ดราม่ารื้อถอนอาคารบอมเบย์เบอร์มา อายุ 131 ปีที่จังหวัดแพร่ นำมาซึ่งประเด็น "รื้อถอนเพื่อสร้างใหม่ หรือทำลาย" ที่ทำให้คนไทยฉุกคิดเรื่องความสำคัญของประวัติศาสตร์กันยกใหญ่ ว่าเราต้องเห็นภาพสถานที่เก่าแก่ถูกรื้อถอนหรือ"ทำพัง" อีกกี่ครั้ง กว่าทางการจะเริ่มเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์อย่างจริงจัง
ไม่เพียงอาคารบอมเบย์ฯ ที่จังหวัดชัยภูมิก็เพิ่งมีประเด็นการซ่อมแซมบูรณะโบสถ์เก่า ที่อำเภอภูเขียว ซึ่งจากเดิมเป็นโบราณสถานอายุกว่าร้อยปี เดิมทีใช้งานเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา จนปัจจุบันกลายเป็นโบสถ์สภาพทรุดโทรม เจ้าอาวาสของวัดจึงของบประมาณจากสำนักพุทธศาสนามาซ่อมแซมด้วยการปูกระเบื้อง ฉาบปูน และทาสีภายนอกด้วยสีชมพูแปร๋น เจตนาจะเพิ่มสีสันให้โบสถ์ที่เริ่มชำรุดเท่านั้น
แต่เมื่อกลายเป็นประเด็นบนโลกออนไลน์ ชาวเน็ตส่วนใหญ่พบว่าการซ่อมแซมแบบนี้ไม่ได้ทำให้โบสถ์มีสภาพดีขึ้นเลย กลับพังกว่าเก่า เพราะเหลี่ยมมุมเดิมถูกลบทิ้งหมด ร่องรอยช่างศิลป์โบราณก็แทบมองไม่เห็น เดือดร้อนถึงช่างศิลป์และนักโบราณคดีต้องเข้ามาช่วยปรับปรุงใหม่อีกครั้ง เพราะโบสถ์ดังกล่าวมีอายุมากกว่า 100 ปี เพียงแต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเท่านั้นเอง
ประจวบเหมาะกับที่ประเทศสเปนกำลังมีประเด็นเรื่องการบูรณะรูปภาพเก่าแต่ดันพังกว่าเดิม! โดยรูปภาพดังกล่าวเป็นภาพพระแม่มารี (Virgin Mary) จากฝีแปรงของ Bartolomé Esteban Murillo ที่ถูกวาดไว้ตั้งแต่ปี 1678 ผู้ครอบครองภาพได้ว่าจ้างให้ช่างซ่อมเฟอร์นิเจอร์ซ่อมแซมภาพของเขา แต่กลับต้องตะลึงเมื่อภาพที่ถูกแก้ถึงสองครั้งให้ผลลัพธ์ราวกับเด็กหัดวาดซะอย่างนั้น
ภาพแรกคือหลังจากบูรณะแล้ว น้ำตาจะไหล..
และไม่ใช่ครั้งแรกที่งานศิลปะระดับโลกถูกทำให้พินาศจากเจตนาในการซ่อมแซม ครั้งหนึ่งเมื่อ 8 ปีก่อน ภาพพระเยซูคริสต์ที่ถูกแก้เละเทะก็โด่งดังไปทั่วโลก ชาวเน็ตถึงกับตั้งชื่อภาพให้ใหม่ว่า"Monkey Christ" (แปลเอานะ) โดยผู้ลงมือซ่อมแซมภาพก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็นชาวเมืองผู้ศรัทธาในโบสถ์แห่งนี้ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสเปนนั่นเอง เจ้าตัวเพียงต้องการปรับปรุงให้ภาพวาดดังกล่าวดูดีขึ้นกว่าเดิม แต่ผลกลับตรงกันข้าม งานนี้ไม่รู้จะสงสารหรือขำดี แต่ที่รู้ ๆ คือการให้ "คนไม่รู้" หรือ "คนไร้ประสบการณ์" มาทำงานที่ตนไม่ถนัดอาจส่งผลร้ายแรงกว่าที่คุณคิด
สงสารแต่ก็ขำ
งาน "พระแม่มารี" ที่สเปนที่ถูกทำขึ้นใหม่ส่งผลต่อวงการโบราณคดีอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายเริ่มเรียกร้องให้มีการสร้างมาตรฐานใหม่ให้การบูรณะซ่อมแซม เพราะหลายครั้งปัญหาเหล่านี้ไม่มีใครรู้ จนกว่าจะโดนทัวร์ลงจนกลายเป็นไวรัล
Frenando Carrera ผู้เชี่ยวชาญการบูรณะโบราณสถานจากสเปนกล่าวกับthe Guardian ไว้อย่างน่าสนใจว่า แม้งานบูรณะโบราณสถานเหล่านี้จะไม่ได้สำคัญเท่างานอื่น อย่างหมอหรือตำรวจ แต่สิ่งเหล่านี้คือมรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ดังนั้นการจะให้"ใครก็ได้" เข้ามาซ่อมแซมโดยขาดประสบการณ์และความรู้จึงถือเป็นเรื่องไม่ควรทำ และอันตรายต่อประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง
กรณีโบสถ์วัดเก่าแก่ที่ชัยภูมิ นายช่างและนักโบราณคดีก็เปิดเผยว่าเคสดังกล่าวไม่ยากเกินมือ แต่อยากฝากถึงวัดต่าง ๆ ว่าหากมีการบูรณะปรับปรุง ขอให้ทำหนังสืออนุญาตจากสำนักศิลปากรก่อน จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาเหมือนวัดแห่งนี้
--
อ้างอิง
cob นึกว่ามีแต่mr.beenทำอย่างนั้น แต่มีคนทำแบบนั้นจริงๆด้วย.....ศิลปะหรือฆาตกรรม
25 มิ.ย. 2563 เวลา 00.45 น.
ดุสิต สุทธิพิบูลย์ กรมศิลปฯก็ใช่จะดีวิเศษนักหรอก ตัวอย่างมีให้เห็นจะๆ ขอยกตัวอย่างสัก 2 แห่งที่กรมศิลปฯดูแลควบคุมโดยตรงที่ได้เห็นมาคือ ประสาทหินพนมรุ้ง และพระปรางค์วัดอรุณฯ
25 มิ.ย. 2563 เวลา 01.11 น.
SunthreeT คือทาชมพู รับไม่ได้นะ
25 มิ.ย. 2563 เวลา 02.02 น.
NA เละจริงๆแฮะ
25 มิ.ย. 2563 เวลา 01.24 น.
กัสจัง เอาช่างสับปะรังเคมาซ่อมเหรอครับ...ไร้ฝีมือสิ้นดี...คุณต้องเอาช่างศิลป์จากกรมศิลปากรหรือช่าง/ศิลปินที่มีฝีมือมาบูรณะนะครับ
25 มิ.ย. 2563 เวลา 04.14 น.
ดูทั้งหมด