุกแง่มุม 

และด้วยความที่บทความโควิดนี้เป็นหลักฐานทางวิชาการที่ค่อนข้างสำคัญชิ้นหนึ่ง จึงมีการกำหนดกฎขึ้นมาว่านักเขียนที่จะเข้าไปแก้ไขได้ จะต้องเป็นนักเขียนอาสาสมัครมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 วัน และเคยไปแก้ไขบทความอื่นๆ มามากกว่า 10 ครั้ง ก่อนจะได้รับอนุญาตให้แก้บทความนี้ ไม่บ่อยนักที่จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์สำคัญเช่นนี้ แต่เนื่องจากการระบาดครั้งนี้เป็นหัวข้อจริงจังที่ทุกคนควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด จึงต้องเข้มงวดเป็นพิเศษ

'ความน่าเชื่อถือ' ของวิกิพีเดียมักถูกนำมาตั้งคำถามอยู่บ่อยๆ ว่าสารานุกรมออนไลน์ที่อนุญาตให้ 'ใครก็ได้' เข้ามาร่วมแก้ไขข้อมูลนั้น คงไม่เหมาะกับการนำมาเป็นแหล่งอ้างอิงหลักในงานเอกสารสำคัญ แต่ควรใช้ข้อมูลจากที่มาและแหล่งอ้างอิงอื่นๆ เพื่อความแม่นยำและครอบคลุมในทุกแง่มุมด้วย

อ้างอิง

bbc.com 1 / 2

thairath.co.th

theguardian.com

songsue.co

ความเห็น 191
  • เฮ้ย นี่เรามาถึงจุดที่การสร้างข้อมูลเท็จใส่ร้ายคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลสำคัญที่ความเห็นเค้ามีอิทธิพลต่อสังคม ได้ยังไงกัน เรายอมรับการกระทำแบบนี้ได้ยังไง โดยพยายามบอกว่ามันเป็นแค่เรื่องเล็กน้อยเนี่ยนะ ?!
    14 ก.ค. 2564 เวลา 20.45 น.
  • N 🚥🚦🚥 C
    แก้ได้ ! แต่ถ้าการแก้นั้นเป็นเหตุให้ผู้คนเดือดร้อน ป้อนข้อมูลเท็จเข้าในระบบ ด้วยเจตนาลวงให้สังคมหลงเชื่อ โทษที่ได้ตามกม.นั้นเล็กน้อย หากเทียบกับโทษทางวิบากกรรม😔😔😔
    14 ก.ค. 2564 เวลา 20.17 น.
  • Bkwan
    มีกฎหมายก็ต้องใช้จัดการ พวกเกรียนหมิ่นประมาท อยากใส่ร้ายใครก็ได้ ไม่น่าเชื่อยังมีคนเข้าข้างด้วย
    14 ก.ค. 2564 เวลา 22.23 น.
  • Tanoy Lee
    งั้นเขียนว่าคุณค้ายาเสพติด นักข่าวคงไม่ว่าอะไรซินะ
    14 ก.ค. 2564 เวลา 22.38 น.
  • sureerat🤍
    ใครจะเอาใครมาเเก้เป็นอะรัยก็ได้งั้นเหรอมาเปลื่ยนอาชีพเขาทั้งที่ความจิงมันไม่ใช่ ความน่าเชื่อถือมันอยู่ตรงไหน ทุกคนเข้าไปเพื่อหาความรุ้ แต่มาเจอข้อมูลเท็จ
    14 ก.ค. 2564 เวลา 22.13 น.
ดูทั้งหมด