ทั่วไป

ไข่แมงมัน...กิโล 3 พัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เร่งหาวิธีเพาะเลี้ยง

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์
อัพเดต 19 พ.ย. 2562 เวลา 09.25 น. • เผยแพร่ 20 พ.ย. 2562 เวลา 00.15 น.
ภาพไฮไลต์

(ภาพ)แมงมันออกมากินเหยื่อล่อ.

แมงมัน…คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก รูปร่างหน้าตาแทบไม่ต่างจากมดแดง เพียงแต่จะมีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวมีสีคล้ำๆ ออกไปทางแดงน้ำตาล และทำรังอยู่ใต้ดินใกล้กับจอมปลวก ไม่เหมือนมดแดงที่ทำรังอยู่บนต้นไม้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ฤดูนี้แหละ ชาวบ้านภาคกลางและภาคเหนือที่อาศัยอยู่ตามชายป่าจะพากันแบกจอบเสียมไปขุดหาแมงมันเอามาขาย…ไข่แมงมันราคาแพงลิบลิ่ว ขายเป็นช้อน ช้อนละ 20 บาท แต่ถ้าให้ชั่งกิโล ราคาอยู่ที่ กก.ละ 3,000 บาท

ส่วนแมงมันตัวเมียกับลูกแมงมันที่คั่วแล้ว ตักด้วยถ้วยน้ำจิ้มเล็กๆ ขายกันถ้วยละ 60 บาท กก.ละ 1,000 บาท…แต่แมงมันตัวผู้กลิ่นเหม็นเขียว มีรสขมไม่อร่อย มักใช้เป็นเหยื่อตกเบ็ดปลาช่อน, ปลาสลิด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ไข่กิโลละ 3 พัน.

เพราะแมงมันมีรสชาติอร่อย แถมยังเป็นอาหารตามฤดูกาลที่หายากปีหนึ่งๆจะมีให้รับประทานเพียงครั้งเดียว…เพื่อให้เกษตรกรมีช่องทางหารายได้เพิ่ม รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาวิจัยถึงลักษณะถิ่นอาศัยของแมงมัน และต่อยอดสู่การเพาะเลี้ยงแมงมันเป็นอาชีพเสริม

“แมงมันเป็นสัตว์กินแมลง และกินเนื้อสัตว์ จากการศึกษาเราพบว่า แมงมันมักจะทำรังในระยะไม่เกิน 3 เมตรจากจอมปลวก เพื่อจะได้จับปลวกมากินได้สะดวก และชอบจะทำรังในทางทิศใต้ของจอมปลวกมากที่สุด รองลงไปเป็นทิศตะวันตก และตะวันออก ส่วนทิศเหนือพบน้อยมาก เหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะมาจากเป็นแมงที่ไม่ชอบแสงแดดส่อง จึงมักสร้างรังให้มีทางออกมาด้านทิศใต้มากที่สุด”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รศ.เดชา ให้ข้อมูลอีกว่า แมงมันชอบอาศัยอยู่ตามที่ดินที่เป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ชอบดินแข็งและชอบอยู่ใกล้รากไม้ใหญ่ๆ คล้ายปลวก แต่ไม่ก่อดิน หรือพูนดินขึ้น

และชนิดของดินที่มักพบแมงมัน…เป็นดินเหนียวกับดินร่วนเหนียว ที่ความลึกมากกว่า 10 ซม.

โครงสร้างรัง.

เมื่อขุดพบรังแมงมัน วัดความชื้นของดินภายในรังและรอบๆรังสูงกว่าบริเวณผิวดินมากกว่า 20% ขึ้นไป อุณหภูมิของดินเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 20-30ํ C ความเข้มแสงเฉลี่ย 450.5 LUX

ถ้าเกษตรกรต้องการค้นหาตัวแมงมัน หรือรังแมงมัน สามารถเริ่มต้นด้วยการวางเหยื่อที่เป็นชิ้นเนื้อหรือหมูสด ใส่ถุงตาข่ายแล้วขุดหลุมวางล่อในระดับความลึก 20-30 ซม. ทางด้านทิศใต้ ห่างจากจอมปลวก 2-3 เมตร ตามด้วยทิศตะวันออก-ตะวันตก ห่างจากจอมปลวก 1 เมตร ส่วนทิศเหนือที่ระยะ 2-4 เมตร

หากมีรังอยู่ แมงมันจะพากันเดินออกมาเป็นขบวน เพื่อกินอาหารที่ล่อไว้ ทำให้สามารถตามรอยและขุดไปถึงรังแมงมันได้

ตักไข่ออกจากรัง.

ในรอบหนึ่งปี แมงมันจะออกจากรูเฉพาะในเดือนพฤษภาคม หรือเข้าสู่ฤดูฝน เพราะน้ำฝนที่ซึมลงดินทำให้แมงมันอยู่ไม่ได้ จะออกจากรูขึ้นมาอยู่บนผิวดิน และสร้างปีกบินไปผสมพันธุ์กัน ก่อนจะกลับลงดินอีกครั้งในช่วงหน้าหนาว

การศึกษาครั้งนี้…ถือเป็นการเริ่มต้นองค์ความรู้ใหม่ ที่จะนำไปสู่แนวทางการเพาะเลี้ยงแมงมันเป็นอาชีพเสริมให้เกษตรกรต่อไป.

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 9
  • P-NOTT
    ข้อมูลแน่นมากครับ
    20 พ.ย. 2562 เวลา 02.51 น.
  • อยู่อย่าง พอเพียง
    วิถีชาวบ้าน หาอยู่หากิน เราหากินกันตั้งแต่ปู่ย่าตายาย หารายได้เลี้ยงชีพ ทำไปไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนใคร
    20 พ.ย. 2562 เวลา 02.24 น.
  • Natthiya
    ภาพไข่บนใบตองเป็นไข่มดแดง ไม่ใช่ไข่แมงมันค่ะ (ไข่มดแดงออกรี ไข่แมงมันจะกลม) ศึกษา ตรวจสอบ ก่อนนำเสนอนะคะ
    20 พ.ย. 2562 เวลา 02.12 น.
  • JITTAKORN
    คุณค่าทางอาหารมันมีคุณประโยชน์อย่างไร เหมือนไข่ทั่วไปไหม..
    20 พ.ย. 2562 เวลา 02.07 น.
  • Nickiiiii
    อย่างอื่นมีให้แดกไม่แดก ด้อยจริง
    20 พ.ย. 2562 เวลา 02.07 น.
ดูทั้งหมด